มูลนิธิกระจกเงา
มูลนิธิกระจกเงา คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมหลายๆด้าน ได้แก่ งานด้านสิทธิมนุษยชน งานด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาอาสาสมัครและการแบ่งปันทรัพยากร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้และการดำรงชีวิต โดยมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งบนสังคมออนไลน์(internet) สังคมเมืองและสังคมชนบท
เราทำหน้าที่เป็นกระจกเงา ที่สะท้อนเรื่องราวความเป็นจริงของสังคมและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้วยวิธีคิด คือ การสร้างคนและสร้างนวัตกรรมสร้างการ อันจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงสังคม
ดังวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ
สร้าง คน (นักกิจกรรม)
สร้าง นวัตกรรม
สร้าง การเปลี่ยนแปลงสังคม
สร้าง คนอย่างไร
เราจึงสร้างนักกิจกรรมด้วยกระบวนการ อาสาสมัคร เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม เนื่องจาก ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมี ปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป หากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ร่วมกันรับรู้และแก้ไข การสร้าง คนจึงเป็นต้นทางของการ แก้ปัญหาสังคม
สร้างนวัตกรรมเพื่ออะไร
นวัตกรรม เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การเส้นทางใหม่ของสังคม เราจึงสร้างนวัตกรรม เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้องไปกับ ปรากฏการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน
แล้วจะ สร้าง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างไร
เมื่อได้สร้างนักกิจกรรม นวัตกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการทำงานก็จะเริ่มขึ้น นักกิจกรรมที่ได้รับการปรับจูนความคิดที่มุ่งมั่นในการแกปัญหาสังคมร่วมกัน ก็จะเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมที่หมุนวงล้อของสังคมสู่การ พัฒนาต่อไป
เราจึงให้ความสำคัญกับการ รณรงค์และลงมือ จัดการปัญหาต่างๆ ซึ่งแต่ละปรากฏการณ์ที่เกิดปัญหาย่อมส่งผลกระทบของต่อเนื่องกัน เราจึงมองปัญหาแบบองค์รวม เพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆไปควบคู่กัน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือของการเข้าถึงและเผยแพร่แนวคิดในการ ดำเนินงาน ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาสังคม
ปัจจุบันเรามีพื้นที่ปฏิบัติ งาน คือ มูลนิธิกระจกเงาสำนักงานเชียงรายและสำนักงานกรุงเทพ
ซึ่ง มีก้าว ย่างที่เติบโตแต่ละขั้นจวบจนถึงวันนี้ที่เริ่มจาก
กิจกรรม ในช่วง เริ่มต้น (2534-2540)
จะ เป็นกิจกรรมด้านการละครเพื่อ สังคมและการจัดกิจกรรม ค่ายเด็กและเยาวชน โดยดำเนินกิจกรรมไปตามโรงเรียน ชุมชน ทั่วประเทศในแต่ละปีจะมีการแสดงระหว่าง 100-150 รอบ และกิจกรรมค่าย 10-30 กิจกรรม
การ ก่อตั้ง (2534)
เริ่ม ต้นจาก คนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งจำนวน 5 คน ในปลายปี 2534 ซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมในรั้วและ นอกรั้วมหาวิทยาลัย ได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมทางการเมืองหลังช่วงการทำรัฐ ประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช) โดยในขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา และได้ขอเข้าอยู่เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิโกมลคีมทองในปี 2535
แนว คิดในการใช้ไอซี ทีเพื่อการพัฒนา (2538)
