๒. คิชฌกูฏ ภูเขาคิชฌกูฏเป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งเรียกกันว่า เบญจครี ภูเขาคิชฌกูฏเป็นสถานที่สำคัญที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธ และพระพุทธประวัติดังนี้
พระคันธกุฏี คือเรือนที่ประทับของพระ พุทธเจ้าบนภูเขา คิชฌกูฏ พระคันธกุฏีมีฝาเป็นไม้เนื้อหอม หลังคามุงด้วยใบไม้ใหญ่ ๆ พระพุทธเจ้าโปรดที่ประทับบนเขาคิชฌกูฏีมาก เพราะเป็นที่สงบมีอากาศเย็นสบาย พระองค์ทรงดำเนินขึ้นลงเขาเพื่อบิณฑบาตทุกวัน (คันธกุฏี แปลว่า กุฏีอบกลิ่นหอม เป็นชื่อเรียกพระกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้า)
กุฏิของพระ อานนท์ ที่ซึ่งพระเทวทัตกลิ้งหินทับพระพุทธเจ้า ด้วยหวังจะประหารพระบรมศาสดาในเวลาเสด็จขึ้นบนภูเขาคิชฌกูฏก็ไม่อาจทำ อันตรายพระพุทธเจ้าได้ เป็นเพียงสะเก็ดศิลาได้กระเด็นไปกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พระพุทธเจ้าต้องประสบอันตรายถึงเสียพระ โลหิตจากพระกาย
ถ้ำสุกรขาตา ณ ที่นี้ พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาได้สำเร็จพระอรหัต หลังจากอุปสมบทได้กึ่งเดือน พระสารีบุตรได้สดับพระธรรมเทศนาขณะนั่งถวายงานพัดอยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรง แสดงแก่ปริพาชก ชื่อ ฑีฆนขะผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ทีฆนขะ ได้ดวงตาเห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนา
ถ้ำพระโมคคัลลานะ ที่พำนักของท่านพระโมคคัลลานะ บริเวณนี้เองที่ท่านได้มองเห็นเปรต เวลาลงมาจากเขาคิชฌกูฏ ดังเรื่องมีในธรรมบท เช่น อชครเปรต
ที่ประทับ ของ พระเจ้าพิมพิสาร ก่อนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ถนนพระเจ้าพิมพิสาร ถนนนี้กว้าง ประมาณ 4 เมตร. ยาวประมาณ 1-2 กิโลเมตร. เทด้วยซีเมนต์ เป็นทางลาดขึ้นเขา มีความชัน ประมาณ 30 องศา.
เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร เสด็จมาเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ ส่วนมาก มักจะเสด็จมา ในตอนดึก ซึ่งเสร็จสิ้นภาระกิจ บ้านเมืองแล้ว. กองทัพม้าที่นำ เสด็จ ต้องจุดคบเพลิงกันมา สว่างไสว.
ระหว่าง ทางเดินขึ้นเขา ตามถนน พระ เจ้าพิมพิสารนั้น จะมีสถานที่พักกองทัพ ของพระเจ้าพิมพิสาร ไว้เป็นระยะๆ.จน เมื่อใกล้จะถึงทางขึ้น ส่วนบนยอดเขา อันเป็นที่พำนัก ของเหล่า พระภิกษุสงฆ์แล้ว. พระองค์จึง เสด็จประทับบน เสลี่ยง ให้คนหามขึ้น ไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดเสียง อึกทึกเกินไปนัก. ส่วนกองทัพนั้น พักอยู่ระหว่างทางที่พัก ไม่ต้องตามเสด็จ.จน เมื่อใกล้จะถึงที่ประทับ ของพระ พุทธองค์แล้ว พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้เปลี่ยน เครื่องทรงให้เหมาะ แล้วเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยพระบาทเปล่า เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ที่ยอดเขาคิชฌกูฏนั้น.สอง ข้างทาง ของถนนพิมพิสาร มีต้นไม้ขึ้น อยู่เต็มไปหมด แต่ก็ไม่รกนัก มีต้นมะตูมอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีพืช ที่ชาว อินเดียเรียกว่า โพธิมาลา เป็นเม็ดกลมๆ เล็กๆ ดูเหมือนลูกตะขบ แต่เปลือกแข็งมาก เขาเก็บมา ร้อย เป็นพวงมาลัย คล้องคอ คล้ายๆเป็นลูกประคำ.
