คำว่า “เสี่ยว” ความหมายจะกว้างและลึกมากกว่าคำว่า “เพื่อนธรรมดา” แต่จะมีความหมายที่ตรงกับคำว่า “เพื่อนตาย” ซึ่งคนที่จะมาเป็นเสี่ยวกันนั้น อาจจะเป็นชายกับชาย หญิงกับหญิง หรือชายกับหญิงก็ได้
พิธีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีดังเดิมของชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่นถือเป็นประเพณีสำคัญ จะเห็นได้จากการจัดงานประเพณีผูกเสี่ยว เป็นวัฒนธรรมอีสานล้านช้าง คือพิธีที่ทำสัญญากันว่าจะเป็นเพื่อนร่วมตายกัน ซึ่งการที่คนสองคนจะมาเป็นเสี่ยวกันได้เพราะญาติผู้ใหญ่ พ่อ แม่ เป็นต้น เห็นชอบว่าคนสองคนนี้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกัน เมื่อญาติผู้ใหญ่ทาบทามกันแล้วก็จะจัดพิธีให้ โดยท่านจะใช้ฝ้ายมงคลอันเป็นเส้นด้ายผูกแขนให้เป็นเสี่ยวกันด้วยการจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ และเพราะคนทั้งสองชอบนิสัยกันและกัน ก็จะทำการสาบายเป็นเสี่ยวฮัก เสี่ยวแพงกันในวงสนทนา โดยอาจจะใช้น้ำสุรา หรือมีการกรีดเอาเลือดของกันและกันมาผสมเหล้าแล้วดื่มร่วมกัน เพื่อเป็นเสี่ยวฮักเสี่ยวแพงกันจนตลอดชีวิต
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า"เสี่ยว"ไว้ดังนี้
เสี่ยว ๑ (ถิ่น–อีสาน) น. เพื่อน, เกลอ.
เสี่ยว ๒ (โบ) ก. เฉี่ยว, ขวิด.
ตามความหมายที่๑.สำหรับE-Sannian(คนอีสาน)แล้วคำว่าเสี่ยวหมายถึง เพื่อนสนิทชนิดซี้แหงย่ำปึ้ก ซึ่งเป็นความหมายในแง่บวก
แต่ในทางกลับกันก็มีใครอีกหลายคนเข้าใจ ว่าคำว่าเสี่ยวหมายถึง ล้าสมัย เชย เฉิ่ม เอาท์ บ้านนอก ซึ่งถือว่าเป็นความหมายที่เข้าใจผิดกันพอสมควร
ผมสารภาพตามตรงว่าผมก็เคยหลงใช้คำนี้ในความ หมายที่ผิดเหมือนกัน นรก! พูดแล้วมันน่าเขกกะโหลกตัวเองเสียฉิบ เพราะผมเป็นUdornthanish(คนอุดรธานี)ตั้งแต่กำเนิด ซึ่งก็รู้ความหมายที่แท้จริงของคำว่า"เสี่ยว"เป็นอย่างดี แต่ดันสะเหร่อไปตามกระแสใช้มันในทางที่ผิดซะงั้นน่ะ ผมไม่รู้เหมือนกันว่าใครไปบิดเบือนDefinition ของคำว่าเสี่ยว จนทำให้คำที่มีความหมายดีๆคำนี้เป็นตัวแทนของความเชยระเบิดปรมาณู แต่ต่อไปนี้หากมีใครด่าเราว่า โคตรเสี่ยวเลย จงดีใจไว้เลย แสดงว่าคนคนนั้นกำลังบอกเราว่า เราเป็นเพื่อนสนิทโคตรๆของเขาอยู่
หมายเหตุ - ที่อีสานมีประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ชื่อประเพณี "ผูกเสี่ยว" คำว่า "ผูกเสี่ยว" หมายถึง "ผูกมิตรภาพ"นั่นเอง การผูกเสี่ยวเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในวง ราชการและเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนซึ่งในอีสานนั้น เมื่อมีการจัดงานอะไรก็ตามมักจะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือพิธีผูกเสี่ยวควบคู่ กันไปด้วย เป็นการรับขวัญ เรียกขวัญ ของผู้ที่จากบ้านไปไกลด้วยเวลาอันยาวนานหรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้ให้มาอยู่ กับเนื้อกับตัวพร้อมกับทำพิธีอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข มีอายุมั่นขวัญยืนพร้อมกันไป
ที่มา: http://edmayork.exteen.com/20080827/entry
http://www.natsima.com/this-is-thailand/silk-weaving-and-silk-warm-culture/
http://edmayork.exteen.com/20080827/entry