ปูนาเป็น ปูน้ำจืดชนิดที่มีกระดองเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมน กลมมีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้ มีปาก อยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเบ้าตา มีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา กระดองปูนามีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง มีขาเป็นคู่ รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกว่าก้ามหนีบ ใช้ในการจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร
ก้ามหนีบของตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ก้ามหนีบซ้ายและขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมักจะใหญ่สลับข้างกัน สำหรับปูเพศผู้ และเพศเมีย ลำตัวปู ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) ส่วนท้องลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง, จะปิ้ง ตับปิ้ง จับปิ้งของปูเพศผู้มีขนาดเล็ก แต่จับปิ้งของปูเพศเมียมีขนาดกลม กว้างใหญ่ เพื่อใช้ในการเก็บไข่ และลูกไว้ ปลายจับปิ้งจะเป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย
ปูนาดำ และปูลำห้วย จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การผสมพันธุ์ของปูน้ำจืด ที่พบการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพศเมียจะหงายส่วนท้องขึ้น และเปิดจับปิ้งออก ส่วนเพศผู้จะขึ้นทับข้างบน พร้อมกับเปิดจับปิ้งออก และสอดขาเดินเข้าไปในส่วนท้อง ของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อ ที่อยู่ระหว่างจับปิ้ง กับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ ความดกของไข่ประมาณ 700 ฟองต่อตัว แหล่งที่อยู่
ปูชอบขุดรูในทุ่งนา คันนา คันคูหรือคันคลองโดยจะอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำและแหล่งอาหารซึ่งใช้เป็น ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ตำแหน่งและลักษณะของรูปูนานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่บริเวณที่ปูขุดรูนั้นจะอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยตำแหน่งของรูปูจะเอียงเล็กน้อยและปากรูจะอยู่เหนือน้ำหรือต่ำกว่าน้ำเล็ก น้อยเพื่อความสะดวกในการเข้าออก รูปูจะเอียงทำมุมประมาณ 30-60 องศากับแนวระดับ ส่วนใหญ่แล้วรูปูจะตรงไม่คดเคี้ยว ในบริเวณที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณที่น้ำตื้นมากรูปูจะอยู่ไม่ลึกนักและจะ ขนานไปกับพื้นดิน
ฤดูและวิธีการผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม โดยปูตัวเมียจะหงายส่วนท้องขึ้นและเปิดจับปิ้งออกและตัวผู้จะสอดขาเข้าไปใน ส่วนท้องของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อที่ อยู่ระหว่างจับปิ้งกับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์จะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงและปูตัวเมียสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 ถึง 4 เดือน ปูมีไข่ในท้องประมาณ 700 ฟอง การจับคู่ของปูจะดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2-3 วัน และปูตัวผู้จะคงเกาะบนหลังของปูตัวเมียเพื่อให้ความคุ้มครองจนกว่าปูตัวเมีย จะแข็งแรงและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปรกติ เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมเป็น ช่วงฤดูจำศีลของปู ปูจะลงรูเพื่อจำศีลและในช่วงนี้ปูจะไม่กินอาหารและไม่เคลื่อนไหวถ้าไม่จำ เป็นเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด ปูจะขึ้นจากรูออกมาหากินอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์ และจะเริ่มกลับมาผสมพันธุ์อีกครั้งในช่วงต้นฤดูฝน
การเลี้ยงปูนา
การเตรียมบ่อเลี้ยง
การเลี้ยงปูนานั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ แต่พบว่าการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์นั้นจะมีข้อดีกว่าตรงที่สะดวกในการดูแลและ เก็บผลผลิต นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ปูขุดรูหนี บ่อซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยงปูนั้น มี 2 ประเภท คือ บ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยมหากผู้ที่สนใจต้องการทดลองเลี้ยงดูก่อนว่าสามารถ เลี้ยงปูได้หรือไม่ ก็ควรจะเลี้ยงในบ่อกลมก่อน บ่อกลมที่ว่าก็คือการนำท่อซีเมนต์ (ท่อที่ใช้ทำถังส้วม) มาเทปูนทางด้านล่างใส่ท่อพีวีซีทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกต่อการ ถ่ายน้ำ ใส่ดินลงไปและปลูกพืชน้ำ นำปูตัวผู้และปูตัวเมียมาปล่อยลงในบ่อ เลี้ยง บ่อละประมาณ 10-15 ตัว อย่าใส่ปูในบ่อมากนักเพราะปูจะกัดกันเอง ปูตัวไหนที่ขาหลุด ก้ามหลุดให้เก็บออกเพราะว่าจะโดดปูตัวอื่นมารุมทำร้าย ส่วนบ่อสี่เหลี่ยมนั้น อาจใช้บ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลาหรือทำบ่อใหม่โดยการนำอิฐบล็อกมาก่อ กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร และสูง 1 เมตร หรืออาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่อย่าให้สูงมากเพราะจะไม่สะดวกในการดูและและเก็บผลผลิต ใส่ท่อระบายน้ำไปด้วยเพราะจะทำให้สะดวกในเรื่องของการดูแลทำความสะอาด
ในบ่อนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของปูโดยการนำเอาดินร่วนปนเหนียวหรือดินตาม ทุ่งนามาใส่ไว้ให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตรของขอบบ่อและทำให้เอียงลง ส่วนที่สองเป็นส่วนที่เป็นน้ำทำโดยลอกเลียนแบบตามสภาพธรรมชาติของแหล่งที่ อยู่ เช่นมีกอข้าวและพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสังเกตการณ์การเลี้ยงปูในบ่อซีเมนต์ นั้นพบว่าปูสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดีแม้ว่าไม่ใส่น้ำลงในบ่อ
ปูนาจะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย และจะออกหากิน โดยจะกินเศษซากที่เน่าเปื่อย ต้นข้าว หรือลูกปลาขนาดเล็ก จากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์พบว่าปูนาสามารถหัดให้กินอาหารเม็ดปลาดุกได้ หรือใช้เศษข้าวสวย ให้เป็นอาหารบริเวณที่อยู่อาศัยของปู ส่วนที่เป็นดินต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด คือเศษอาหารที่ให้ปู ถ้าเหลือทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นเชื้อรา ต้องเก็บออก ช่วงที่เก็บผลผลิตควรเป็นช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงนี้ปูจะขุดรูอยู่ตามท้องนา หาได้ยาก และบางพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช เยอะ ๆ ปูก็จะตาย หรือไม่ก็มีการสะสมสารพิษใน ตัวปู การนำปูนามาแปรรูปเป็นอาหารก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ ทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย ส่วนการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์จะเป็นปูนา ที่ปลอดสารพิษ และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร ได้ ไม่ว่าจะเป็นปูดอง หรือทำเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย เป็นรายได้เสริมอีกทาง ไม่ว่าจะทำเป็น ยำปูนา ลาบปูนา ทอดปูกรอบ และอุกะปู เป็นต้น.
การจำหน่ายปูนา
ช่วงที่เหมาะสมในการจำหน่ายปูนานั้นควรเป็นช่วงฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงที่ปูใน ธรรมชาตินั้นหายาก ราคาประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ในช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงกันยายน ปูจะมีราคาประมาณ 15 บาทต่อกิโลกรัมและมีแม่ค้ามาซื้อปูถึงที่โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องนำปูไปจำหน่าย เอง อย่างไรก็ตามยังมีความต้องการปูนาในท้องตลาดอีกมาก เหมาะแก่การพัฒนาเป็นอาชีพได้
ที่มา : farmfriend