อดีต นายกรัฐมนตรีไทย ๕ สมัย ทำประโยชน์แก่ชาติมากมาย เมื่อตายมีเงินเหลือ ๑๗๗ บาท !!!

 

  อดีต นายกรัฐมนตรีไทย ๕ สมัย ทำประโยชน์แก่ชาติมากมาย เมื่อตายมีเงินเหลือ ๑๗๗ บาท !!!

 

 
อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ๕ สมัย ทำประโยชน์แก่ชาติมากมาย

เมื่อตายมีเงินเหลือ ๑๗๗ บาท !!!



ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยถึง ๕ สมัย
(พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๘๑)



ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น "เชษฐบุรุษ" นายกฯ
คนซื่อ ๕ สมัย สุภาพบุรุษประชาธิปไตย และขวัญใจประชาชน



ท่านสร้างผลงานให้แก่ประเทศไว้มากมาย แต่คนไทยในสมัยนี้
ไม่ค่อยรู้จักท่าน ไม่ค่อยมีใครพูดถึงและยกย่องท่าน 







ท่านคือ ... พล เอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี
คนที่ ๒ ของประเทศไทย มีนามเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" 










ประวัติ


พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๓๐ เวลา ๐๓.๓๐ น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับคนผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา


เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม)

และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย

จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเมื่ออายุ ๑๖ ปี

ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศ เยอรมันนี

ศึกษาอยู่ ๓ ปี ต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔

ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์ก

เรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ



พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรม ทหารปืนใหญ่ที่ ๔ จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๙ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับใน ราชทินนามเดียวกันว่า " สรายุทธสรสิทธิ์" และได้ เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๑
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร และเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ร่วมกับคณะราษฏรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการ ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๖ โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาตลอดระยะเวลาที่บริหาร ประเทศ ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๘๑ พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา



พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ รวมอายุได้ ๖๐ ปี


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง


สมัยที่ ๑
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔ : ๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๖ - ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖

สมัยที่ ๒
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕: ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗

สมัยที่ ๓
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๖: ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๐

สมัยที่ ๔ 
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๗: ๙ สิงหาคม ๒๔๘๐ - ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๐

สมัยที่ ๕
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๘: ๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๐ - ๑๑ กันยายน ๒๔๘๑

บทบาท ทางการเมืองและชีวิต

ดูรายละเอียดวันที่แปลี่ยนแปลงการปกครองเพิ่มเติมได้ที่ พระยาทรงสุรเดช ในส่วนของ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ ที่ประกอบด้วย ตัวท่าน, พระยาฤทธิ์อัคเนย์, พระยาทรงสุรเดชและ พระประศาสน์ พิทยายุทธ ในระหว่างการประชุมวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหล ฯ ได้เคยมีดำริถึงเรื่องนี้มาก่อนและเปรยว่า ทำอย่างไรให้อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนทั่วไปจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ในมือของชนชั้นปกครองแค่ไม่กี่คน และเมื่อคณะราษฎรทั้งหมดยกให้ท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็รับ

ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้สั่งเสียไว้กับภรรยา (ท่านผู้หญิงบุญหลง พลพยุหเสนา) ว่า หากทำการมิสำเร็จและต้องประสบภัยถึงแก่ชีวิตแล้ว ขอให้คุณหญิงจงเป็นพยานแก่คนทั้งหลายว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้าน เมืองได้บ้าง" และฝากให้เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีด้วย ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมา มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อสมทบกับพระยาทรงสุรเดชตามแผนที่วางไว้ พร้อมกับเหน็บปืนพกค้อลท์รีวอลเวอร์ที่ เอว เป็นอาวุธข้างกาย

ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมแล้ว พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เดินออกจากร่มเงาต้นอโศกข้างถนนราชดำเนิน เพื่อแสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และอ่านประกาศฉบับแรกของคณะราษฏร ซึ่งมีใจความว่า


การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ทรงใช้ อำนาจด้วยพระองค์เอง ใครจะออกเสียงหรือความเห็นคัดค้านอย่างใดมิได้ทั้งสิ้น การปกครองแบบนี้ได้ปล่อยให้อาณาประชาราษฎรเผชิญโชคชะตาทางเศรษฐกิจและการ ภาษีต่าง ๆไปตามลำพัง ไม่ได้คิดหาทางแก้ไขบูรณะบ้านเมืองให้ดีขึ้น จะปล่อยให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายและเป็นไปตามยถากรรมนั้นเป็นการไม่พึง บังควรยิ่ง เราจึงต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้พระมหากษัตริย์ทรงสถิตอยู่ใต้กฎหมาย





เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 2 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็คือหลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) นายทหารรุ่นน้องที่ท่านรักและไว้ใจนั่นเอง

พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์หลังรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้ง จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ด้วยวัยเพียง 60 ปี ด้วยอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอ ที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพด้วยซ้ำ จนทางรัฐบาลในสมัยนั้น (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิง ให้ท่านแทน

ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรี

ครอบครัว

พระยาพหลพลพยุหเสนา สมรสครั้งแรกกับ คุณหญิงพิศ แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน

ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับ ท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน คือ

นางสาวพาภรณ์ พหลพลพยุหเสนา นางพรจันทร์ ศรีพจนาถ พลตรีชัยจุมพล พหลพลพยุหเสนา พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา พันตำรวจโทพรหมมหัชชัย พหลพลพยุหเสนา นางพวงแก้ว นางผจี


อ้างอิง : 
http://th.wikipedia.org/wiki/พระยา พหลพลพยุหเสนา_(พจน์_พหลโยธิน)


..................................................................


พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวแนะนำหนังสือ ในหัวข้อ
“พระยาพหลฯ ที่คนไทยควรรู้จัก”



พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวแนะนำหนังสือในหัวข้อ “พระยาพหลฯ ที่คนไทย
ควร รู้จัก” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ในงานมหกรรมหนังสือ
ระดับ ชาติ ครั้งที่ ๑๔ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

ท่าน ว.วชิรเมธี กล่าวว่า "รู้สึกทึ่งในฐานข้อมูลของหนังสือเล่มนี้ที่ประมวล
มา อย่างครบถ้วน ฐานข้อมูล ๓๐๐ เล่ม เมื่อได้อ่านทำให้รู้สึกว่า ชีวิตหนึ่ง
เท่านี้สร้างความดีได้อนันต์ และทำไมเราไม่ค่อยหยิบยกคนดีออกมายกย่อง
ให้ปรากฏ เวลาอ้างถึงคนดี เราก็เอาแต่อ้างถึงฝรั่ง ฝรั่งนั้นเวลาใครดีเขาจะ
ต้องดัน แต่ไทยกลับ ดี เด่น ดึง ซึ่งกลายเป็นลักษณะของสังคม เรายกย่อง
กันเองน้อยไปหน่อย พระยาพหลฯ ท่านเป็นนายก ๕ สมัย แต่ไม่มีเงินซื้อโลง
แสดงให้เห็นว่า กามคุณทั้ง ๕ อันได้แก่ ยศ, ทรัพย์, อำนาจ, ชื่อเสียง 
และกามารมณ์ ไม่ทำให้ท่านเสียผู้เสียคน และควรแก่การเป็นเชษฐบุรุษ
โดยแท้ การที่ท่านเป็นเชษฐบุรุษ แต่ดำเนินชีวิตที่สมถะได้อย่างไร?" 

..............................................................


“เมื่อ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ผมเพิ่งอายุ ๑๒ ปี จึง
รู้ เรื่องของท่านเจ้าคุณพหลฯ น้อยมาก ต่อเมื่อเป็นนักเรียนนายร้อย พ.ศ. 
๒๔๘๑ ได้รับคำบอกเล่าและเรียนรู้มากขึ้นว่า พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
ได้ กระทำคุณงามความดีให้แก่ชาติบ้านเมืองของเราไว้เป็นอันมาก ควรแก่การ
จด จำ, ยกย่อง, สรรเสริญ และเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังอย่างยิ่ง.…หนังสือ
เล่ม นี้ จึงเป็นประโยชน์ทั้งในการรวบรวมเอกสารหลักฐานสำคัญของประเทศ 
และ เป็นการยกย่องคนผู้ที่สมควรแก่การยกย่องอีกด้วย ”.



พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ประธาน องคมนตรี และรัฐบุรุษ



“ ท่านเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนา เป็นบุคคลแรกของประเทศไทยในระบอบ
ประชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์ ได้ทรงตราเกียรติคุณให้ปรากฏลือชาไว้ใน
แผ่นดิน และได้ทรงสถาปนายกย่องไว้ในฐานะ “เชษฐบุรุษ” หรือนัยหนึ่ง 
”รัฐบุรุษ หลักของประเทศ” และได้ทรงพระราชทานวังปารุสกวันให้เป็นที่พำนัก
ของท่าน ตลอดชั่วชีวิต ถัดจากท่านเจ้าคุณก็มีรัฐบุรุษอีกผู้หนึ่งที่พระมหา
กษัตริย์ ได้ทรงตราเกียรติคุณ และความดีความชอบที่ประกอบให้แก่ประเทศ
ชาติ คือท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งได้ทรงสถาปนายกย่องไว้ในฐานะ “รัฐบุรุษ
อาวุโส ” หรือนัยหนึ่งรัฐบุรุษหลักของประเทศเช่นเดียวกัน. ”




กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)
หนังสือ พิมพ์ สุภาพบุรุษ ฉบับวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙
Credit: ก้อย
27 พ.ค. 53 เวลา 00:55 5,393 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...