" ปลิงทะเลกับคนเจ้าอารมณ์ "
มารู้จักปลิงทะเลกันก่อนนะค่ะ
ปลิงทะเล (sea
cucumber)เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิด
หนึ่งที่
อยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์มซึ่งอยู่ในตระกูลเดียว
กับแมงป่อง,
แมงมุมยักษ์,ปลาดาว,หอยเม่น
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่าง
กลมยาว
คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่
ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและก้น ผิวหนังส่วนนอก
คล้าย
เนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไป
ตาม
ผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้า
ที่
ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว
ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้น
ไม้
ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตม
หน้า
ดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือ
จะ
ถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง
ก้นของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย
หายใจ
เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสาร
พิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อย
ออกทางผิวหนัง
ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำ
ปลิง
ทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามาก
จน
ทำให้ปลาตายได้ ถิ่น
อาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลน
ใน
อ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความ
ยาว
ประมาณ 30–40 ซม. ประโยชน์ เนื้อ
ปลิงใช้ปรุงอาหารได้
คนเจ้าอารมณ์
เปรียบเหมือนปลิงทะเล มีปฏิกิริยากับผู้บุกรุก พ่นพิษ
ใส่
ศัตรุ้แล้วอยู่นิ่ง ทำตามสัญชาตญาณ ไม่ได้ใช่ความคิดเพื่อแก้ไข
ไตร่ตรอง
เหตุผล..
เปรียบได้กับคนที่ใช้แต่อารมณ์ในการ
ตัดสิน เมื่อไม่พอใจ ก็โมโหใส่
หงุดหงิด งุงิ ตลอด ทำอะไรไม่เคยจะถูกใจ..
" คนเค้าก็เสียใจเป็นนาเฟร๊ย.."
คุณค่าทางอาหารของ ปลิงทะเล มีโปรตีนประมาณ 10-12% ความชื้น 70-80% ไขมัน
0.002-0.04% และเนื้อปลิงทะเลยังมีสารมิวโคโปรตีนที่มี Chondroitin sulfurie acid คาดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ โดยการช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี
นัก วิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่า ในเนื้อปลิงทะเล Stichopus japonicus มีมิวโค โปรตีน (mucoprotein) ปริมาณ สูงซึ่งมิวโคโปรตีนนั้น มีคอนดรอยติน ซัลฟุริค แอซิด (Chondroitin - sulfuric acid) อยู่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และจากการศึกษาในผู้สูง อายุยังพบว่า การที่กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้นั้น เนื่องจากปริมาณของคอนดรอยติน ซัลฟุริค แอซิด ลดลง ดังนั้นจึงอาจใช้เรื่องนี้เป็นเหตุผลอธิบายการที่ชาวจีนนิยมรับประทาน ปลิงทะเลกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คอนดรอยติน ซัลฟุริค แอซิด ตามธรรมชาติมักอยู่ในสภาพมิวโคโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น กระดูก อ่อน เอ็น และของเหลวที่หล่อลื่นตามข้อต่าง ๆ ดังนั้น การรับประทานปลิงทะเลก็นับว่าให้ ประโยชน์แก่ร่างกายได้เช่นกัน
วารสาร วิทยาศาสตร์ PLoS Pathogens รายงานผลงานการศึกษาของทีมนักวิจัยนานาชาติ ซึ่งนำทีมโดยศาสตราจารย์บ็อบ ซินเดน แห่งอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน พบสิ่งที่อาจนำไปสู่การต่อสู้กับโรคร้ายอย่างมาลาเรียได้ในอนาคต โดยนักวิจัยพบว่าปลิงทะเลอาจเป็นเครื่องมือช่วยสกัดกั้นการติดต่อของปรสิต ของโรคมาลาเรียได้ เนื่องจากปลิงทะเลผลิตโปรตีนที่มีชื่อเรียกว่า เลคติน (lectin) ที่สามารถทำลายพัฒนาการของปรสิตก่อโรคที่อยู่ภายในกระเพาะของยุงได้
ที่ผ่านมานักวิจัยได้ทดลองดัดแปลงยีนของยุงที่มีปรสิตโรคมาลาเรีย เพื่อให้สามารถผลิตโปรตีนชนิดเดียวกันในกระเพาะได้แล้วในยามที่มันกินอาหาร โดยนักวิจัยได้รวมชิ้นส่วนของยีนที่ผลิตโปรตีนดังกล่าวจากปลิงทะเลเข้ากับ ยีนชนิดหนึ่งของยุง ซึ่งพบว่าเทคนิคนี้สามารถใช้ได้ผลดี สามารถยับยั้งปรสิตที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียได้หลากชนิด
ทั้งนี้ เลคตินทำให้เกิดพิษในปรสิตที่ยังอยู่ในระยะแรกเริ่มของการพัฒนา (ookinete) ซึ่งโดยปรกติปรสิตในระยะนี้จะอยู่แพร่กระจายไปทั่วบริเวณผนังกระเพาะอาหาร ของยุง ก่อนแพร่พันธุ์เพื่อรุกเข้าสู่ต่อมน้ำลาย และติดต่อมนุษย์เมื่อยุงดูดเลือดเป็นอาหาร แต่ในการศึกษาพบว่า ตัวอ่อนของปรสิตสามารถกำจัดด้วยเลคตินได้ก่อนที่มันจะแพร่โรคร้าย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยอมรับว่ายังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก กว่าจะนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้
รายงานการศึกษาใหม่นี้มีขึ้นไม่นานหลังจากนักวิจัยของสถาบันวิจัยการแพทย์ แห่งชาติในอังกฤษเช่นเดียวกันที่ศึกษาพบโปรตีนตัวหนึ่งที่อาจช่วยต่อสู้กับ ปรสิตมาลาเรียได้ โดยโปรตีนดังกล่าวที่มีชื่อเรียกว่า PfSUB1 enzyme ช่วยให้ปรสิตที่แพร่พันธุ์อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงหลุดออกจากเซลล์เม็ดเลือด แดงเพื่อไปรุกล้ำเข้าสู่เซลล์ใกล้เคียงอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นหากยับยั้งโปรตีนดังกล่าวได้ก็เท่ากับเป็นการตัดตอนการแพร่กระจายของ ปรสิตได้อีกทางหนึ่ง การค้นพบนี้เป็นความหวังว่าจะนำไปสู่การพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่อีกชนิด หนึ่งด้วย
อนึ่ง โรคมาลาเรียเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรงแก่ประชาชนประมาณ 500 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี และทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 ล้านคน และยังเป็นที่คาดการณ์ว่าประชาชนทั่วโลกราว 40% มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว
ที่มา
ข้อมูลจาก : โลกวันนี้
ภาพประกอบ : www.thaihealth.or.th
ปลิงทะเล ขาห่านน้ำแดง....
ปลิงทะเล ตุ๋นยาจีน...