พุทธศักราช ๒๑๗๒-๒๑๘๐ พระเจ้าฝางอุดมสิน ทรงพระนามเดิมว่า "พระยาเชียงแสน" เป็น ราชบุตรของเจ้าเมืองเชียงแสน ได้เสด็จมาทรงปกครองเป็นเจ้าเมืองฝาง ในปี พ.ศ. ๒๑๗๒ ศักราชได้ ๙๙๐ ตัว เดือน ๘ เหนือ แรม ๑๓ ค่ำ พร้อมด้วยพระชายา ซึ่งมีพระนามว่า "พระนางสามผิว" เป็นพระราชบุตรีของ เจ้าเมืองล้านช้าง (เมืองเวียงจันทน์) ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศว่า พระองค์ทรงมีผิวพระวรกายถึงสามผิว กล่าวคือในตอนเช้าจะมีผิวสีชาวดุจปุยฝ้าย ในตอนบ่ายจะมีผิวสีแดงดั่งลูกตำลึงสุก และในตอนเย็นผิวพระวรกายจะเป็นสีชมพูเรื่อ ประหนึ่งดอกปุณฑริกาทั้งสองพระองค์ทรงปกครองเมืองฝางอยู่นั้น เมืองฝางอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของพม่า ทำให้พระเข้าฝางอุดมสินทรงมีพระราชดำริ ที่จะกอบกู้เอกราชเมืองฝางคืนจากพม่า โดยได้ซ่องสุมฝึกซ้อมกำลังพล ตระเตรียมอาวุธและเสบียงกรังไม่ยอมส่งส่วย ทั้งยังฝ่าฝืนและขัดคำสั่งของพม่า จนความทราบถึงเมืองพม่าว่าเมืองฝางคิดจะแข็งเมือง ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น"พระเจ้าภวะมังทาสุทโธธรรมราชา" ที่ครองเมืองอังวะ กษัตริย์พม่า จึงได้ยกทัพหลวงมาตีเมืองฝาง ในปีพุทธศักราช ๒๑๗๖ ศักราชได้ ๙๙๔ ตัว พระเจ้าฝางอุดมสินได้นำทัพเข้าต่อสู้ป้องกันเมืองอย่างแข็งขัน ทำให้พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา ไม่สามารถเข้าตีเมืองฝางได้ พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา จึงเปลี่ยนแผนการรบใหม่ โดยให้ทหารล้อมเมืองฝางไว้ พร้อมกับตั้งค่ายบัญชาการรบที่เวียงสุทโธ และระดมยิงระบู (ปืนใหญ่) เข้าโจมตีเมืองฝางทำให้บ้านเมืองระส่ำระสาย ประชาชนเสียขวัญ ทหารและประชาชนบาดเจ็บล้มตายลงเป็นอันมาก พม่าได้ล้อมเมืองฝางไว้ เป็นเวลานานถึง ๓ ปี กับ ๖ เดือน ทำให้เสบียงอาหารในเมืองฝางที่เก็บสะสมไว้หมดลง ประชาชนอดอยาก พระเจ้าฝางอุดมสินและพระนางสามผิว คิดว่าพระองค์ท่านเป็นต้นเหตุแห่งความเดือดร้อนในการที่จะกอบกู้บ้านเมือง แต่กระทำการไม่สำเร็จ พระองค์จึงตัดสินพระทัยสละพระชนม์ชีพ เพื่อปกป้องชาวเมืองฝางให้รอดพ้นจากการเข่นฆ่าของทหารพม่า และคามอดอยาก เดือดร้อน ดังนั้นในปีพุทธศักราช ๒๑๘๐ ศักราชได้ ๙๙๘ ตัว เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๕ ค่ำ พระเจ้าฝางอุดมสินและพะนางสามผิว จึงสละพระชนม์ชีพ ด้วยการกระโดดลงบ่อซาววา และเป็นเวลาเดียวกันที่ทหารพม่าเข้าตีเมืองฝางได้สำเร็จ เมื่อ พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา ทราบถึงวีรกรรมของทั้งสองพระองค์ท่าน พระเจ้าภวะมังทาสุทธโธธรรมราชา จึงมีคำสั่งห้ามทหารพม่าไม่ให้ทำร้ายประชาชนเมืองฝาง จากนั้นพระองค์จึงได้ยกทัพกลับกรุงอังวะ ประเทศพม่า
เมื่อศึก สงครามสงบลงแล้ว ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเจ้าเมืองฝางเห็นว่า เจ้าเมืองและพระมเหสีทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อรักษา เมืองฝางและชีวิตของชาวเมืองไว้ จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ทั้งสองพระองค์ไว้ที่บ่อน้ำซาววา ซึ่งอยู่หน้าวัดพระบาทอุดมพากันกราบ ไหว้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปกบ้านคุ้มเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตราบจน ทุกวันนี้
