ย้อน ดูเรื่องราวในยุคโบราณกัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์สุดตื่นเต้นปน เสียวสยอง เมื่อพบซากฟอสซิลของ "งูยักษ์" ในโคลอมเบีย คาดเป็นงูสายพันธุ์ใหญ่ที่สุดและเลื้อยอยู่บนโลกเมื่อ 60 ล้านปีก่อน มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่ารถบัส และสามารถเคี้ยวจระเข้เป็นของว่างได้เลย และน่าสนใจมากว่าโลกดึกดำบรรพ์ร้อนกว่าตอนนี้เยอะ
   
   ข่าวการค้นพบฟอสซิลงูยักษ์สายพันธุ์โบราณบริเวณเหมืองถ่านหินทางตะวันออก เฉียงของประเทศโคลอมเบีย ได้รับความสนใจและตีพิมพ์ในสื่อต่างชาติจำนวนมากทั้งเอพี รอยเตอร์ส และเอเอฟพี ที่ระบุว่าน่าจะเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ และผลงานวิจัยซากงูดึกดำบรรพ์นี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์ (Nature)


   
   จากการค้นพบฟอสซิลส่วนกระดูกสันหลังของงูยักษ์ดังกล่าว นัก วิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่เมื่อราว 60 ล้านปีที่แล้ว เจ้างูยักษ์ตัวนี้น่าจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1 ตัน และยาวกว่า 13 เมตร โดยที่งูสายพันธุ์นี้น่าจะมีน้ำหนักมากสุดได้ถึง 2 ตัน และยาวได้เต็มที่ 15 เมตร
   





   นักบรรพชีวินวิทยาได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับงูยักษ์ชนิดนี้ ว่า "ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส" (Titanoboa cerrejonensis) (อ่านว่า "ty-TAN-o-BO-ah sare-ah-HONE-en-siss") ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซอาโฮน" (titanic boa from Cerrejon) ซึ่งเป็นเมืองที่ค้นพบฟอสซิลดังกล่าวตามที่ระบุในเอพี

ฟอสซิลไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก ที่สุด เท่าที่เคยเจอในแคนาดา ตัวเท่าไก่ตัวเล็กๆ คาดเคยมีชีวิตอยู่บนโลกมาเมื่อ 75 ล้านปีก่อน
   





   ตามรายงานของรอยเตอร์และเอพี นักวิจัยแคนาดาได้ออกมาแถลงว่า พบฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก มีขนาดพอๆ กับไก่ตัวเล็กๆ หนักแค่ 1.8-2.2 กิโลกรัมเท่านั้น โดยพบบริเวณฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ในอัลเบอร์ตาของแคนาดาตะวันตก เชื่อเป็นญาติกับไดโนเสาร์กินเนื้อ "เวโลซิแรปเตอร์" (Velociraptor) โดยเชื่อว่ามีความดุร้ายและกรงเล็บที่ร้ายกาจพอๆ กัน และอาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 75 ล้านปีก่อน



   
   ไดโนเสาร์ที่พบดังกล่าว คือ เฮสเปอร์โอนิชัส (Hesperonychus) ซึ่งชื่อดังกล่าวมีความหมายว่า "กรงเล็บแห่งตะวันตก" ทั้งนี้เชื่อว่านักล่าตัวจิ๋วนี้มีชีวิตอยู่ช่วงปลายยุคครีเตเชียส (cretaceous) วิ่งด้วย 2 ขา กินแมลงหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก หรือสัตว์อื่นๆ ที่สามารถล่าได้

"พีเดเตอร์เอ็กซ์" อสุรกายทะเล

อสุรกายทะเลดัง กล่าว เป็นที่รู้จักในชื่อ "พรีเดเตอร์ เอกซ์" (Predator X) ซึ่งนัก วิทยาศาสตร์ได้พบฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ในแถบอาร์ติกบริเวณหมู่เกาะสวัลบาร์ดของนอร์เวย์ โดยรอยเตอร์ระบุพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออสโล (Natural History Museum of Oslo University) ประกาศว่า ฟอสซิลที่พบดังกล่าว ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลที่มีความยาวถึง 15 เมตรนั้น มีแรงกัดถึง 15 ตันต่อ ตารางนิ้วเลยทีเดียว






มันมีกำลังมากกว่าทีเรกซ์มาก" เจิร์น ฮูรัม (Joern Hurum) อาจารย์ทางด้านบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประจำพิพิธภัณฑ์ และผู้นำการขุดสำรวจซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติเมื่อปี 2551 กล่าว และบอกด้วยว่า พรีเดเตอร์ เอกซ์คือนักล่าบนสุดของห่วงโซ่อาหารทางทะเล ส่วนไทแรนนซอรัส เรกซ์ (Tyrannosaurus Rex) หรือทีเรกซ์ เป็นนักล่าเนื้อลำดับสูงสุดบนบก




