เปิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่ ก็อปรูปจากเน็ตไม่ให้เครดิต มีความผิด !

        พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว วันนี้ (4 สิงหาคม) เผยโทษหนักสุด คือ ปรับ 800,00 บาท หรือจำคุก 4 ปี

        วันที่ 4 สิงหาคม 2558 นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวถึงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 (การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (4 สิงหาคม)

        สำหรับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่ มีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกประเภท ทั้งเรื่องบทความ, หนังสือ, ซอฟต์แวร์, เพลง, รูปภาพ, ภาพวาด, ภาพข่าว รวมถึงภาพยนต์ และป้องกันผู้ที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากงานนั้น ซึ่งใน พรบ. ลิขสิทธิ์เดิม ไม่ได้ระบุโทษชัดเจนสำหรับพฤติกรรมความผิดการละเมิดทางอินเทอร์เน็ต แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ กำหนดโทษไว้อย่างชัดเจน

ส่วนบทลงโทษผู้กระทำผิดโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้

-กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษปรับ 20,000-200,000 บาท

-กรณีใช้เพื่อการค้า มีโทษปรับ 100,000-800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

-กรณีละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มีโทษปรับ 10,000-100,000 บาท ใช้เพื่อการค้า มีโทษปรับ 50,000-400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือนถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

-กรณีรายการเล่าข่าวหรือการทำวิจัย กฎหมายมีข้อยกเว้นอนุญาตให้เผยแพร่ซ้ำได้ แต่จะต้องนำไปใช้เพียงบางส่วนและต้องระบุให้เครดิตกับเจ้าของสิทธิ์ด้วย

         นางมาลี กล่าวต่อว่า ในกรณีที่ผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก นำภาพหรือวิดีโอ ที่ได้จากการค้นหาใน google หรือ บริการเว็ปไซต์ค้นหาอื่น ๆ แล้วนำมาตัดชื่อเครดิตออก เพื่อแอบอ้างเป็นผลงานของตนเอง หรือนำภาพหรือคลิปวิดีโอไปใช้ในทางการค้า เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถฟ้องร้องผู้แอบอ้างได้ แต่หากป็นกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งนำภาพที่ได้จากการค้นหา ใน google หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ไปโพสต์ต่อ โดยยังให้เครดิต กรณีนี้ถือว่าไม่มีความผิด ส่วนกรณีที่เป็นนิติบุคคล อาจจะมีความผิดข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จึงควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนจะนำภาพไปใช้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก http://www.tnamcot.com/content/250226

 

 

Credit: http://hilight.kapook.com/view/124327
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...