ความเชื่อและที่มาของ 10 เทศกาลแห่ง ‘ความตาย’ จากรอบโลก!!!

http://www.catdumb.com/death-festivels-333/

เหมียวพาชม ความเชื่อและที่มาของ 10 เทศกาลแห่ง ‘ความตาย’ จากรอบโลก!!!

สำหรับเทศกาลแห่งความตาย ที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คงหนีไม่พ้นเทศกาลปล่อยผี หรือ

Halloween ของชาวตะวันตก ที่ผู้คนออกมาแต่งชุดคอสตูมเฉลิมฉลองกันทั้งเมืองนั่นเอง

จะว่าไปแล้วความตายก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตมนุษย์ วันนี้เหมียวเลยอยากพาเพื่อนๆ ไปชม

เทศกาลแห่งความตายกัน จากทั่วทุกมุมโลกเลยล่ะ ดูซิว่าจะเหมือนกันรึเปล่า

Dia de los Muertos หรือวันแห่งความตาย ในประเทศเม็กซิโก

      

ถ้าจะย้อนกลับกันจริงๆ แล้วเทศกาลนี้มีมาตั้งแต่อาณาจักรแอซเทคเรืองอำนาจเลยทีเดียว และนานนับศตวรรษ เทศกาลนี้ได้หลอมรวมเข้ากับศาสนาคริสต์อย่างกลมกลืน สำหรับการเฉลิมฉลองในวันนี้ ครอบครัวจะมารวมตัวกัน เพื่อทำความสะอาดให้หลุมศพของผู้ตายอันเป็นที่รัก และตกแต่งหลุมให้สวยงาม

Ari Muyang ในประเทศมาเลเซีย

    

ชาวเผ่า Mah Meri ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ ได้เฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความตายนี้ด้วยการเต้นรำทำเพลง เหล่าพ่อมดหมอผีจะมาร่วมพิธีเพื่อร่ายมนตร์และกล่าวอวยพร ก่อนที่เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้นอย่างเต็มตัว

เทศกาล Chuseok หรือชูซอก ในประเทศเกาหลีใต้

    

ถ้าจะนับกันตรงๆ แล้วเป็นเทศกาลเก็บเกี่ยวของประเทศ ที่กินเวลา 3 วันด้วยกัน แต่ก็เป็นวันหยุดสำหรับบูชาเหล่าบรรพบุรุษของคนในประเทศเช่นกัน ทุกๆ ปี ผู้คนราวๆ 30 ล้านคนจะเดินทางกลับบ้านเกิดของบรรพบุรุษของตน เพื่อทำการสักการะบูชาผู้ที่ล่วงลับ โดยการสวดภาวนา และทำความสะอาดหลุมฝังศพของพวกเขา และมีของเซ่นไหว้บนหลุม

เทศกาล Pitru Paksha ของประเทศอินเดีย และอีกหลายๆ พื้นที่ ที่นับถือศาสนาฮินดู

      

ในวันนี้ ชาวฮินดูจะทำการบูชาเหล่าบรรพบุรุษของตนเอง ย้อนกันไปถึง 7 ชั่วคนเลยทีเดียว!!! โดยจะลงไปอาบน้ำในแม่น้ำศักสิทธิ์ หรือบ่อน้ำศักสิทธิ์ตามความเชื่อของแถบนั้น แล้วค่อยหุงหาอาหาร นำไปถวายเหล่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับทั้ง 7 ชั่วคนนั้น เพื่อให้หวนคืนจากความตายมาร่วมกิน ร่วมดื่มกับพวกเขา

Obon หรือเทศกาลโอบง ประเทศญี่ปุ่น

     

นับว่าเป็นวันหยุดทางพุทธศาสนา ในประเทศญี่ปุ่น ที่เฉลิมฉลองกันมาตลอด 500 ปีเลยทีเดียว โดยทั้งครอบครัวจะรวมตัวกันไปปัดกวาดถูทำความสะอาดหลุมศพของเหล่าบรรพบุรุษ แต่ที่น่าสนใจคือมีการประดับประดาด้วยโคมไฟ เพื่อนำทางดวงวิญญาณของพวกเขา และเทศกาลนี้ยังมีการเต้นรำ ตามแบบฉบับญี่ปุ่นด้วยล่ะ

Hungry Ghost Festival หรือวันสารทจีน ในประเทศจีน

ในส่วนของประเทศจีน เทศกาลแห่งความตายนี้จะกินเวลาทั้งเดือนเลยทีเดียว เป็นความเชื่อโบราณที่ว่า ในเดือนที่ 7 ตามปฏิทินจันทรคตินั้น จะเป็นช่วงเวลาที่ประตูของโลกวิญญาณถูกเปิดออก และเหล่าวิญญาณจะสามารถท่องเที่ยวไปที่ไหนก็ได้บนโลก เพื่อทำให้พวกเขาพอใจ ผู้มีชีวิตอยู่ต้องเผาเครื่องบูชา ส่วนใหญ่เป็นกระดาษเงินกระดาษทองให้กับพวกเขา และมีการจัดวางอาหารไว้ตามที่ต่างๆ

Pchum Ben หรือผะจุมเบน เทศกาลเลี้ยงคนตายในประเทศกัมพูชา

       

หนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมของประเทศ ผู้คนมากหน้าหลายตาจะไปวัดในท้องถิ่น เพื่อนำสิ่งของไปบูชาและสักการะเหล่าบรรพบุรุษผู้ที่ตายไป หลังจากนั้นก็จะมาเฉลิมฉลองกันเองด้วยเทศกาลวิ่งควายและมวยปล้ำ

Galungan หรือเทศกาลกาลุงกัน ในบาหลี

        

มีความเชื่อว่าวันนี้เหล่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะหวนกลับจากโลกแห่งความตาย แล้วกลับมาที่บ้านของครอบครัว และแน่นอนพวกเขาต้องการความสนุกสนาน ครึกครื้น และการต้อนรับอันอบอุ่น…ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะหลอกหลอนสถานที่แห่งนี้ซะ!!! เพราะฉะนั้นเทศกาลนี้ชาวบาหลีจะต้องจัดบ้าน จัดอาหาร ให้ครื้นเครงเต็มที่ เรียกได้ว่าเป็นงานรื่นเริงหลวงเลยทีเดียว

Gai Jatra เทศกาลคยะ ยาตรา ในประเทศเนปาล

      

ที่จริงแล้วเป็นเทศกาลสำหรับวัว แต่ก็นับเป็นเทศกาลแห่งความตายด้วยเช่นกัน จะมีการเดินพาเหรดของเหล่าวัวไปตามท้องถนนของเมือง Kathmandu รวมถึงเหล่าผู้คนทั่วไปที่จะแต่งตัวเป็นวัวแล้วเดินไปตามท้องถนน มีความเชื่อว่าประเพณีนี้จะเป็นการนำดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สุขคิ

Guy Fawkes Night ในสหราชอาณาจักร

      

ถึงแม้จะไม่ค่อยเกี่ยวกับเทศกาลแห่งความตายโดยตรงเท่าไหร่ แต่ก็เกี่ยวกับความตายของชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า Guy Fawkes สัญลักษณ์ของผู้ที่ต่อต้านอำนาจและต่อสู้เพื่อความยุติธรรมนั่นเอง ซึ่งตอนนั้นเขาสะสมดินปืนจำนวน 820 กิโลกรัม!!! เพื่อจะทำการระเบิดรัฐสภา ระหว่างที่ King James มาประชุมที่ลอนดอน กระนั้นเขาถูกจับได้และตัดสินประหารชีวิต แรกเริ่มเดิมทีไม่รู้เหมือนกันว่าเทศกาลนี้เฉลิมฉลองเพราะจับกบฏได้รึเปล่า แต่ภายหลังความหมายก็ได้เปลี่ยนไป อันนี้ก็ไม่ทราบแน่ชัด

ภาพนี้ก็คือ Guy Fawkes นั่นเอง เห็นแล้วร้องอ๋อเลยใช่มั้ยล่ะ

        

แต่ละเทศกาลก็มีเอกลักษ์ที่แตกต่างกันจริงๆ แสดงให้เราเห็นถึงความเชื่อ และค่านิยมของผู้คนในแถบนั้นเลยล่ะว่ามั้ย ^^

ที่มา: Viralnova

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Credit: เดทดร็อปดอดคอม
20 ต.ค. 58 เวลา 05:01 3,142
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...