** อนุสรณ์แห่งความรัก พระพุทธเจ้า หลวงและพระนางเรือล่ม ***
ว่ากันว่า อนุสรณ์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก คือ "ทัชมาฮาล" ซึ่งเป็นสุสานแห่งความรักที่เจ้าชายชาห์ จะฮาน สร้างขึ้นเพื่อเก็บพระศพของพระ นางมุมตัส มาฮาล พระ ชายา
ในประเทศไทยเองก็มีอนุสรณ์แห่งความรักระหว่างพระ มหากษัตริย์และพระมเหสีเช่นกัน โดยเป็นความรักของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุ นันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี นั่น เอง
สมเด็จพระนางเจ้าสุ นันทากุมารีรัตน์ พระบรมราช เทวี ผู้เป็นมเหสีที่รักยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น เป็นพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสม เด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ถวายตัวรับราชการใน ตำแหน่งพระราชชายาเจ้า เมื่อพระชนมายุได้เพียง 17 พรรษา
ศาลพระนางเรือล่มที่วัดกู้ จังหวัด นนทบุรีสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ มีพระราชธิดาพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนเมื่อเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นเมื่อมีการเสด็จ พระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมยังพระราชวังบางปะอิน เมืองพระนครศรี อยุธยา
การเดินทางนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค สมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งทรงตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน เสด็จประทับบนเรือ พระที่นั่งกับพระราชธิดา โดยมีพระพี่เลี้ยงตามเสด็จ ด้วย
เมื่อเรือที่ประทับแล่นตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็เกิดอุบัติเหตุถูกเรือลำอื่นแล่นแซง อีกทั้งนาย ท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้าขาดสติในการบังคับเรือ จึงทำให้ เรือล่มลง แต่ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาลที่ ว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสีมิฉะนั้นจะถูกประหารทั้ง โคตร
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่กำลังทรงพระครรภ์ พร้อมด้วยพระราชธิดาอายุเพียง 1 พรรษาเศษ จึงสิ้นพระชนม์ท่ามกลางความเศร้าโศก เสียใจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเหตุให้ประชาชนเรียก พระองค์ว่า "พระนางเรือล่ม" ในเวลาต่อ มา
ความรักและความอาลัยในตัวสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ นี้ ทำให้ พระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกสลดถึงที่สุด และได้ทรงสร้าง อนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมเหสีอันเป็น ที่รักของพระองค์
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ ที่พระราชวังบางปะอินสถานที่แรกที่จะกล่าวถึงนี้ แม้ไม่ได้เป็นอนุสรณ์ที่รัชกาลที่ 5 สร้างขึ้น แต่ ก็ถือเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมาก นั่นก็คือ “ศาลสมเด็จพระนางเจ้าสุ นันทากุมารีรัตน์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลพระนางเรือ ล่ม” ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่ที่วัดกู้ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่ง เดิมทีนั้น วัดกู้มีชื่อว่าวัดหลังสวน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือพระที่นั่ง ล่ม และได้มีการกู้พระศพและซากเรือขึ้นที่วัดนี้ คนทั่วไปจึงเรียกวัดนี้ว่าวัด กู้ตั้งแต่นั้น มา
ณ บริเวณที่เรือพระที่นั่งของล่มลงนี้ ชาวบ้านจึงร่วมใจช่วย กันตั้งศาลพระนางเรือล่มขึ้น โดยศาลพระนางเรือล่มที่วัดกู้นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ศาล คือที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่ง และสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณวัดอีกแห่ง หนึ่ง ภายในศาลซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำนี้ ภายในมีพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสมเด็จพระ นางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และรัชกาลที่ 5 มีดอกไม้และพวงมาลัยที่มีผู้นำมา บูชา อีกทั้งยังมีชุดไทยที่มีคนนำมาถวายอีกด้วย ซึ่งชุดไทยที่อยู่ในตู้กระจก ด้านหน้านั้นเป็นชุดที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ทรงนำมา ถวาย