ทั้ง นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ประกอบโครงสร้างส่วนหัวของอสุรกายทะเลและประมาณแรงกัด โดยเปรียบเทียบกับขากรรไกรของสัตว์ตระกูลจระเข้ (Alligator) ที่พบในสวนที่ฟลอริดา สหรัฐฯ โดยพิพิธภัณฑ์แถลงว่า การคำนวณพบว่า เป็นแรงกัดมหาศาลที่สุด เท่าที่เคยคำนวณพบในสิ่งมีชีวตใดๆ ซึ่งประมาณแรงกัดครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก เกรก อีริกสัน (Greg Erickson) นักชีววิทยาวิวัฒนาการแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา สเตท (Florida State University) สหรัฐฯ


"ฝนดาวตก" ห่าใหญ่ที่ตกบนโลกเมื่อ 470 ล้านปีก่อน บนชายหาดของเมืองในสก็อตแลนด์ เชื่อมโยงกับหลักฐานอื่นๆ ที่พบทั่วโลก เชื่อเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำในช่วง นั้น



   
   นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน (University of Aberdeen) สหราชอาณาจักร ได้พบเศษซากของดาวตก ที่เล็กยิ่งกว่าเม็ดทรายในก้อนหิน ที่บนบริเวณชายหาดของเคาน์ตีซูเธอร์แลนด์ในสก็อตแลนด์ และการค้นพบดังกล่าวบีบีซีนิวส์ยังรายงานด้วยว่า มีความเชื่อมโยงกับงานวิจัยอื่นๆ ในจีน สหรัฐฯ และออสเตรเลีย และนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อด้วยว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตกครั้งใหญ่ซึ่งเป็นผลจากการชนกันของวัตถุในอวกาศนั้น กระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิด้วย
   




   ทีมวิจัยระบุว่า สิ่งที่พบครั้งนี้เป็นการยืนยันการไตร่ตรองทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้ ที่ชี้ว่าฝนดาวตกครั้งนั้นเป็นฝนดาวตกครั้งใหญ่ที่ตกกระจายไปทั่วโลก โดยเป็นผลเนื่องจาก "การชนกันครั้งใหญ่" ในแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
   
   การศึกษาเศษซากของดาวตกครั้งนี้นำโดย ศ.จอห์น พาร์เนลล์ (Pro.John Parnell) จากคณะธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน และได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยลงวารสารเนเจอร์จีโอไซน์ (Nature Geoscience) ซึ่งเขาได้พบว่าดาวตกที่พบในซูเธอร์แลนด์นั้นเชื่อมโยงกับหลักฐานที่พบใน ส่วนอื่นๆ ของโลก
   
   ศ.พาร์เนลล์กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หาความเชื่อมโยงระหว่างฝนดาวตกและ การเปลี่ยนแปลงของสปีชีส์ในใต้น้ำที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากับที่เกิดฝนดาวตก
   
   "เราทดสอบชิ้นส่วนของก้อนหินโดยละลายในน้ำกรด ซึ่งช่วยให้เราตรวจพบชิ้นส่วนฝนดาวตกที่เล็กเกินกว่าจะมองเห็นได้ด้วยตา เปล่า การค้นพบนี้ยืนยันว่าเมื่อ 470 ล้านปีก่อน เกิดฝนดาวตกครั้งใหญ่ตกกระจายไปทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งที่สก็อตแลนด์ด้วย นับเป็นครั้งแรกที่เราได้พิสูจน์เหตุการณ์ใหญ่ระดับช้าง และพิสูจน์ว่าลักษณะภูมิศาสตร์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนั้นอย่างไร บ้าง" ศ.พาร์เนลล์กล่าว
   
   ขณะเดียวกันนักวิทยาสาสตร์ที่ร่วมศึกษาในครั้งนี้ด้วยได้เสริมว่า งานวิจัยของพวกเขานั้นชี้ให้เห็นว่า อุกกาบาตที่ตกลงมานั้นเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว และการเกิดคลื่นทะเลในรอยต่อของหลายๆ ทวีป โดยข้อมูลที่บันทึกไว้แสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่เกิดขึ้นมาบนโลกในช่วงนั้นมีความหมากหลายมากขึ้นหลัง เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว แต่หลักฐานเชื่อมโยงอื่นๆ ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลักฐานล่าสุดที่ค้นพบก็มีศักยภาพมากพอที่จะชี้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร.