เหวทิ้ง โจร ณ ที่นี้ ทรงแสดงนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
มาตะกุฉิ สถานที่ซึ่งพระนางโกศลเทวีพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพิมพิสาร จะทำการรีดพระครรภ์เพื่อกำจัดโอรสในพระครรภ์ทิ้งเนื่องจากเมื่อพระนางเสวย โหรทำนายว่า พระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสียแต่ไม่สำเร็จ ครั้นจะรีดพระครรภ์ ณ ที่นี้ พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงห้ามไว้ ในที่สุดพระโอรสของพระเจ้าพิมพิสารคือ พระเจ้าอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าประราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้
ที่คุมขังพระ เจ้าพิมพิสาร อยู่ ณ ที่ราบเชิงเขาคิชฌกูฏ เมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูจับพระราชบิดามาคุมขังไว้ไม่ให้อาหารเสวย แต่พระเจ้าพิมพิสารยังทรงมีชีวิตอยู่ได้ ณ ที่นี้ เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏทุกวัน เพื่อบิณฑบาตทำให้เกิดปีติเบิกบานพระทัยเสด็จเดินจงกรม เจริญกรรมฐาน เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเห็นพระราชปิดายังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ได้ จึงสั่งให้ช่างตัดผมเอามีดกรีดพระบาทแล้เอาเกลือกับน้ำมันทาแผลย่างไฟ ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จสวรรคต ณ ที่นี้ ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรูในภายหลังทรงสำนึกถึงความผิดทั้งปวงและกลับพระทัยได้ หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและได้เป็นพุทธศาสนูปถัมกในการสังคายนา ครั้งที่ ๑
๓. จาลิยบรรพต ภูเขาลูกนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๓ และพรรษาที่ ๑๘ และ ๑๙ ภายหลังจากตรัสรู้ในระหว่างเวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ
๔. ทักขิณาคีรี ณ ภูเขาลูกนี้ ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลาพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๑ ภายหลังจากตรัสรู้ ในระหว่าง เวลา ๔๕ ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ
๕. เบญจคีรี พระนครราชคฤห์เมืองหลวงของแคว้นมคธ นั้น ตั้งอยู่ในเขตที่ภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ อันเรียกว่าเบญจคีรี ซึ่งประกอบไปด้วยภูเขาคิชฌกฏ ภูเขาปัพภาระ ภูเขาเวลปุระ ภูเขาเวภาระ และภูเขาอิสิคิริ
๖. ปัพภาระ เป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่าเบญจคีรี ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองราชคฤห์ อยู่ ณ เชิงเขาปัพภาระแห่งนี้
๗. อิสิคิลิ ภู เขาอิสิคิลิ เป็นภูเขา ๑ ใน ๕ ที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ซึ่งเรียกกันว่า เบญจคีรี ที่กาฬสิลาซึ่งอยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนิมิตต์โอภาส แก่พระอานนท์
๘. เวปุลละ ภูเขาปุลละ เป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่า เบญจคีรี
๙. ปิปพลิคูหา ถ้าปิปผลิคูหาอยู่ ณ เชิงเขาภารบรรพต เป็นที่พักอาศัยของพระมหาสาวกกัสสปะ ผู้เป็นเลิศสุดด้านธุดงค์ และเป็นองค์ประธานสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก ถ้ำปิปผลิคูหาอยู่ใต้ถ้ำสัตตบรรณคูหาลงมาประมาณ ๑๒๐ เมตร
๑๐. มกุลพรรพต ภูเขากุลพรรพตหรือกุฏบรรพต เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๖ ภายหลังตรัสรู้ ในระหว่าง ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ (สันนิษฐานกันว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือปริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" "เสด็จไปสถิตบนมกุฏบรรพต ทรงทรมานหมู่อสูร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้ว และให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา"
