http://variety.teenee.com/foodforbrain/72974.html
Amelia Dyer นักฆ่าเด็กทารก
ฟาร์มเด็ก (Baby farming) เป็นชื่อเรียกขานของอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปลายยุควิคตอเรีย ในประเทศอังกฤษ โดยผู้ทำอาชีพดังกล่าวมีหน้าที่เลี้ยงทารกโดยมีเงินค่าก้อนหนึ่ง(หรือจะชำระเงินเป็นระยะ)มาเป็นค่าตอบแทนในการเลี้ยงดูให้โดยเด็กที่ถูกนำมาเลี้ยงส่วนใหญ่จะถูกเรียกว่า ลูกชาวนา ซึ่งเป็นเด็กนอกสมรสหรือเกิดจากการผิดทำนองงคลองธรรมสำหรับสังคมแล้วถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง ผู้เป็นแม่ของเด็กไม่มีพ่อจะถูกสังคมตีตราและกดดันต่างๆ นาๆ
ถึงขั้นกลายเป็นโรคประสาทเลยก็มีด้วยเหตุนี้ทำให้หญิงสาวเหล่านั้นต้องเอาเด็กมาให้คนอื่นมาเลี้ยงดูและเขาจะเลี้ยงดูเด็กจนเติบโต ให้อยู่วัยอันควรก็จะให้แม่เด็กพากลับบ้าน(ในระหว่างนั้นแม่เด็กสามารถมาเยี่ยมเป็นระยะๆ ได้ )
ส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจดูแลเด็กในอังกฤษมักจะบริหารโดยสตรีที่ซื่อสัตย์รวมทั้งมีผู้ช่วยพยาบาลพี่เลี้ยงเด็กที่รักและเมตตาเด็กอย่างแท้จริง ราวกับเป็นมารดาแท้ๆ ไม่ปานอย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่แลเห็นผลกำไรมากมายมหาศาล
จากอาชีพดังกล่าว เลี้ยงดูเด็กที่ปราศจากความดูแลเอาใจใส่ ปล่อยเนื้อตัวให้สกปรกมอมแมม เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคภัยต่างๆ
สุดท้ายก็เสียชีวิตเพราะขาดสารอาหารแต่ยังมีที่ร้ายกว่านั้นเพราะสถานรับเลี้ยงเด็กได้เปิดโอกาสให้คนจำพวกหนึ่งที่จะสร้างกำไร
จากเด็ก โดยการฆาตกรรมเด็กที่ไม่มีทางสู้ เพื่อลดภาระการเลี้ยงดู และตักตวงผลกำไรมากที่สุด อมีเลีย ไดเยอร์เกิดในปี 1836 ในครอบครัวที่ยากจน ในหมู่บ้านเล็กใน Pyle Marsh เป็นลูกสาวช่างทำรองเท้าที่ต้องมีลูกถึง 5 คน
(พี่ชายสาม น้องสาวหนึ่ง) ตอนเป็นเด็กเธอเป็นคนชอบเรียนรู้ ชอบอ่านและเขียนวรรณคดีและบทกวี อย่างไรก็ตามในวันเด็กนั้นเธอต้องทุกข์ทรมานเนื่องจากถูกแม่ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เกิดจากโรคไข้รากสาดใหญ่ ทำร้ายทุบตีประจำ ซึ่งเธอต้องทนทุกข์ดังกล่าวจนถึงวันที่แม่ตายเมื่อปี 1848 ซึ่งนักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่าผลกระทบจากการถูกทารุณกรรมต่างกล่าวทำให้ไดเยอร์กลายเป็นคนเลือดเย็นก่อนที่จะกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่องในเวลาต่อมา
หลังจากการตายของแม่ ไดเยอร์ได้อาศัยอยู่กับญาติซึ่งเป็นป้าในบริสตอล โดยเคยฝึกงานและรับใช้งานบ้านไปด้วย ต่อมาในปี 1859พ่อของเธอตาย ทำให้พี่ชายคนโตของเธอต้องสืบทอดกิจการซ่อมรองเท้าแทน เมื่อไดเยอร์อายุ 24 ปีเธอก็เริ่มห่างเหินกับญาติพี่น้อง หายหน้าเพื่อแต่งงานกับจอร์จ โทมัส ชายชราอายุ 59 ปีที่พักในบ้านบนถนนทรีนีตี้ โดยทั้งสองโกหกเกี่ยวกับอายุในใบทะเบียนเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย โดยโทมัสหักไป 11 ปี ส่วนเธอเพิ่มเป็น 6 ปี