ใน ช่วงนั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือPC และModem ได้เริ่มแพร่หลายในหมู่ ประชาชน ทำให้ระบบข้อมูลและการสื่อสารเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ช่วงเวลาดังกล่าวทางกลุ่มฯ ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่ง ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาผลกระทบจากเทคโนโลยีITใน สังคมไทย และนี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้เราได้เริ่มต้นศึกษาและพัฒนางานด้านICTโดย เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนไทยรายแลกที่ได้จัดทำเวบไซท์ขึ้น ในชื่อwww.thebangkok.com และ ได้พยายามส่งเสริมการใช้ ICTใน งานพัฒนาสังคม
เคลื่อน ย้ายสู่เชียงราย (2541)
ทีม เจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร จำนวน11 คน จาก 20 คน ได้ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีการทำงาน โดยได้ทำการปิดสำนักงานที่กรุงเทพ และเคลื่อนย้ายองค์กรลงในพื้นที่เชียงราย โดยเลือกพื้นที่ ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย เป็น "ห้องปฏิบัติการทางสังคม" จนก่อให้เกิดโครงการนวตกรรมทางสังคมจำนวนมาก อาทิเช่น
* ศูนย์เด็ก รู้เอง
* โครงการ ค่าย บำบัดยาเสพติดในชุมชน
* โครงการ เด็กดอย สัญชาติไทย
* โครงการ ร้านค้า Online
* โครงการ สถานี โทรทัศน์หมู่บ้าน หรือ บ้านนอกทีวี
* โครงการ ท่อง เที่ยวชนเผ่า
* โครงการ พิพิธภัณฑ์ ชนเผ่า
* โครงการ ครูบ้าน นอก
* โครงการ นัก ศึกษาบ้าฝึกงาน
โดย ได้เปลี่ยนชื่อเวบ ไซด์จากwww.thebangkok.com เป็น www.bannok.com (บ้านนอก.คอม)
เปิด สำนักงานที่ กทม อีกครั้ง (2546)
ภาย หลังการทำงานในห้องปฏิบัติการทาง สังคมที่ จังหวัด เชียงราย เราเข้าใจถึงการเชื่อมโยงระหว่างปัญหาเมืองกับชนบท และ ความสำคัญของการขับเคลือนในเชิงนโยบายที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี พื้นที่การผลักดันอยู่ในส่วนกลาง รวมถึงการขยายความคิดการทำงานของกลุ่มฯ จากพื้นที่เล็ก ๆ ในตำบลแม่ยาว ให้กระจกเงาการทำงานออกสู่ภายนอกพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะงานส่งเสริมอาสาสมัคร
โดย โครงการในช่วงแรก ได้แก่
* โครงการส่งเสริมไอซีทีเพือการพัฒนา
* โครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย
* โครงการ TV4KIDS
ซึ่ง ปัจจุบัน โครงการในสำนักงานกรุงเทพได้ ขยายเป็นหลายแขนง ประกอบด้วย โครงการใหม่ๆ ได้แก่
* โครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อน้อง
* โครงการ อ่านสร้างชาติ
* โครงการ กองทุนเสื้อผ้าเพื่อการแบ่งปัน
* โครงการ ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์
* โครงการ จัดการภัยพิบัติภาคประชาชน
* โครงการ โรงพยาบาลมีสุข
* โครงการ ไอซีทีเพื่อการพัฒนา
* โครงการ NGOs FILM
* โครงการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการ ค้ามนุษย์
* โครงการ IT WATCH
* โครงการ ศึกษาปัญหาโรคสมองเสื่อมใน ประเทศไทย
* โครงการ รณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน
นอกจากสำนักงานกรุงเทพและเชียงราย ที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันแล้ว มูลนิธิกระจกเงายังมีการดำเนินงานที่ได้เสร็จสิ้นภารกิจในการฟื้นฟูและพัฒนา ลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งภาพกิจกรรมและความทรงจำดีๆทั้งหมด ยังคงไม่เจือจาง ทั้งสามศูนย์ ในสามพื้นที่ ที่อยู่ในความทรงจำของเรา ประกอบด้วย
ศูนย์ อาสาสาสมัครสึนามิ (เริ่มดำเนินงานปี2547 - เสร็จสิ้นในปี 2550)
