ศิลปะ การต่อสู้นานาชาติ

กังฟู (?? g?ngfu) มักนิยมใช้กล่าวถึงศิลปะการต่อสู้ของจีนแต่ความจริงคำว่ากังฟู มีความหมายว่าระดับฝีมือ หรือผู้เชี่ยวชาญ (ไม่เฉพาะในการต่อสู้) แต่ผู้คนเข้าใจกันว่าเป็นวิทยายุทธ ซึ่งวิทยายุทธนั้นเรียกว่า วูซู

คำว่ากังฟูในภาษาอังกฤษเรียกว่า Kungfu หรือ MartialArts ซึ่ง ในภาษาจีนก็หมายถึงวิทยายุทธ์ที่มีความเป็นมาอันยาวนานถึงพันกว่าปี และวิธีออกกำลังกายประเภทต่างๆที่สามารถทำให้สุขภาพแข็งแรง ซึ่งได้รวมเพลงมวย และการใช้อุปกรณ์กังฟูพื้นฐานต่างๆ ตามสถิติจากผู้เชี่ยวชาญ เพลงมวยจีนมีกว่าร้อยชนิด และมีอุปกรณ์การเล่นกังฟูที่มีลักษณะเป็นทรงยาว9ชนิด และทรงสั้นอีก9ชนิด ซึ่งก็คือ"อุปกรณ์18อย่าง"ที่คนจีนพูดถึงบ่อยๆ ซึ่งรวมถึงมีด ปืน ดาบ และไม้เป็นต้นทั้งหมด18ชนิดด้วยกัน เพลงมวยและอุปกรณ์แต่ละชนิดในกังฟูจีนต่างก็ีมีวิธีและลีลาท่าทางการเล่นที่ แตกต่างกัน โดยมีทฤษฎีและเทคนิคการเล่นที่ลึกซึ้งมากและมีประวัติยาวนาน

 


 

กังฟูจีนมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากกีฬาธรรมดาๆทั่วไป กีฬาธรรมดาๆเ่ช่น การเล่นบอลล์ การยกน้ำหนัก การชกมวยเป็นต้น นักกีฬาที่เล่นกีฬาเหล่านี้เมื่ออายุถึงวัย30เศษก็ต้องลาจากเวทีกีฬาเนื่องจากสุขภาพร่างกายสู้ไม่ไหว ยิ่งหลังจากย่างเข้าสู่วัยกลางคนเข้าไปด้วยแรง ส่วนมากมักจะได้รับผลกระทบจากการเล่นกีฬาซึ่งหักโหมเกินไปในสมัยเด็กหรือ เยาวชน จนทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บโดยไม่รู้สึกตัว แต่สำหรับกังฟูจีนเป็นกังฟูภายในและกังฟูภายนอก ดังคำที่มักพูดกันว่า"ภายนอกจะช่วยฝึกร่างกายและผิวพรรณ




ส่วนภาย ในจะฝึกจิตใจและพลังงานให้แจ่มใสแข็งแรงยิ่งขึ้น" นอกจากสามารถฝึกสุขภาพให้แข็งแรงสมองว่องไวแล้ว ยังสามารถบำรุงสุขภาพ ทำให้อายุยืน เสริมให้ปอดและอวัยวะต่างๆแข็งแรงขึ้น ทำให้หลอดลมใหญ่และเส้นเลือดไหลเวียนคล่องขึ้นด้วย

 

Capoeira

คาโปเอร่านั้นเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มี ประวัติยาว นานมากกว่า 500 ปี โดยเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา เป็นการเลียนแบบท่าทางการต่อสู้ของม้าลาย เนื่องจากไม่ค่อยมีหลักฐานที่แน่ชัดนักสำหรับจุดเริ่มต้นของคาโปเอร่า แต่คนส่วนใหญ่จะเชื่อถือตามทฤษฎีต่อไปนี้ ประมาณคริสต์ศักราช 1500 เป็นช่วงที่ชาวโปรตุเกสปกครองประเทศ บราซิล ในยุคแรกๆ ชาวโปรตุเกสได้เริ่มทำการพัฒนาประเทศโดยการเพาะปลูก โดยใช้คนพื้นเมืองของบราซิลแต่ว่าคนพื้นเมืองของบราซิลค่อนข้างที่จะอ่อนแอ และตายง่าย ส่วนที่เหลือก็หลบหนีไปที่เมืองอื่นๆ หมด ชาวโปรตุเกสจึงตัดสินใจจับชาวแอฟริกา
มาใช้งานเยี่ยงทาส