ส่วนอีกศาลหนึ่งที่อยู่ในบริเวณวัดนั้น ภายในมีพระรูปของ พระนางเรือล่มอยู่ และนอกจากนั้นก็ยังมีศาลาที่เก็บเรือเก่าแก่ลำหนึ่ง กล่าวกัน ว่าเป็นเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์อีก ด้วย
สำหรับ "อนุสาวรีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนั้น ก็มีอยู่ที่พระราชวัง บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิง ศพสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดาแล้ว ก็ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หิน อ่อนขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรง พระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่อนุสาวรีย์นั้น ด้วย โดยมีข้อความอาลัยลึกซึ้งว่า
สถูปพระนางเรือล่ม เเปลกตากว่าที่ อื่นด้วยรูปทรงปิรามิด"ที่รฤกถึงความรัก แห่งสมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรม ราชาเทวีอรรคมเหษี อันเสด็จทิวงคตแล้ว ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยมีความศุข สบายและเป็นที่เบิกบานใจ พร้อมด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รัก แลที่สนิทยิ่งของเธอ อนุสาวรีย์นี้ สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราช ผู้เป็นสวามี อันได้รับความเศร้า โศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิต ถึงกระนั้นก็ยังมิได้ หัก หาย"
ส่วนที่จังหวัดจันทบุรี ก็มีอนุสาวรีย์แห่งความ รักนี้เช่นกัน โดย "สถูป พระนางเรือล่ม" นี้ ตั้งอยู่ที่น้ำตก พลิ้ว ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงโปรด หลังจากที่เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อปี พ.ศ.2417
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ ที่สวนสราญรมย์อนุสาวรีย์แห่งนี้มีลักษณะ ที่แปลกแตกต่างจากอนุสาวรีย์อื่นๆ ตรงที่เป็นสถูปทรง ปิรามิด ที่ภายในบรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯ ไว้ โดยเหตุที่สร้างสถูปเป็นรูป ทรงนี้ก็มาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า “ทำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของ อียิปต์ยืนยงคงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่าม กลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธาร พลิ้ว”
ในกรุงเทพมหานครเองก็มีอนุสรณ์ที่รัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้ สร้างขึ้นเช่นกัน โดย "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์" นั้น ตั้งอยู่ภายในสวนสราญรมย์ สวนสาธารณะภายในเกาะรัตน โกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ พระราชวังที่ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
สุนันทานุสาวรีย์ ภายในสุสานหลวง วัดราชบพิธฯสำหรับตัวอนุสาวรีย์นั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ บริเวณที่สมเด็จพระนาง เจ้าฯ เคยทรงพระสำราญเมื่อครั้งยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ตัวอนุสาวรีย์ทำด้วยหิน อ่อนสีขาวมียอดเป็นปรางค์เป็นที่บรรจุพระอัฐิและมีคำจารึกแสดงความทุกข์ โทมนัส ของพระองค์บนแผ่นหินอ่อน อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ท่ามกลางต้นลั่นทมส่งกลิ่นหอม เย็น บรรยากาศสงบเป็นอย่าง ยิ่ง
และในสุสานหลวงของ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมา ราม ซึ่งเป็นสุสานหลวงที่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรม ราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนพระราชโอรสธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ มี "สุนันทานุสาวรีย์" ซึ่งเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว
สุนันทานุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปแบบเจดีย์สีทอง โดยมีเจดีย์ ที่มีลักษณะคล้ายกันอีก 3 องค์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สว่างวัฒนา) สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรม ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (เสาวภาผ่องศรี) และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราช เทวี
แม้อนุสรณ์แห่งความรักของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้นจะไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าทัชมา ฮาล แต่ก็แสดงออกถึงความรักและอาลัยในพระราชหฤทัยของพระองค์ได้เป็นอย่าง ดี