เรียบเรียงโดย Clipmass.com
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทหารอังกฤษกว่า 50,000 นายถูกจับตัวไปเป็นเชลยศึกในค่าบกักกันแรงงานของญี่ปุ่นในเอเชีย และมีทหารจำนวนกว่า 1 ใน 4 ของทั้งหมดต้องเสียชีวิตลงในค่ายกักกัน เนื่องจากการขาดแคลนอาหาร โรคภัย รวมถึงการถูกบังคับใช้แรงงานอย่างทารุณ
และหลังจากเชลยศึกเหล่านั้นถูกทรมานอย่างทารุณผ่านไป 3 ปีกว่า พวกเขาก็สามารถเอาชีวิตรอดเดินทางกลับมายังบ้านเกิดได้ ทำให้เกิดคำถามและข้อสงสัยขึ้นว่า เชลยศึกเหล่านี้สามารถรอดชีวิตจากความโหดร้ายมาได้อย่างไร...?
โดยร้อยโท เอ็ม อี บาร์เร็ตต์ หนึ่งในเชลยศึกที่สามารถรอดชีวิตมาได้ในค่ายกักกันที่ช่องไก่ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย ได้บันทึกความยากลำบากไว้ว่า เชลยศึกได้กินข้าววันละไม่เกิน 1 ถ้วย จนหลายคนขาดสารอาหารอย่างรุนแรงถึงตาบอด และปวดเส้นประสาท นอกจากนี้ยังมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นโรคมาลาเรีย โรคบิด และโรคท้องร่วง ทั้งยังถูกบังคับให้ทำงานอย่างหนักจนแผลเกิดการติดเชื้อ
และสาเหตุที่ทำให้เชลยศึกส่วนหนึ่งสามารถรอดชีวิตมาได้ เพราะพวกเขาเหล่านั้นอาศัยความสัมพันธ์และสามัคคีแบบพี่น้องกันอย่างเหนียวแน่น ด้วยการแบ่งภาระ แบ่งงานกันทำ รวมทั้งแบ่งปันอาหารกัน และคอยช่วยกันดูแลผู้ที่ป่วยอีกด้วย โดยอาศัยคนที่มีความรู้ช่วยประดิษฐ์เครื่องมือทางการแพทยืเพื่อรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วย
หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม เชลยศึกชาวอังกฤษต้องรอกองกำลังสัมพันธมิตรมาช่วยนานกว่า 5 สัปดาห์ จึงได้เดินทางกลับบ้านเกิดในฐานะวีรบุรุษ หลังจากนั้นอังกฤษก็ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอยข้าวยากหมากแพง แต่เชลยศึกที่รอดชีวิตมาได้ก็ยังคงสานสัมพันธ์อยู่เช่นเดิม โดยจัดตั้งสมาคมขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกัน...
ข้อมูลและภาพประกอบจาก "BBC"