๑๑. วินทัย ภูเขาวินทัยตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของแคว้นมคธ และอยู่ทางทิศใต้ของแคว้นอัวันตี
๑๒. เวภาระ ภูเขาภาระ หรือเวภารบรรพตเป็นหนึ่งใน ๕ ของบรรดาภูเขาที่ล้อมรอบพระนครราชคฤห์ ที่เรียกว่า เบญจคีรี บ่อน้ำตโปธารหรือตโปทา ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่อาบน้ำของพระสงฆ์บ่อน้ำแร่นี้ไหลตลอดปีตลอด ชาตินับแต่สมัยพุทธกาล จวบจนปัจจุบันมิเคยเหือดแห้งเลย ตโปธารอยู่เชิงเขาเวภารบรรพต เช่นเดียวกับตโปทารามสวนซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำปิปผลิคูหาและถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่ ณ เวภารบรรพตเข่นกัน
๑๓. สัจจพันธ์ ภูเขาสัจจพันธ์อยู่ในแคว้น สุนาปรันตะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังแคว้นสุนาปรันตะพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์สาวกจำนวนมากระหว่างทางทรงหยุดประทับโปรดสัจจพันธดาบสที่ภูเขา สัจจพันธ์ จากนั้นพระสัจจพันธ์ ซึ่งบรรลุพระอรหัตตผลแล้วมาในขบวนด้วย หลังจากทรงแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะ และประทับรอยพระบาทรอยแรกไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทาแล้ว จากนั้นเสด็จต่อไปถึงภูเขาสัจจทันธ์ตรัสสั่งพระสัจจพัธ์ให้อยู่สั่งสอน ประชาชน ณ ที่นั้น พระสัจจพันธ์ทูลขอสิ่งที่ระลึกไว้บูชา พระพุทธเจ้าทรงประทับรอบพระบาทไว้ที่ภูเขาสัจจพันธ์นั้น อันนับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาทสองรอยแรก
๑๔. สัตตบรรณ ถ้ำสัตตบรรณคูหาอยู่ที่ภูเขาเวภารบรรพต ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ ถ้ำสัตตบรรณคูหา อยู่เหนือถ้ำปิปผลิคูหาที่พักอาศัยของพระมหากัสสปะขึ้นไป ๑๒๐ เมตร เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน การประชุมสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก สิ้นเวลา ๗ เดือน จึงเสร็จ
๑๕. ตตบริภัณฑ์ หรือเขาล้อมทั้ง ๗ เป็นคำเรียกหมู่ภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมรอบภูเขาพระสุเมรุ คือ ภูเขายุคนธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตก และภูเขาอัสสกัณณ์
๑๖. สุกรขาตา ถ้ำสุกรขาตาอยู่ที่ภูเขา คิชฌกูฏ อันได้กล่าวถึงมาแล้วในเรื่องราวของภูเขาคิชฌกูฏ
๑๗. สุเมรุ คือ ภูเขาพระสุเมรุหรือสิเนรุ หรือเมรุ เป็นภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนาในชั้นอรรถกถายอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมทุรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้งสองนั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่น ๆ และโลกมนุษย์ ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้าง ต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุแห่งนี้
๑๘. หิมพานต์ คือ ภูเขาหิมาลัย เป็นภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของชมพูทวีป บริเวณป่าที่อยู่โดยรอบภูเขาหิมพานต์ หรือภูเขาหิมาลัยนี้เรียกกันว่าป่าหิมพานต์ ภูเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่ยาวและสูงใหญ่มากมีความยาวถึงประมาณ ๙๓๗ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑๒๕ กิโลเมตร มียอดเขาสูง ๆ และหุบเขาลึก ๆ เป็นจำนวนมาก ยอดสูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์หรือที่เรียกกันว่า ภูเขาสุเมรุ มีความสูงประมาณ ๘,๗๐๐ เมตร (ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนประเทศเนปาล)
๑๙. สีรธชะ ภูเขาอุ สีรธชะเป็นภูเขาที่ กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านเหนือนับจากภูเขาอุสีรธชะเข้ามาถือเป็นมัชฌิมชนบท