  ชาวแอฟริกันจำนวนมากถูกนำตัวมายังประเทศบราซิล (ประมาณ 4 ล้านคน) สิ่งที่ทาสเหล่านั้นได้นำติดตัวมาด้วยก็คือ วัฒนธรรม ซึ่งฝังอยู่ในร่างกาย จิตใจและวิญญาณของเค้าเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้ได้สืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งมาเป็นเวลานาน เหล่าทาสได้ถูกแบ่งออกไปเป็นกลุ่มๆ เพื่อที่แยกย้ายกันไปทำงานในที่ต่างๆ ในทาสกลุ่มนี้จะมีคนจากหลายพื้นที่และต่างวัฒนธรรมมารวมกัน หลังจากที่ทาสเหล่านี้อยู่ด้วยกันต่างคนต่างแลกเปลี่ยนและซึมซาบวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน จากจุดนี้ทำให้สามารถบอกได้ว่า คาโปเอร่า เกิดจากวัฒนธรรมหลายๆ อย่างผสมผสานกัน และในบางทฤษฎีจะกล่าวไว้ว่า คาโปเอร่า มาจากประเทศ Angola

ในทวีปแอฟริกา ในทุกๆ ปีจะมีการจัด อุงโกโล่ (Dance of the zebra) หรือที่แปลว่า การเต้นรำของม้าลาย ถือว่าเป็น คาโปเอร่า ที่เก่าแก่ที่สุด เป็นวันที่คนหนุ่ม ๆ จะมาโชว์ความสามารถกันว่าใครแข็งแรง เร็ว และเก่งกว่ากัน โดยผู้ที่ชนะจะได้แต่งงานกับผู้หญิงในเผ่าเป็นรางวัล เนื่องจากความรักการเป็นอิสระ จึงทำให้เหล่าทาสบางกลุ่มเริ่มทำการหลบหนี พวกที่หนีได้สำเร็จจะหนีขึ้นไปอยู่บนภูเขาและสร้างกลุ่มชุมชนเล็กๆ ขึ้นมา และในกลุ่มชุมชนเล็ก ๆ นี้เอง คาโปเอร่าได้เริ่มก่อตัวและพัฒนาเพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัว จากทหารชาวโปรตุเกส ทาสบางคนที่หนีไปได้กลับลงมายังกลุ่มทาสที่ยังถูกใช้งานอยู่และเริ่มสอนคาโป เอร่าให้กับคนอื่นๆ โดยที่จะฝึกหัดกันในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดพักของทาส แต่เนื่องจากทาสนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ฝึกศิลปะป้องกันตัว การฝึกจึงถูกแต่งเติมไปด้วยการเต้น ดนตรี ร้องเพลง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวแอฟริกันอยู่แล้ว เพื่อที่จะใช้บังหน้าจากการฝึกคาโปเอร่าจริงๆ
 



  ต่อมาหลังจากมีการเลิกทาส ชาวแอฟริกันบางส่วนเดินทางกลับ แต่บางส่วนยังคงอาศัยอยู่ในบราซิล แต่เนื่องด้วยไม่มีงานทำมากนัก จึงทำให้หลายกลุ่มกลายเป็นอันธพาล สำหรับคนที่เก่งมาก ๆ จะถูกว่าจ้างให้เป็นบอดี้การ์ดให้กับนักการเมือง โดยจะใส่สูทสีขาว ใส่หมวก ลักษณะเหมือนมาเฟีย (โดยในการต่อสู้แต่ละครั้งจะมีการใช้อาวุธต่างๆและที่โดดเด่นมากก็คือจะมี การติดใบมีดไว้ที่เท้า การเตะแต่ละครั้งจะเล็งไปที่ลูกกระเดือกของคู่ต่อสู้) ตอนนั้นถือว่าเป็นยุคมืดของคาโปเอร่า

ประเภทของท่า

  ท่วงท่าของคาโปเอร่าเกิดจากการผสมผสานของการเตะ ศอก เข่า ตีลังกา และการหลอกล่อคู่ต่อสู้ นอกจากนั้น ก็ยังมีท่วงท่าอื่นๆ อีก ซึ่งผู้เล่นสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ รูปแบบของคาโปเอร่าแบ่ง ได้เป็น 2 ประเภท คือ รูปแบบที่ใช้ในการต่อสู้จริง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการต่อสู้แบบอื่นๆ คือมีการปะทะกัน และอีกรูปแบบหนึ่งก็คือที่ใช้ในการเล่น โดยในลักษณะนี้จะไม่มีการ ปะทะกันโดยตรง การเล่นนั้น จะอยู่ในลักษณะของความลื่นไหลและสอดคล้องของท่วงท่า อีกทั้งยังมีดนตรีประกอบเพิ่มความสนุกสนาน ท่วงท่าของคาโปเอร่าซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. จิง ก้า (Ginga) คือพื้นฐานของคาโปเอร่าถ้าเปรียบเทียบกับศิลปะการ ต่อสู้ชนิดอื่น ๆ ก็คือ การเต้น Footwork นั่นเอง ในหมวดนี้ยังรวมไปถึง ท่าการเตะในรูปแบบต่าง ๆ ท่า Ginga นี้เอง ที่ทำให้คาปูเอร่ะ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากศิลปะการต่อสู้ประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด

2. อาอู (Au) คือ การเคลื่อนไหวแบบกลับหัวกลับหาง อาทิเช่น การทำล้อเกวียน การกระโดดตีลังกา รวมไปถึงการทำท่ากลางอากาศอื่น ๆ ด้วย

3. เนกาชิว่า (Negativa) คือการทำท่าเคลื่อนไหวโดยที่ร่างกายส่วนใหญ่อยู่ใกล้ กับพื้น ท่าเคลื่อนไหวในหมวดนี้ ทำให้ผู้ฝึกสามารถเคลื่อนไหวในขณะที่ตัวเองล้มหรืออยู่กับพื้นได้รวดเร็ว ขึ้น ในขณะเดียวกันเป็นทั้งการหลบ และโจมตีกลับอีกด้วย

 

มวยไทย (MuayThai)



มวยไทย เป็นการต่อสู้ของคนไทยที่มีมานานหลายร้อยปี มีบางคนกล่าวว่า มวยไทยเป็น ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด คือ สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า



มวยไทย จะมีทั้งศาสตร์การป้องกันและการรุก ... การป้องกัน ก็คือ การยืนที่มั่นคงไม่ล้มง่าย การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย) และการเก็บคาง ซึ่งการป้องกันนี้จะเปรียบเสมือนป้อมปราการที่มั่นคง มีโอกาสบาดเจ็บน้อย แต่พร้อมที่จะโจมตีตอบโต้ได้ทุกเวลา ส่วนการรุก ก็คือ การใช้แม่ไม้มวยไทยและลูกไม้มวยไทยต่างๆ ที่เคลื่อนไหวอย่างเด็ดขาดรุนแรงและสง่างาม อาวุธมวยจะมีทั้งการต่อสู้ระยะไกล(วงนอก) และการต่อสู้ระยะประชิด(วงใน) การออกอาวุธมวยจะมีทั้งมีเป้าหมายที่แน่นอน การซ่อนกลลวง และมีทั้งการข่มขวัญเอาไว้

แม่ไม้มวยไทย มีทั้งหมด 15 ไม้ มีชื่อไพเราะดังนี้

....สลับ ฟันปลา ...ปักษาแหวกรัง ….ชวาซัดหอก … อิเหนาแทงกริช …..ยอเขาพระสุเมรุ ……ตาเถรค้ำฝัก ….มอญยันหลัก ….ปักลูกทอย …..จระเข้ฟาดหาง …..หักงวงไอยรา …..นาคาบิดหาง …..วิรุฬหกกลับ …. ดับชวาลา ….. ขุนยักษ์จับลิง ….. หักคอเอราวัณ

ลูกไม้มวยไทย จะมีทั้งลูกผสมและลูกแยก เพื่อใช้ล่อหลอกและเผด็จศึกคู่ต่อสู้

เช่น ...แตะตรงเตะ แตะถีบเตะ แตะตรงถีบเตะ ....หรือลูกเตะสลับ เตะช้อน เตะตวัด เตะสูง เตะสวาบ เตะพับนอก เตะพับใน เตะคา ....หรือลูกถีบหน้า ถีบหลัง ถีบจิก ....หรือลูกศอกตี ศอกตัด ศอกงัด ศอกพุ่ง ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ ...หรือลูกเข่าน้อย เข่าลา เข่าโค้ง เข่าตี เข่ากระทุ้ง เข่าลอย เข่าแหลม เข่าคา ....หรือลูกหมัดหน้า หมัดหลัง หมัดลัก หมัดอ้อม หมัดเกี่ยว หมัดสอย หมัดเสย หมัดซ้ำ หมัดหนึ่งสอง หมัดชุดสามเหลี่ยม เป็นต้น



