เบื้องหลังการผลิต"เสื้อผ้าแบรนด์ดัง" ต้นเหตุของปัญหาและโศกนาฎกรรมอันน่าสะเทือนใจ ที่หลายคนไม่เคยรู้

เสื้อผ้าแบรนด์ดังที่คนทั่วไปนิยมช้อปปิ้ง หลายคนอาจจะเห็นความสวยงาม แฟชั่น และการพักผ่อนเพื่อความบันเทิงใจ แต่แท้จริงแล้วเบื้องหลัง "อุตสาหกรรมเสื้อผ้า" นำมาซึ่งโศกนาฎกรรมมากมาย

และหนึ่งในปัญหาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่น่าสลดใจมากก็คือ "ปัญหาการใช้แรงงาน" อย่างไม่เป็นธรรม ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียและเหตุการณ์สะเทือนใจมากมาย

เมื่อ 2 ปีก่อน โรงงานผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังทั่วโลกกว่า 28 แบรนด์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคารรานา พลาซ่า ตึกสูงกว่า 8 ชั้นในประเทศบังกลาเทศ เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีแรงงานเสียชีวิตไปกว่า 1000 คน สร้างความสะเทือนใจและคำถามมากมายแก่ชาวโลก

นอกจากนี้ในประเทศอินเดียยังมีเหตุการณ์เกษตรกรชาวไร่ฝ้ายฆ่าตัวตายกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการปลูกฝ้ายเพื่อขายส่งให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าต้องใช้เมล็ดพันธุ์ฝ้ายที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม ทำให้เมล็ดพันธุ์มีราคาสูง จนเกษตรกรเกิดหนี้และเครียดจนฆ่าตัวตาย

ทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหายาฆ่าแมลงปนเปื้อนอีกด้วย เนื่องจากฝ้ายเป็นพืชที่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากที่สึดในโลก จึงส่งผลให้เด็กทารกที่คลอดออกมาไม่สมประกอบ รวมถึงผู้ใหญ่ที่ได้รับสารพิษสะสมก็มีอาการทางประสาท บ้างก็เป็นมะเร็งจนเสียชีวิตอีกด้วย 

โดยมีการสำรวจออกมาว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอบนโลกมีขนาดใหญ่มาก และต้องใช้แรงงานคนกว่า 40 ล้านคน (1 ใน 6 ของประชากรโลก) ซึ่งในบังกลาเทศมีแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอกว่า 4 ล้านคน ทั้งยังมีโรงงานเสื้อผ้ากว่า 5,000 แห่ง และแรงงานเหล่านี้มีรายได้ต่ำกว่า 3 เหรียญ/วัน (105 บาท)

จึงมีการตั้งคำถามออกมาว่า เกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ...? ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่ไม่มีคำว่าพอของมนุษย์ แต่ใครล่ะที่จะต้องตกเป็นผู้รับผิดชอบกับปัญหาเหล่านี้ระหว่าง เจ้าของธุรกิจ ผู้บริโภค หรือเราทุกคนบนโลกใบนี้....? 

ข้อมูลและภาพประกอบจาก "kiitdoo"

Credit: http://www.kiitdoo.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...