สามปีหลังการแต่งงานกับโทมัส อเมเลียเริ่มฝึกฝนเป็นพยาบาล ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างเหนื่อยยากมากในสมัยวิคตอเรีย แต่อย่างไรก็ตามอาชีพยาบาลถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติอีกทั้งตัวเธอเองก็เรียนรู้ทักษะที่มีประโยชน์หลายอย่างโดยเฉพาะการผดุงครรภ์ และเธอเริ่มสนใจอาชีพ นักทำฟาร์มเด็ก จากการพักอาศัยอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Ellen Dane ที่ทำฟาร์มเด็กผิดกฎหมาย โดยปล่อยปะละเลยเด็ก จนขาดแคลนอาหารตายหลายราย
ในช่วงเวลานั้น ปี 1834 กฎหมายพระราชบัญญัติไม่ค่อยเอื้อแก่บุตรนอกสมรสมากนัก ทำให้ผู้หญิงที่มีบุตรดังกล่าวขาดเงินการเลี้ยงดู ส่งผลทำให้นักทำฟาร์มเด็กที่รับเลี้ยงดูบุตรเหล่านี้มีความจำเป็นในสมัยนั้นมาก และอเมเลียเองก็สนใจธุรกิจนี้เนื่องจากเห็นผลประโยชน์ที่ได้รับจากอาชีพนี้อย่างมหาศาล หากแต่เธอไม่คิดจะเลี้ยงดูเด็กแต่อย่างใด
อเมเลียเริ่มทำการโฆษณาในหนังสือว่ารับลี้ยงเด็กในราคาย่อมเยา ในใบโฆษณาเธอบอกว่าเธอเป็นนางพยาบาลมีความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี มีเสื้อผ้าเพียงพอสำหรับเด็ก อีกทั้งเธอแต่งงานมีความรับผิดชอบ มีบ้านที่ปลอดภัยและรักเด็ก
แม่เด็กส่วนมากเชื่อคำโฆษณาของเธอ เลยพาลูกของตนมาให้ไดเยอร์เลี้ยงโดยเก็บค่าธรรมเนียมกับค่าเสื้อผ้าล่วงหน้า ด้วยความเป็นผู้หญิงท่าทางน่าเชื่อถือทำให้แม่เด็กเชื่อสนิทใจ โดยหารู้ไม่ว่าเด็กเหล่านั้นชะตากรรมอย่างไรหากอยู่ในมือของเธอ
ทันทีที่เด็กอยู่ในมือของไดเยอร์ ชีวิตของเด็กนั้นชะตาขาดทันที เด็กอาจจบชีวิตในหนึ่งวันหรือสามวัน แล้วแต่ความสะดวกในการฆ่าของไดเยอร์ ส่วนวิธีการฆ่าส่วนมากมักใช้ผ้าเทปสีขาวรัดคอเด็ก และห่อศพด้วยกระดาษหรือไม่ก็ถุง ก่อนที่จะนำไปถ่วงน้ำใกล้บ้าน วิธีของเธอมันช่างง่าย แต่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลอยนวลหลายปี แม้ว่าเธอจะถูกจับหลายครั้งเนื่องจากหลายคนสงสัยจำนวนเด็กทารกเสียชีวิตมากเกินเหตุภายใต้การดูแลของเธอ แต่กระนั้นโทษที่เธอได้รับกลับเล็กน้อยเนื่องจากเธอใช้สภาพจิตมีปัญหามาอ้างต่อชั้นศาล ทำให้ถูกปล่อยตัวในเวลาอันสั้นและเธอก็ทำอาชีพนักทำฟาร์มเด็กอีก อีกทั้งตัวแม่ของเหยื่อเองก็ไม่สนใจอยู่แล้วว่าลูกของเธอจะเป็นอย่างไร บางคนจ่ายแล้วหายหน้าไปเลย
แต่กระนั้นก็มีแม่เด็กบางราย มาขอลูกคืน เธอก็อ้างว่าลูกชายของเธอป่วยตายตามธรรมชาติ หรือย้ายไปอยู่สถานเลี้ยงเด็กที่อื่น