มวยไทยจะใช้ทั้งหมัด ศอก เข่า และเท้า


เชิงหมัด
หากเป็นเชิงหมัด มวยไทยจะมี 15 เชิง
........กาจิก ไข่ …พระพรายล้มสิงขร …วานร หักด่าน ….พระกาฬเปิดโลก ….โขก นาสา .....อินทราขว้างจักร …พระลักษณ์ห้ามพล ….ผจญช้างสาร …หนุมานถวายแหวน ….ล่วงแดนเหรา …..นาคาพ่นไฟกาฬ …..หักด่านล่มกรด …..องคตพระขรรค์ …..ฤาษีลืมญาณ ….หนุมานจองถนน


เชิงศอก
หากเป็นเชิงศอก มวยไทยจะมี 24 เชิง
….พุ่งหอก …ศอกฝานหน้า …พร้ายายแก่ …แง่ลูกคาง …ถางป่า ….ฟ้าลั่น …..ยันพยัคฆ์ …..จักรนารายณ์ …..ทรายเหลียวหลัง …..กวางสบัดหน้า ….คชาตกมัน ….พสุธาสะท้าน ….ยันโยธี …..อัคคีส่องแสง …..กำแพงภูผา …..นาคาคาบหาง.…ช้างประสานงา …สู่แดนนาคา ….โยธาเคลื่อนทัพ ….ยันสองกร ….ฆ้อนตีทั่ง …..ขว้างพสุธา …..ฤาษีบดยา ……นาคาเคลื่อนกาย

 


เชิงเข่า
หากเป็นเชิงเข่า มวยไทยจะมี 11 เชิง
……กุมภัณฑ์พุ่งหอก …..หยอกนาง ……เชยคาง ……พรางศัตรู ……งูไล่ตุ๊กแก ……ตาแก่ตีชุด …….หยุดโยธา …….ภูผาสะท้าน ……หักคอช้างเอราวัณ ……ดั้นภูผา ….ศิลากระทบ

เชิงเท้า
และหากเป็นเชิงเท้า มวยไทยจะมี 15 เชิง
……เปิดทวาร …..ลงดานประตู …..กระทู้ขรัวตา ……โยธาสินธพ ……มานพเล่นขา …..มัจฉาเล่นหาง …..กวางเล่นโป่ง …..ณรงค์พยุหบาท …..จระเข้ฟาดหาง …..กินรีเล่นน้ำ …..ตามด้วยแข้ง …..แปลงอินทรีย์ ….พาชีสะบัดย่าง……นางสลับบาท ……กวาดธรณี



กลมวยไทย

ยิ่งกว่านั้น มวยไทยยังมี กลมวยไทย
แก้ หมัด 29 กล, กลมวยไทย
แก้ศอก 4 กล, กลมวยไทย
แก้เข่า 3 กล,
และแก้เท้าอีก 23 กล

ยูโด

ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัว ประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้ เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo)



เดิมที เดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชา ที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการ ทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า ตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ


จากการที่อยู่อาศัยบน เกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอ จังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่ความทารุณโหดร้าย นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด




และมี ความชำนาญมาก เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และยูยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยูยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในสมัยนั้น

 

 

เทควันโด

เป็น ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่กำเนิดขึ้นในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) มากว่า 2,000 ปีแล้ว โดยเริ่มต้นมาจากการพัฒนาวิชาศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของชาติต่าง ๆ  ทั้งโรมัน จีน เกาหลี และอินเดีย 

   

ภายหลังจากที่ประเทศเกาหลีได้รับการประกาศเอกราชจากการ ปกครองของประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาว เกาหลีได้เริ่มพัฒนาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาติขึ้น ปรมาจารย์ ซองคุกดี แห่งสำนักเทคคิวโด (Teakkwondo) ได้แสดงสาธิตศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเทควันโดต่อหน้า ประธานาธิบดี ยังแมนลี (Syng Man Lee) แห่ง สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของปรมาจารย์ ซองคุกดี การสาธิตในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างวิชาศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวเทควันโดกับคาราเต้ของญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนับเป็นการจุดประกายให้ศิลปะการต่อสู้แบบเทควันโดเป็นที่รับรู้ของ สาธารณชนเป็นครั้งแรก ต่อมาจึงได้มีการเปิดโรงฝึกวิชาเทควันโดไปทั่วประเทศ และภายหลังจากสงครามเกาหลี (ค.ศ.1950-1953 หรือ พ.ศ. 2493-2496) วิชาเทควันโดได้ รับความนิยมไปทั่วประเทศ



   ในปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) ได้มีการก่อตั้งองค์กรพิเศษขึ้น คือ “ องค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ” เพื่อทำหน้าที่ในการเผยแพร่ และควบคุมการสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเทควันโดให้แก่สาธารณชน โดยเป็นองค์กรทางทหารที่สมาชิกมีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าได้รวมตัวกัน โดยมี นายพล Choi Hong Hi เป็นผู้ก่อตั้ง และใช้ชื่อเรียกศิลปะการต่อสู้นี้ว่า เทควันโด (Taekwondo) มีการผลิตและส่งผู้เชี่ยวชาญวิชาเทควันโดออกเผย แพร่ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประเภทนี้ไปทั่วโลกกว่า 2,000 คน ในกว่า 100 ประเทศ



 จากนั้นในปี ค.ศ. 1971 มีการเสนอให้วิชาศิลปะการต่อสู้ป้องกันเทควันโดเป็นศิลปะการ ต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติเกาหลี ตามมาด้วยการก่อตั้งศูนย์เทควันโดแห่งชาติ ที่เป็นศูนย์กลาง และเป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเทควันโดโลก คือ KUKKIWON ตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงโซล ได้ใช้เป็นศูนย์กลางในการฝึก การแข่งขัน การบริหาร และการเผยแพร่วิชาเทควันโดจนถึงปัจจุบัน

 

วูซู

เป็น ศิลปะแห่งวิทยายุทธ มีลักษณะท่าต่อสู้เป็นส่วนประกอบหลักและมีรูปแบบยุทธลีลาเป็นแม่แบบในการ ต่อสู้ป้องกันตัว โดยมีหลักสูตรแห่งสมาธิในการกำหนดพลังยุทธทั้งภายในและภายนอก

 

โววีนัม VOVINAM
ศิลปะการต่อสู้โลกที่ 3


เอ่ยถึง เวียดนาม หลายคนเป็นต้องนึกถึงอาหารเวียดนาม แต่จะมีสักกี่คนที่นึกถึงศิลปะป้องกันตัวของเวียดนามที่กำลังได้รับความนิยม แพร่หลายอยู่ในต่างประเทศ แต่บ้านใกล้เรือนเคียงอย่างเรายังแทบไม่เคยมีใครได้ยินชื่อ
 



โววีนัม (Vovinam) คือ ชื่อของกีฬาชนิดนี้ ซึ่ง Wikipedia ได้อธิบายความ หมายตรงตัวว่า Vo หมายถึง ศิลปะป้องกันตัว ส่วน Vinam หมายถึงเวียดนาม อันเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ได้มีการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1938 โดย มาสเตอร์ เหวง ลอค ผู้คิดค้นศาสตร์ชนิดนี้ขึ้นมาภายใต้ความกดดันจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มายาวนานกว่าร้อยปี เขาจึงคิดว่าในการสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ จะต้องส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง รู้จักเรียนรู้ที่จะป้องกันตัว และดูแลตัวเองให้สมดุล คือ ทั้งอ่อนและแข็งผสมกันคล้ายกับความเชื่อเรื่องยิน-หยาง


 


จากนั้น ศิลปะป้องกันตัวอันเกิดจากการศึกษาทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ สุขภาพ ศาสนาและปรัชญาของมาสเตอร์เหวง ลอค ก็ผสมผสานกันจนกลายมาเป็นโววีนัม และได้แพร่หลายไปทั่วโลกเริ่มจากฝรั่งเศส เยอรมนี และอีกหลายประเทศในยุโรป ไปจนถึงอเมริกา ออสเตรเลีย ที่ต่างก็มีสมาคมโววีนัมของตัวเอง และล่าสุดกีฬาชนิดนี้ก็ยังจะได้รับการบรรจุเป็นครั้งแรกในการแข่งขันอาเซียน อินเดอร์เกมส์ที่เวียดนามในปี 2009 ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของนักกีฬา เพื่อเข้าแข่งขันในอนาคตอันใกล้นี้
 

“กีฬาชนิดนี้มีความน่าสนใจตรงที่มันเป็นการผสมผสานกันของกีฬาหลาก หลายชนิด มีความใกล้เคียงทั้งเทควันโด มวยไทย มวยจีน แล้วยังมีคนบอกว่าคล้ายกับวูซู เพราะมีการรำดาบ ทวน กระบอง หรือการใช้ร่มเพื่อเป็นการป้องกันตัวสำหรับผู้หญิง” ปราโมทย์ สุขสถิตย์ วัย 30 ปี อดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติ ผู้ผันตัวเองมาบุกเบิกกีฬาชนิดนี้ บอกถึงที่มาและความแตกต่างของโววีนัม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะการป้องกันตัวอันหลากหลายในแถบเอเชีย

 

Credit: http://atcloud.com/stories/72478
#ต่อสู้
Messenger56
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
24 พ.ค. 53 เวลา 22:30 16,299 16 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...