ไทย : ความหมายที่คนไทยต้องรู้

 ประเทศไทย

       คุณเคยสงสัยและตั้งคำถามกับคำว่า “ไทย” คำนี้หรือไม่ว่ามีความหมาย นัยยะ หมายความตามชื่อว่าอะไร ข้าพเจ้าเคยถามคำถามนี้กับหลายท่านได้รับคำตอบแตกต่างกันออกไปว่า คำว่า “ไทย” หรือ “ประเทศไทย” หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่า “ไทยแลนด์” หมายถึง ชือเรียกประเทศที่ถูกตั้งขึ้นสมัยยุคอาณานิคมตะวันตกล่าเมืองขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องเปลี่ยนชื่อจาก สยามมาใช้คำว่า “ไทย” โดยเติม “ย” ท้ายหลังคำว่า “ไท” (อันหมายถึง ความเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร มิได้หมายถึงคนไท คนไตแต่อย่างใด) เพื่อความสวยงามของคำเท่านั้น แต่เหตุที่มีคำว่า “แลนด์” ต่อท้ายอีกนั่นก็เพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติในขณะนั้นที่ถูกบีบคั้นโดยตะวันตกที่มองว่าประเทศสยามไม่มีความศิวิไลซ์ เป็นดินแดนป่าเถื่อนจึงต้องเร่งพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรือง ทัดเทียมนานาอารยะประเทศ นี่เป็นเพียงคำตอบบางส่วนที่ได้รับ จึงช่วยคลายความสงสัยลงได้บ้าง แต่ก็ยังไม่ขจัดความฉงนสงสัยลงได้อย่างหมดจด หลังจากนั้นจึงได้ค้นคว้่าหาข้อมูลเพิ่มเติมและได้ความว่า

แผนที่สยาม

       คำว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก เดิมประเทศไทยใช้ชื่อ “สยาม” (Siam) แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2482[2] ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า “ไทย” โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อภาษาฝรั่งเศส[3]และอังกฤษคงยังเป็น “Siam” อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น “Thaïlande” และภาษาอังกฤษเป็น “Thailand” อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ “สยาม” ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา : http://th.wikipedia.org

 องค์พระสยามเทวาธิราช

       คำว่า “ไทย” เดิมรู้จักกันในนามของ “สยาม” และมีปรากฏในหลักฐานหลายแห่งที่เก่าที่สุด คือ ในศิลาจารึกของอาณาจักรกัมพูชาก่อนสมัยพระนครหลวง และพบในจารึกจาม พ.ศ.1593 จารึกพม่า พ.ศ.1663 และในแผนที่ภูมิศาสตร์ของจีนที่ทำขึ้นใน พ.ศ.1753 กำหนดเขตแดนของเสียมหรือสยามไว้ ส่วนคำว่า“ไท” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย” ดังนี้

       1. ความหมายของคำว่า “คนไท” และ “คนไทย”

       “ไท” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย” ไท หมายถึง ไทย(คนไทยในประเทศไทย)*และรวมถึงคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น คนไท คือ บุคคลซึ่งมีเชื้อชาติไทย พูดภาษาตระกูลไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเชื้อชาติไทย ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะ ภาษาไทยในประเทศไทย ขนบธรรมเนียมที่ใช้ในประเทศไทย แต่หมายถึง ภาษาในเครือ ภาษาไทยซึ่งมีลักษณะเป็นคำโดดและเรียงคำ คำบางคำอาจใช้แตกต่างกัน ขนบธรรมเนียมก็อาจจะแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เป็นไปตามเผ่าแต่ละเผ่า

       2. ความหมายของคำว่า “สยาม”

       คำว่า “สยาม” เป็นคำที่ชนชาติอื่นใช้เรียกประเทศไทย ปรากฏตามอักษรจำหลักใต้ รูปกระบวนแห่งที่ปราสาทนครวัดว่า “พลเสียม” หรือ “พลสยาม” จึงเข้าใจว่าคนชาติอื่นใช้เรียกประเทศตามขอม พระเจนจีนอักษร ได้แปลจดหมายเหตุจีน อธิบายคำว่า “สยาม” ไว้ว่าประเทศนี้เดิมเป็นอาณาเขต “เสียมก๊ก” อยู่ข้างเหนือ “โลฮุกก๊ก” อยู่ข้างใต้ ต่อมารวมเป็นอาณาเขตเดียวกัน จึงได้สนามว่า “เสียมโลฮุกก๊ก” แต่คนเรียกทิ้งคำ “ฮก” เสีย คงเรียกกันว่า “เสียมโลก๊ก” สืบมาเป็นอาณาเขตอยู่ดังกล่าว

พระราชบัญญัติ

ว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ฉบับ ร.ศ. ๑๑๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

ที่มา : http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/siamflag/rule.html

       “สยาม” เป็นคำที่เริ่มใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเรียกตัวเองว่า“กรุงศรีอยุธยา” ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาที่ทำกับประเทศอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกประเทศว่า “กรุงศรีอยุธยา” และเพิ่งปรากฏหลักฐานว่าประเทศไทย เรียกตัวเองว่า “ประเทศสยาม” ในสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงทำสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ และทรงลงพระนามาภิไธยว่า “REX SIAMNIS”** และทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า “พระสยามเทวาธิราช”

       ต่อมาใน พ.ศ.2481 นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” และเมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้ว นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 3 เดือนเศษ รัฐบาลนี้เรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสว่า “SIAM” อีกครั้ง ถึงเดือนเมษายน 2491 รัฐบาลพิบูลสงครามเข้ารับตำแหน่งแทน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า“THAILAND” และในภาษาฝรั่งเศส “THAILAND” ซึ่งรัฐบาลต่อ ๆ มาได้ใช้ตราบจนปัจจุบัน

ที่มา: http://darkage-marcus.blogspot.com/2011/12/blog-post_5587.html

 

ที่มา: http://board.postjung.com/724347.html

Credit: http://board.postjung.com/922716.html
24 ต.ค. 58 เวลา 13:24 1,171 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...