ที่มา ::::facebook :: คลังประวัติศาสตร์ไทย
คุณหญิงสดับ หรือที่รู้จักในหมู่ชาววังคือ หม่อมราชวงศ์หญิงสดับ ลดาวัลย์ หญิงสาวราชนิกูลผู้นี้เข้าถวายตัวในตำแหน่งของเจ้าจอมในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ในวันนั้นคุณหญิงสดับได้รับพระราชทาน"กำไลมาศ"จากพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพานหนักสี่บาท ทำเป็นรูปตะปูสองดอกไขว้กัน ในขณะนั้น คุณหญิงสดับมีอายุเพียง16ปี ตลอดระยะเวลาในการเป็นข้าทูลละอองพระบาทนั้น คุณหญิงได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์ จงรักภักดีหาที่สุดไม่ได้
ไม่นานนักพระเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นพระสนมเอก อันเป็นตำแหน่งที่เจ้าจอมมารดาหลายๆท่านที่รับราชการมาช้านานก็ยังไม่ได้เป็นพระสนมเอก แต่คุณหญิงสดับซึ่งเป็นเพียงเด็กสาววัยรุ่น และเพิ่งเข้ามารับราชการเป็นเจ้าจอมกลับได้รับพระราชทานตำแหน่งที่สูงถึงเพียงนี้ ยิ่งก่อให้เกิดความอิจฉาริษยาจากคนรอบข้าง ด้วยวัยเพียง17ปีท่านจึงได้เล่าถึงความรู้สึกครั้งนั้นว่า
"...เหลียวไปไหนพบแต่ศัตรู คุณจอมท่านนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น คุณจอมท่านนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน" ด้วยความอายุยังน้อย ขาดความยั้งคิด ท่านจึงตัดสินใจทำลายชีวิตตนเองด้วยการกินน้ำยาล้างรูปแต่ก็รักษารอดมาได้
แม้ว่าท่านจะถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสีไปต่างๆนาๆแต่ก็มิเคยที่จะปริปากเพ็ดทูลสิ่งใดๆให้เป็นที่หนักพระทัยของพระเจ้าอยู่หัว จึงทำให้ไม่สามารถมีสิ่งใดมาทำลายความรักที่ท่านมีต่อรัชกาลที่5ได้ นับว่าท่านเป็นเจ้าจอมที่รัชกาลที่5โปรดมากในเวลานั้น คุณหญิงสดับรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่เคยทูลขอพระราชทานทรัพสินมีค่าแต่อย่างใด ด้วยอุปนิสัยค่อนข้างจะเจียมเนื้อเจียมตัวอยู่ไม่น้อยจึงเป็นที่สนิทเสน่หามากขึ้นไปอีกถึงกับพระราชทานสิ่งของมีค่าให้อยู่เนืองๆ
เมื่อรัชกาลที่5สวรรคต ในขณะนั้นคุณหญิงสดับมีอายุแค่เพียง20ปี ท่านจึงตัดสินใจสละสมบัติของมีค่าทุกอย่างที่เคยได้รับพระราชทานให้แก่สมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อไม่ให้เกิดการครหาว่าท่านจะนำสมบัติไปปรนเปรอชายอื่น เนื่องจากนเวลานั้นตัวคุณหญิงสดับเองก็เปรียบเหมือนแม่หม้ายสาวสวยทรงเครื่องสมบัติชุดใหญ่แน่นอนว่าต้องเป็นที่สนใจของเหล่าภมรที่ต้องการจะดอมดม ไม่นานนักคุณหญิงสดับจึงตัดสินใจหลบหลีกความวุ่นวายในราชสำนักหาความสงบให้แก่จิตใจโดยการบวชชีจำวัดอยู่ที่วัดเขาบางทรายจังหวัดชลบุรีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวชายผู้เป็นที่รัก โดยมีกำไลมาศเพียงอย่างเดียวที่เหลือติดตัวของท่านไป ท่านได้ปฏิญาณตนอย่างแน่วแน่ว่าจะครองตนเป็นหม้ายโสดเพื่อรักษาเกียรติยศแห่งการเป็นพระสนมในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ตลอดชีวิต
ต่อมาเมื่อท่านชรามากแล้วพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่9จึงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ท่านเจ้าจอมสดับเข้าไปอยู่ในส่วนของเขตพระราชฐานชั้นในในพระบรมมหาราชวัง จนเช้าตรู่วันพฤหัสบดีที่ 30 มิ.ย.26 ลูกหลานในราชสกุลลดาวัลย์ต้องเสียใจต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ เจ้าจอมสดับด้วยโรคชรา ในวัย 93 ปี ณ โรงพยาบาลศิริราช ม.ล.พูนแสง ลดาวัลย์ หลานสาวที่เจ้าจอมสดับให้การดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ในวัยเยาว์ เล่าว่าเจ้าจอมสดับสวมกำไลมาศติดมือจนสิ้นลมหายใจ ตนเป็นคนถอดกำไลมาศข้อมือนั้นด้วยตัวเอง โดยเล่าถึงสภาพของกำไลมาศว่า "ถึงแม้ว่าคำกลอนที่จารึกไว้ในกำไลมาศจะลบเลือนไปตามกาลเวลา เพราะท่านสวมมาถึง 76 ปี แต่พระปรมาภิไธย "จุฬาลงกรณ์ ป.ร." ที่จารึกไว้ด้านในท้องกำไลยังคงเป็นรอยจารึกที่แจ่มชัดดังเดิมจนน่าประหลาดใจมาก"
จากนั้นตนจึงนำกำไลมาศถวายแด่พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่9ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำของเหล่านั้นไปไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆตรงห้องพระบรรทมรัชกาลที่5 คุณหญิงสดับจึงเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5คนสุดท้ายที่มีชีวิตยาวนานมาถึง5แผ่นดิน และตลอดชีวิตของท่านได้แสดงถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ในฐานะภรรยาที่มีต่อสามี ในฐานะข้าในรัชกาลที่ 5และรัชกาลที่ 9 รวมถึงในฐานะข้าของแผ่นดิน.นับเป็นความรักในราชสำนักที่ถูกจารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย"
ปล. คำว่า"คุณหญิงสดับ"ในที่นี้คือชื่อเรียกแบบลำลองของหม่อมราชวงศ์หญิง แต่เดิมเจ้าจอมท่านเป็นหม่อมราชวงศ์หญิง เมื่อเริ่มโตเป็นสาวจึงเข้าไปเป็นข้าหลวงในพระวิมาดาเธอฯ ชาววังสมัยนั้นมักจะเรียกท่านว่า คุณหญิงสดับ เมื่อถวายตัวเป็นข้าบาทบริจาจึงมีชื่อเต็มว่า เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่5 เหตุผลที่แอดมินใช้คุณหญิงนั้น เพื่อให้ทราบว่าคำว่าคุณหญิงไม่ได้ใช้แต่เฉพาะสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชตระกูลจุลจอมเกล้าเท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อเรียกแบบลำลองสำหรับหม่อมราชวงศ์หญิงอีกด้วย
ภาพต้นฉบับและภาพเหมือนเจ้าจอมสดับที่ใช้ประกอบหน้าโกศศพ
ขอบคุณที่มา ::::facebook :: คลังประวัติศาสตร์ไทย