หากเรื่องจนตัวเธอก็หนีไปต่างเมืองและเปลี่ยนชื่อที่อยู่ใหม่หมด จนไม่มีใครจับได้หนึ่งในเหยื่อของไดเยอร์ นั้นมีมากมาย อย่างกรณีของ เอเวลิน่า มาร์มอน เป็นหญิงบาร์ในเมืองเชลท์แน่ม อายุ 25 ปีที่กำลังมีปัญหาการเลี้ยงดูบุตรสาวนอกสมรส โดร่า มาร์มอน หากแต่ไม่นานนักเธอก็ได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเมื่อเธอเหลือบไปเห็นโฆษณาในหนังสือพิมพ์ฟาร์มเด็กของไดเยอร์ ซึ่งเมื่อได้อ่านนางมาร์มอนก็ตั้งใจที่จะเอาลูกไปฝากเธอชั่วคราวเพื่อจะได้ทำงานเก็บเงินมากพอที่จะเลี้ยงดูลูกของเธอในอนาคต
ในเดือนมกราคม 1896 นางมาร์มอนไปที่พักในถนนอ๊อซฟในรีดดิงตามที่ไดเยอร์นัดเอาไว้ และเธอเห็นนางไดเยอร์ ครั้งแรกเธอก็พบว่านางไดเยอร์ เป็นคนน่านับถือเป็นหญิงชราที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย อีกทั้งเธอบอกว่าเธอแต่งงาน และเธอพร้อมที่จะเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพดี เติบโตด้วยความรักในบ้านที่แสนอบอุ่น โดยเธอขอเพียงแค่เงิน 10 ปอนด์ล่วงหน้า
ความจริงแล้วนางมาร์มอนต้องการจ่ายเงินรายสัปดาห์มากกว่าเพื่อการเลี้ยงดูลูกสาวเธอให้ดี หากแต่นางไดเยอร์ ยืนยันว่าต้องจ่ายเงินก้อนตั้งกว่าล่วงหน้าโดยไม่มีการต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากที่ทั้งสองต่อรองราคาพักใหญ่ นางมาร์มอนก็ยอมแพ้ตกลงที่จะจ่ายเงิน 10 ปอนด์อย่างไม่เต็มใจและสัปดาห์ต่อมานางมาร์มอนก็มายังเมืองเชลท์แน่มอีกครั้งเพื่อนักลูกสาวมาให้ไดเยอร์ เลี้ยง โดยเธอส่งลูกสาวของเธอที่อยู่ในกระดาษแข็ง เสื้อผ้าของเธอ และเงินค่าเลี้ยง 10 ปอนด์ ไม่กี่วันต่อมาเธอได้รับจดหมายของไดเยอร์ เขียนไว้ว่า ทุกอย่างกำลังไปได้สวย เมื่อนางมาร์มอนส่งจดหมายกลับ นับจากนั้นเป็นต้นมาเธอไม่ได้รับจดหมายจากนางไดเยอร์ อีกเลย
ความจริงแล้วตอนที่ไดเยอร์รับบุตรของนางมาร์มอนถึงมือ และเมื่อเด็กจากไป ชะตาของเด็กก็ขาดตั้งแต่บัดนั้น เมื่อเธอไม่ได้ไปริดดิ้ง
สถานที่เลี้ยงดูเด็กตามที่บอกเอาไว้ หากแต่ไปบ้านของลูกสาวในลอนดอนแทน และจากนั้นเธอใช้เทปสีขาวที่ใช้เย็บตัดเสื้อผ้าพันรอบคอเด็กสองครั้งและผูกโบว์เพื่อให้เด็กตายอย่างเยือเย็น ซึ่งเธอได้กล่าวภายหลังว่า ฉันชอบดูพวกเขาตายระหว่างเอาเทปรัดรอบคอ จากนั้นเธอก็ห่อร่างกายด้วยผ้าเช็ดปาก ส่วนเสื้อผ้าเด็กที่มาพร้อมกับเด็กเธอเอาไปขายในโรงจำนำ
ในวันพุธของวันที่ 1 เมษายน 1896 เธอก็รับเด็กคนหนึ่งชื่อแฮร์รี่ ซิมมอนส์ อายุ 13 เดือน และเธอก็ฆ่าเด็กทันทีหลังที่เธอได้มา
หลังจากนั้น 2 เมษายนเธอก็นำร่างกายของเด็กทารกทั้งสองซ้อนกันในกระเป๋าพรมพร้อมด้วยอิฐเพื่อถ่วงจน้ำหนักก่อนที่จะนำไปทิ้ง
ในแม่น้ำเทมส์ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้และไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน
ไดเยอร์ยังคงฆ่าเด็กทารกต่อไป ทั้งๆ ที่มีการศพเด็กทารกมากมายในแม่น้ำไทม์ แต่กลับไม่มีใครสงสัยหรือตระหนักถึงความน่ากลัวของเธอเลย จนกระทั้งวันที่ 30 มีนาคม 1896 เมื่อคนเรือคนหนึ่งได้ดึงห่อมัดผ้าห่อหนึ่งจากริมแม่น้ำเทมส์ และเมื่อเขาเปิดดูก็พบว่ามันเป็นศพของเด็กทารกอายุประมาณ 1 ปี ถูกเทปรัดคอเป็นปมแน่นที่ต่อมาระบุว่าเป็นศพของเฮเลนา ฟราย ต่อมาวันที่ 10 เมษายน ปี 1896 มีคนพบห่อของที่มัดแน่น