 

ฮอบบิต" ที่พบบนเกาะฟลอเรส อินโดนีเซีย ล่าสุดนักวิจัยสหรัฐฯ พิสูจน์เทียบกับกะโหลกมนุษย์ปัจจุบัน พร้อมยืนยันว่าเป็นมนุษย์สปีชีส์ใหม่ชัวร์ ไม่ใช่โฮโม ซาเปียนส์ แคระแน่นอน
   
   เคียแรน แมคนัลตี (Kieran McNulty) ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมินเนโซตา (University of Minnesota) และทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยสโตนนี บรูค (Stony Brook University) สหรัฐอเมริกา พิสูจน์ฟอสซิลกะโหลกของมนุษย์ฮอบบิต ได้ข้อสรุปที่ยืนยันว่า เป็นมนุษย์สปีชีส์ใหม่ในสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตระกูลคน โดยไซน์เดลีระบุว่า ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ เจอร์นัล ออฟ ฮิวแมน อีโวลูชัน (Journal of Human Evolution)
   
   เมื่อปี 2546 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตในตระกูลคน ในถ้ำบนเกาะฟลอเรส (Flores) ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีสัดส่วนของร่างกายเล็กกว่ามนุษย์ปัจจุบัน และคาดว่าเป็นสปีชีส์ใหม่ จึงเรียกกันว่า "ฮอบบิต" ตามชื่อของมนุษย์อีกเผ่าพันธุ์หนึ่งในเทพนิยายเรื่องดัง และให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “โฮโม ฟลอเรไซเอนซิส” (Homo floresiensis)
   
   อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันนักวิชาการก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่า ฟอสซิลฮอบบิตที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อราว 18,000 ปีก่อน เป็นมนุษย์อีกสปีชีส์หนึ่งที่เพิ่งค้นพบ หรือว่าเป็นเพียงเผ่าพันธุ์ โฮ โม ซาเปียนส์ (Homo sapiens) ที่มีร่างกายแคระแกร็น เพราะขาดสารอาหารกันแน่
   
   ทีมวิจัยของแมคนัลตีใช้หลักการแบบจำลอง 3 มิติ (3D modeling methods) เปรียบเทียบลักษณะหัวกะโหลกของมนุษย์ฮอบบิต กับแบบจำลองกะโหลกของมนุษย์ยุคใหม่ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
   
   "การค้นพบฟอสซิลฮอบบิต ถือเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นที่สุดในรอบ 50 ปี เลยก็ว่าได้ กะโหลกศีรษะของตัวอย่างที่พบ คล้ายกับอะไรบางอย่างที่เสียชีวิตไปตั้งแต่เมื่อประมาณ 1 ล้านปีที่แล้ว ขณะที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็ชวนให้นึกถึงบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อ 3 ล้านปีก่อน ทว่าฮอบบิตเหล่านี้มีชีวิตร่วมยุคสมัยเดียวกับมนุษย์ยุคใหม่มายาวนานก่อนที่ จะสูญพันธุ์ไป" แมคนัลตีอธิบาย



   
   ผลการพิสูจน์ครั้งนี้นักวิจัยสรุปว่า กะโหลกของฮอบบิต เป็นฟอสซิลของมนุษย์สปีชีส์หนึ่งที่มีขนาดเล็ก และไม่ใช่มนุษย์ยุคใหม่ โดยโครงสร้างของฟอสซิลกะโหลกของฮอบบิตจัดเป็นของมนุษย์ที่อยู่ในสกุล โฮ โม (Homo) อย่างแน่นอน แม้ว่าขนาดโครงสร้างและขนาดสมองเล็กกว่าสมาชิกอื่นๆ ที่อยู่ในสกุลเดียวกันก็ตาม ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นหลังจากได้แยกสายวิวัฒนาการออกจาก โฮโม อิเรคตัส (Homo erectus) ไปแล้ว
   
   "ผลการศึกษาครั้งนี้เผยให้เห็นว่าพัฒนาการที่มีขนาดเล็กลงนี่แหละเป็น เหตุผลที่ช่วยอธิบายลักษณะต่างๆ ที่ปรากฏกับฟอสซิลกะโหลกที่พบบนเกาะฟลอเรสได้ และยากที่จะโต้แย้งได้ว่าแท้ที่จริงก็เป็นกะโหลกของมนุษย์ยุคใหม่ที่มีความ ผิดปรกติของร่างกาย" แมคนัลตีเผย


   
   ทั้งนี้ ในขณะที่มีการถกเถียงเกี่ยวกับมนุษย์ฮอบบิตอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปีที่ค้นพบ แมคนัลตีก็เชื่อว่า การวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขนาดและรูปร่างในการ วิวัฒนาการของมนุษย์ เป็นหัวใจสำคัญที่ท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์ฮอบบิตอยู่ ตำแหน่งใดของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของมนุษย์
   
   "ผมคิดว่านักวิชาการส่วนมากให้การยอมรับว่าฮอบบิตเป็นมนุษย์ในสปีชีส์ โฮโม ฟลอเรไซเอนซิส ซึ่งเป็นสปีชีส์ใหม่ เพราะมีหลักฐานที่หนักแน่นมาก และการศึกษาครั้งนี้ก็ช่วยยืนยันได้อีก" แมคนัลตีกล่าว.

