5 ความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกที่น่าหดหู่ใจสุด ๆ

http://baby.kapook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88-130618.html

5 ความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกที่น่าหดหู่ใจสุด ๆ

สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว แค่ลูกเกิดมาผิดปกติทางสมอง หรือพิการทางร่างกาย ก็เป็นเรื่องที่ยากเกินจะทำใจได้แล้ว หากเป็นภาวะที่ร้ายแรงกว่านั้น ที่ทำให้ลูกต้องทนทรมาน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง พ่อแม่แทบใจสลายเลยทีเดียว

แต่ภาวะผิดปกติที่ทำให้พ่อแม่แทบใจสลายนี้ จะมีภาวะใดบ้างและน่าหดหู่ใจเพียงใด วันนี้กระปุกดอทคอมได้รวบรวมตัวอย่าง 5 ภาวะผิดปกติแต่กำเนิดของทารกที่ชวนรู้สึกสงสารสุดใจมาฝากกัน

Cyclopia หรือ เด็กตาเดียว

ภาวะนี้ถูกตั้งชื่อตามยักษ์ตาเดียวในเทพนิยายปกรณัมกรีก นาม ไซคลอปส์ เป็นภาวะผิดปกติรุนแรงของสมองส่วนหน้า โดยสมองของเด็กตาเดียวนั้นไม่มีการแบ่งเป็นซีกซ้ายและซีกขวา แต่จะอยู่รวมกันเป็นก้อนเดียว ก่อให้เกิดความบกพร่องในการเจริญของใบหน้า ตลอดจนโครงสร้างและการทำงานของสมอง โดยเด็กทารกที่เกิดมาพร้อมภาวะนี้ จะพบว่ามีตาเดียวหรือสองตาแต่รวมกันเป็นจุดเดียวที่กลางหน้าผาก และไม่มีจมูกหายใจ ทารกที่เกิดมาจะเสียชีวิตในทันที

ภาพจาก imanithom10.wordpress.com

กะโหลกของผู้ป่วย Cyclopia

ภาพจาก imgur.com

Craniopagus parasiticus หรือ เด็กสองหัว

ถือเป็นกรณีที่หายากมากของวงการแพทย์ พบเพียง 10 รายในโลกเท่านั้นตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก เด็กสองหัวเป็นหนึ่งในรูปแบบของแฝดปรสิต โดยเด็กแฝดที่ถือกำเนิดนั้นจะมีกะโหลกศีรษะบริเวณกระหม่อมติดกัน แต่แฝดคนหนึ่งจะมีหน้าตาที่ไม่สมบูรณ์ รวมถึงมีร่างกายตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงช่วงลำคอเท่านั้น แต่มีเส้นประสาทที่สามารถรับรู้และตอบสนองการสัมผัสได้ เด็กที่เกิดพร้อมภาวะนี้มักจะเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด และพบว่า 3 ใน 10 รายสามารถมีชีวิตอยู่ได้ราว 2-3 ปี ก่อนจะเสียชีวิตในที่สุด

ภาพจาก primehealthchannel.com

ภาพจาก primehealthchannel.com

Anencephaly หรือ เด็กกบ

ภาวะพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง เกิดจากท่อระบบประสาทผิดปกติ (neural tube defect) ซึ่งจะเกิดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ราวสัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากการปฏิสนธิ ส่วนปลายของท่อระบบประสาทในเด็กกบเหล่านี้ไม่ปิดเข้าหากัน จึงไม่สามารถพัฒนาการสร้างส่วนกะโหลกและสมองที่สมบูรณ์ได้

ทารกจะถือกำเนิดโดยไม่มีกะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง และสมองใหญ่ที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ แต่ยังคงมีส่วนของก้านสมองอยู่ โดยจะมีเพียงเยื่อบาง ๆ ปกคลุมเอาไว้ ทารกเหล่านี้ไม่รู้สึกตัว มองไม่เห็น ฟังไม่ได้ยิน ไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ยังสามารถหายใจได้ ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอดราว 2-3 วินาทีหรือ 1 วัน แต่บางครั้งก็อาจพบได้ว่ามีชีวิตรอดอยู่นานเกิน 10 วัน แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

ภาพจาก doctorshangout.com, ภาพจาก pregmed.org

Harlequin-type ichthyosis หรือ เด็กดักแด้

เป็นภาวะโรคผิวหนังในกลุ่มโรคผิวหนังเกล็ดปลาชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุด ทารกจะมีชั้นเคราตินในผิวหนังมากจนผิดปกติ สำหรับในภาวะนี้ ชั้นเคราตินของเด็กจะหนามากและมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมและมีสีแดง ตา หู อวัยวะเพศ และรยางค์ จะมีขนาดเล็กกว่าปกติเนื่องจากถูกแผ่นเคราตินห่อหุ้มและดึงรั้งเอาไว้ นอกจากนี้ เด็กดักแด้ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียสูงกว่าปกติมาก เนื่องจากชั้นเคราตินหนาทำให้เกิดรอยแตกได้ง่ายตามบริเวณข้อพับ ทำให้เด็กดักแด้เคลื่อนไหวลำบาก มีผิวแห้งบอบบาง โดยปกติแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานหลังคลอด

ภาพจาก documentingreality.com

ภาพจาก documentingreality.com

Polymelia หรือ เด็กหลายขา

ภาวะผิดปกติแต่กำเนิดของทารกที่เกิดมาพร้อมจำนวนขาที่มากกว่า 2 ขา ส่วนใหญ่พบว่ามี 5 ขาขึ้นไป พบสาเหตุเกิดได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่มาจากการที่แฝดสยามได้รวมร่างกันตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ก่อนจะพัฒนาเป็นตัวอ่อนหนึ่งเดียว ส่งผลให้เกิดความผิดปกติคือมีขามากกว่า 2 ข้าง นอกจากนี้ ยังสามารถพบความผิดปกติเช่นนี้ในสัตว์บกหลายชนิดอีกด้วย

ภาพจาก doctorshangout.com

ภาพจาก newsarticlesworldwide.blogspot.com

Credit: กระปุกข่าว
1 ต.ค. 58 เวลา 14:20 5,037
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...