ริมแม่น้ำเทมส์อีกครั้ง เมื่อแก้ห่อมัดซึ่งเป็นถุงพรมก็พบศพเด็กน้อยวัย 4 เดือนกว่า กับศพเด็กเพศชายอายุ 13 เดือน อยู่ใกล้กัน บริเวณคอของทารกทั้งสองมีเทปสีขาว จากการการสอบสวนต่อมาตำรวจทราบชื่อศพภายหลังว่าชื่อ ดอริส มาร์มอน และแฮร์รี่ ซิมมอนส์
จากการพบศพเด็กทารกสามรายซ้อนดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองริดดิ้งออกมาเคลื่อนไหว จากการวิเคราะห์ก็พบว่าศพเด็กดังกล่าวน่าจะเป็นฝีมือของฆาตกรคนเดียวกันและเมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องบนกระดาษห่อศพทารก ผลคือพวกเขาพบชื่อที่อยู่ล่าสุดของอมีเลีย ไมเยอร์ เขตรีดดิ้ง ทำให้เชื่อว่าเธออาจเกี่ยวกับการฆาตกรรมดังกล่าว หากแต่พวกเขาไม่มีหลักฐานเพียงพอที่เอาผิดเธอ ไดเยอร์เชี่ยวชาญการหลบหนีอยู่แล้ว ถ้าเธอรู้ว่าตำรวจสงสัยเธอละก็ ไดเยอร์ต้องหายไปแน่ ดังนั้นตำรวจเลยวางแผนให้เด็กสาวคนหนึ่งเป็นนกต่อทำเป็นโสเภณีที่สนใจ
ไดเยอร์รับลูกของเธอมาเลี้ยง และทำเป็นสนใจข้อมูลและนัดหมายพบปะกับเธอ
แผนการดำเนินด้วยดี ไดเยอร์หลงกล และวันที่ 3 เมษายน ตำรวจทำบุกค้นบ้านใหม่ของไดเนอร์ จนเธอไม่ตั้งตัว และเป็นอย่างที่คาดพวกเขาได้กลิ่นเหม็นจากการเน่าสลายของศพมนุษย์แม้ว่าไม่มีศพดังกล่าวอยู่ในบ้านก็ตาม แต่กระนั้นพวกเขาก็พบหลักฐานมากมายที่จะเอาผิดเธอ เป็นต้นว่าเทปขอบสีขาวที่ใช้รัดคอเด็กทารก โทรเลขเกี่ยวกับการเตรียมการรับบุตรบุญธรรม ตั๋วจำนำสำหรับเสื้อผ้าเด็ก ใบเสร็จรับเงินสำหรับการโฆษณาและตดหมายจากมารดาที่สอบถามเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเด็ก
เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการคำนวณอย่างคร่าวๆ พบว่าไม่กี่เดือนก่อนหน้ามีเด็กไม่ต่ำกว่า 20 รายที่อยู่การเลี้ยงดูของไดเยอร์ หากแต่เมื่อทำการค้นบ้านดูกับไม่พบเด็กดังกล่าวสักคนทำให้เชื่อว่าเธอคงฆ่าเด็กหมด และน่าขนหัวลุกอีกครั้งเมื่อทำการเจาะรายละเอียดแบบลึกๆ ก็พบว่าตั้งแต่เธอเป็นนักทำฟาร์มเด็กเธอน่าจะฆ่าเด็กทารกถึง 400 ราย ซึ่งถือว่าเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย
ไดเยอร์ถูกจับกุมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 เมษายนในข้อหาฆาตกรรม ส่วนอาเธอร์ พาล์มเมอร์ ลูกเขยของเธอถูกจับในข้อหาสมรู้ร่วมคิด ระหว่างการสอบสวน ก็มีศพเด็กเจ็ดศพปรากฏออกมาในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาของปีนั้น ตำรวจพบร่างจำนวนนั้นที่แม่น้ำเทมส์ ทั้งหมดมีผ้าเทปสีขาว ประทับเครื่องหมายอมีเลีย ไดเยอร์พัน
เครดิต: โพสโดย :OnTheWay (ทีมงาน TeeNee.Com) ข่าวดาราบน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!