 

ย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน ณ พิพิธภัณฑ์ในนครไคโรของอียิปต์ นักธรณีวิทยาอิตาเลียนรายหนึ่งสังเกตเห็นอัญมณีประหลาดที่ประดับอยู่ตรงกลาง ของสร้อยเส้นหนึ่งของฟาโรห์ “ตุตันคาเมน” เมื่อนำไปตรวจสอบพบว่า แท้จริงอัญมณีเม็ดนั้นเป็นแก้ว แต่ปัญหาก็คือ แก้วที่ว่ามีอายุเก่าแก่กว่าอารยธรรมอียิปต์ตอนต้นเสียอีก
   
   วินเซนโซ เดอ มิเชล (Vincenzo de Michele) คือนักธรณีวิทยาอิตาเลียนรายนั้น ได้ร่วมงานอาลี บาราคัต (Aly Barakat) นักธรณีวิทยาอียิปต์ เพื่อค้นหาต้นกำเนิดของอัญมณีปริศนาจนไปพบแก้วแบบนี้กระจัดกระจาย เกลื่อนกลาดในทะเลทรายซาฮาราชนิดที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้ และนั่นนำไปสู่ปริศนาทางวิทยาศาสตร์ว่า “แก้วเหล่านั้นไปอยู่ใน บริเวณดังกล่าวได้อย่างไร”




   
   ล่าสุด รายการฮอไรซัน (BBC Horizon) ของสถานีโทรทัศน์บีบีซีจัดทำสารคดีเกี่ยวกับปริศนาเร้นลับนี้ โดยระบุทฤษฎีใหม่เชื่อมโยงเพชรประหลาดของตุตันคาเมนกับอุกกาบาตที่หล่นลงมา จากนอกโลก
   
   เริ่มจากคริสเตียน โคเบิร์ล (Christian Koeberl) นักเคมีวิทยาดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ตั้งสมมติฐานว่า แก้ว ปริศนาเกิดจากอุณหภูมิที่สูงมากๆ ซึ่งเท่าที่รู้เกิดจากปัจจัยเพียงอย่างเดียวคือ ผลกระทบจากอุกกาบาตต่อโลก อย่างไรก็ดี ไม่มีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตในบริเวณดังกล่าว แม้จากภาพถ่ายดาวเทียม



   
   จอห์น วัสสัน (John Wasson) นักธรณีฟิสิกส์อเมริกันเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกคนที่สนใจต้นกำเนิดของแก้ว ปริศนา ซึ่งเขาคิดว่าน่าจะมีสมมติฐานเดียวกันกับสิ่งที่เกิดในป่าใน ไซบีเรียเมื่อปี 1908 ซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์ตังกัสกา (Tunguska) ที่เกิดระเบิดครั้งใหญ่จนต้นไม้ 80 ล้านต้นในบริเวณนั้นราบเป็นหน้ากลอง
   
   แม้ไม่ปรากฏสัญญาณว่ามีอุกกาบาตวิ่งชนโลก แต่นักวิทยาศาสตร์คิดว่า น่าจะมีวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่งจากนอกโลกระเบิดเหนือตังกัสกา ขณะที่วัสสันสงสัยว่า น่าจะมีการระเบิดในอากาศในลักษณะคล้ายกันกับที่ตังกัสกา ซึ่งรุนแรงมากถึงขนาดที่ทำให้ทรายในทะเลทรายอียิปต์กลายสภาพเป็นแก้ว
   
   การระเบิดของระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ถูกนำไปทดสอบในนิวเม็กซิโกเมื่อปี 1945 ทำให้เกิดชั้นแก้วบางๆ บนผืนทราย แต่บริเวณที่กลายเป็นแก้วในทะเลทรายอียิปต์กินบริเวณกว้างขวางกว่า ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสถานที่ดังกล่าว ที่แน่ๆ สิ่งนั้นย่อมมีอานุภาพรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณู
   
   ไม่มีใครเคยได้ยินเรื่องการระเบิดกลางอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มีความรุนแรงถึงระดับนั้นจนกระทั่งปี 1994 เมื่อนักวิทยาศาสตร์จับตาดูดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี (Shoemaker-Levy) ชนกับดาวพฤหัสบดีและเกิดระเบิดในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ซึ่งกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิลเก็บภาพลูกไฟสว่างเจิดจ้าชนิดที่ไม่เคยเห็นมา ก่อนพุ่งขึ้นเหนือเส้นขอบฟ้าของดาวดวงดังกล่าว

 

Credit: http://atcloud.com/stories/70072
#เก่าแก่
Messenger56
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
25 พ.ค. 53 เวลา 22:34 10,494 9 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...