หลัง จากที่คลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่ม พื้นที่ชายฝั่งอันดามัน ในวันที่26 ธค 47 สมาชิกของมูลนิธิกระจกเงาและอาสาสมัครจำนวน23 คน ได้เดินทางไปช่วยปฏิบัติการในพื้นที่ จ.พังงา โดยเริ่มแรกตั้งใจที่จะลงไปเป็นอาสาสมัครระยะสั้นประมาณ1 สัปดาห์ แต่เมื่อพบว่าสถานการณ์ในพื้นที่รุนแรงกว่าที่คิดและต้องใช้ระยะในการฟื้นฟู เป็นเวลานาน จึงได้จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครสึนามิ เพื่อทำการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว โดยในช่วง 3 ปีแรก ได้มีอาสาสมัครทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้าร่วมกว่า5 พัน คน ซึ่งปัจจุบันศูนย์อาสาสมัครสึนามิยังคงดำเนินโครงการอยู่ในพื้นที่เขาหลัก
ศูนย์อาสา สมัครลับแล (เริ่มดำเนินงานปี 2549 -เสร็จสิ้นในปี 2550)
จาก เหตุการณ์ น้ำท่วมโคลนถล่ม ในเขตภาคเหนือตอนบน เมื่อวันที่ 22-23พฤษภาคม 49 ทำให้มี ผุ้เสียชีวิต บาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านอย่างกว้าง ขวาง เหตุภัยพิบัติครั้งนั้นถือว่าเป็นภัยพิบัติขนาดใหญ่ถัดจากเหตุการณ์สึนามิ ทางมูลนิธิกระจกเงา ได้รวบรวมอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่สำนักงานกรุงเทพ เชียงราย และพังงา ที่มีประสบการณ์อาสาสมัครและจัดการ ภัยพิบัติเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยภาระกิจหลักคือ การขุดโคลนและเคลื่อนย้ายซากต้นไม้ที่ถมบ้านชาวบ้านออกมา รวมถึงการทำกิจกรรมเด็กในบ้านพักชั่วคราวของผู้ประสบภัย และได้ปิดศูนย์อาสาสมัครลับแล เมือดำเนินการช่วยเหลือได้ 9 เดือน มีอาสาสมัครกว่า 2 พันคน ที่ร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้ กระทั่งดำเนินงานด้านการฟื้นฟู จิตใจและพัฒนาเยาวชนจนเสร็จสิ้นในปี2550 ที่ผ่านมา
ศูนย์ ระนอง(เริ่มขึ้นในปี2549-เสร็จสิ้นในปี 2550)
เป็น ศูนย์ที่ก่อตั้งสืบเนื่องจากเหตุ การณ์สึนามิที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลาย ชีวิตได้รับผลกระทบ ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มคนไร้สัญชาติ จากการลงปฏิบติงานในพื้นที่ประสบภัยของมูลนิธิกระจกเงา ทำไให้เราได้พบกับปัญหาที่สำคัญ ในพื้นที่ แถบฝั่งทะเลอันดามัน แม้ว่าจากการปฏิบัติงานพบกว่ามีหลายหน่าวยงานทั้งใน และต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือในหลายรูปแบบ แต่ "ปัญหา การไม่ได้รับสัญชาติ" ยังคงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดย "โครงการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิ และสถานภาพบุคคลของชนกลุ่มน้องผู้ประสบภัยสึนามิ" จึงเกิดขึ้น เพื่อผลักดันให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง"ไร้สัญชาติ" ให้กับสังคม พร้อมการทำงานบนความร่วมมือของภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน นโยบายภาครัฐ และภาคท้องถิ่น ให้เข้ามาดูแลเรื่อง "สัญชาติ" อย่างจริงจัง เพื่อให้บุคคล 6จังหวัดภาคใต้ได้รับสัญชาติอย่างถูกต้อง
"มูลนิธิกระจกเงาประกอบด้วย โครงการที่ดำเนินงาน เพื่อแก้ไขและพัฒนาสังคม ด้านสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และแบ่งปัน เติมเต็มทรัพยาการทั้งสิ่งของและความรู้สู่ผู้ด้อยโอกาส ดยเปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปมีส่วนร่วมในกระบวนการอาสาสมัคร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพและเชียงราย ผ่านกิจกรรมของ โครงการต่างๆ ได้แก่ "
โครงการในสำนักงานกรุงเทพ
โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง