มื่อก่อน บิกินีเป็นสิ่งที่ล่อแหลมมาก
ถึงเดี๋ยวนี้ก็เถอะ ผู้หญิงธรรมดา ๆ ใครจะกล้าใส่บิกินีลงเล่นน้ำ
ในช่วง ค.ศ.1930-1939 ชุดว่ายน้ำเริ่มเปิดเผยเนื้อตัวของผู้สวมใส่มากขึ้นทุกที ๆ
จากชุดเปิด หลังพร้อมสายคาดบ่าเส้นเล็ก ก็พัฒนามาสู่ บิกินี
ชื่อของแฟชั่นชุดว่าย น้ำแบบใหม่ล่าสุดนี้
เกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับจุดเริ่มต้นของยุค นิวเคลียร์
วันที่ 1 กรกฏาคม ค.ศ.1946 สหรัฐอเมริกาเริ่มทำการทดลองนิวเคลียร์ในยามสงบ
โดย ทิ้งระเบิดปรมาณูลงบนเกาะประการังบิกินี
ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กในแนวหมู่ เกาะมาร์แชลในมหาสมุทรแปซิฟิก
เนื่อง จากระเบิดปรมาณูที่ทดลองครั้งนี้เป็นชนิดเดียวกับ
ที่ถล่มเมืองฮิโรชิมา และนางาซากิจนราบคาบเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา
สื่อมวลชนทั่วโลกจึงให้ความ สนใจกับข่าวทดลองนี้เป็นอย่างมาก
ในเวลา เดียวกับที่กรุงปารีส หลุยส์ เรอาด์ นักออกแบบชื่อดังของฝรั่งเศส
กำลัง เตรียมนำผลงานล่าสุดออกแสดงเป็นชุดว่ายน้ำแบบสองชิ้น
ซึ่งปกปิดร่างกาย ของผู้สวมใส่น้อยมากจนน่าใจหาย
เรอาด์ยังไม่ได้ตั้งชื่อให้ชุดว่าย น้ำแบบนี้เลย
หนังสือ พิมพ์ทุกฉบับประโคมข่าวการทดลองระเบิดปรมาณูที่เกาะบิกินี
เรอาด์อยาก ให้ผลงานออกแบบของเขาเรียกความสนใจจากสื่อมวลชน
ได้มากพอ ๆ กับข่าวการทดลอง
เขาเชื่อว่าชุดว่ายน้ำแบบใหม่นี้น่าจะดังระเบิด เช่นเดียวกัน
เขาจึงเลือกใช้ชื่อว่า บิกินี ซึ่งกำลังติดปากประชาชนทั่วไปอยู่
วันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1946 สี่วันหลังจากการทดลองระเบิด
นางแบบชั้นนำ มิชาลิน เบอร์นาดี ออกเดินแบบ
ในชุดบิกินีชุดแรกในประวัติศาสตร์แฟชั่น
ปรากฏ ว่าในปีนั้น ชุดบิกินีได้ก่อให้เกิดข้อถกเถียง ความห่วงใย
รวมทั้งการ ประณามอย่างกว้างขวางมากกว่าระเบิดปรมาณูเสียด้วยซ้ำ