ส่วนในนิทานอีกฉบับหนึ่งกล่าวไว้แตกต่างกันว่า
พระ เจ้าฝาง มีพระมเหสีสิริโสภาองค์หนึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระนางสามผิว เพราะเป็นผู้มีบุญญาธิการสูงเวลาเช้าผิวของพระมเหสีจะเป้นสีขาวบริสุทธิ์ ผุดผ่องนวลใย ครั้นตอนเที่ยงผิวกลับเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนงดงามตา ถึงเวลาเย็นผิวกลับเป็นสีแดงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งสองมีพระธิดาองค์หนึ่งนามว่า เจ้าหญิงมะลิกา ซึ่งมีความงามไม่ผิดกับพระมารดาเสียแต่ว่าพระโอษฐ์ด้านบนแหว่งทำให้เจ้าหญิง รู้สึกอับอาย พระเจ้าฝางจึงสร้างเวียงให้อยู่ต่างหาก ปัจจุบันคือ เวียงมะลิกา พระเจ้าสุทโธ แห่งเมืองพม่าได้ยินกิตติศัพท์ความงามของพระนางสามผิวใคร่ที่จะได้ยลโฉม ได้ปลอมแปลงเป็นพ่อค้านำสินค้าจากเมืองตะโก้ง เข้ามาขายในเมืองฝางและนำผ้าเนื้อดีเข้าไปถวายพระนางสามผิว ครั้นเมื่อได้พบตัวจริงพระเจ้าสุทโธก้เกิดหลงรักพระนางสามผิวจนไม่อาจหัก ห้ามใจตนเองได้ รีบเสด็จกลับกรุงอังวะแล้วยกกองทัพมาตีเมืองฝาง รบกกันอยู่ ๓ ปีพระเจ้าสุทโธได้รับชัยชนะ แต่ก่อนที่เมืองฝางจะแตกอำมาตย์และนางข้าหลวงคู่หนึ่งซึ่งมีความจงรักภักดี ทูลให้พระเจ้าฝางกับพระนางสามผิวเสด็จหนีไปอยู่ที่เมืองกุสินารายณ์ ณ ประเทศอินเดีย แล้วทั้งสองได้ปลอมตัวเป็นเจ้าเมืองฝางและพระมเหสีพากันไปกระโดดน้ำตายที่ บ่อน้ำซาววาเพื่อลวงพม่า พระเจ้าสุทโธเข้าใจว่าพระเจ้าฝางกับพระนางสามผิวกระโดดบ่อน้ำสวรรคตก็ได้แต่ โศกเศร้าเสียใจยกกองทัพกลับเมืองอังวะด้วยความผิดหวัง
ขออนุญาตินำบท วิเคราะห์ตำนานพระเจ้าฝางอุดมสินและพระนางสามผิวซึ่ง เรียบเรียง โดย คุณอินทร์ศวร แย้มแสง มาประกอบกับบทความนี้ครับเนื่องจากผมมีความคิดเห็นคล้ายกับคุณ อินทร์ศวร แย้มแสง ว่าน่าจะไม่ใช่เรื่องจริง
ส่วนเรื่องของพระนางมะลิกาหรือเจ้าแม่มะลิกา มีประวัติสืบต่อดังนี้
พระ นางมะลิกา เป็นพระธิดาของพระเจ้าอุดมสินแห่งเมืองฝางกับพระนางสามผิว ประสูติราว ปี พ.ศ. ๒๑๓๑ ก่อนตั้งพระครรภ์พระมารดาทรงสุบินว่า มีช้างเผือกนำดอกมะลิมาถวาย จึงขนานพระนามว่า " มะลิกา " ตามพระสุบิน พระนางสามผิวมีพระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ ทรงสักการะบูชาทุกค่ำเช้า
วันหนึ่งมี่ขุ่นเคืองพระทัยด้วยเรื่องพระ สนมเอกของพระเจ้าฝาง เมื่อถึงเวลาถวายเทียนสักการะบูชาพระพุทธปฏิมาแต่พระองค์ ยังมิอาจดับพระทัยที่ขุ่นเคืองได้ ขณะที่จุดเทียนถวายสักการะบูชาพระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์ และทรงละเลยไว้ด้วยความประมาทเทียนที่จุดไว้ล้มลงเผาไหมพระโอษฐ์พระ พุทธปฏิมา รุ่งขึ้นเวลาเช้าเมื่อพระนางเจ้าเสด็จออกจากที่บรรทมทรงทราบว่าเทียนล้มลง เผาไหม้พระโอษฐ์พระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์ก็ทรงสำนึกความบาปที่กระทำด้วยความ ประมาท ครั้นกาลต่อมา พระครรภ์ครบกำหนดทศมาส ประสูติพระราชธิดาผู้ทรงโฉมศิริโสภาคพระฉวีวรรณผุดผ่อง แม้นเหมือนพระมารดา แต่ก็มีตำหนิที่ควรสมเพชที่พระธิดา มีริมพระโอษฐ์ล่างแหว่งไป เมื่อพระชันษาได้ ๑๘ ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม ได้มีราชบุตรต่างเมืองมาสู่ขอ พระนางไม่สนพระทัย กลับรบเร้าให้พระบิดาสร้างเวียง (พระตำหนัก )ให้ ใน ปี พ.ศ. ๒๑๕๐ เมื่อราชบุตรีทรงวุฒิจำเริญขึ้น พระเจ้าฝางทรงเกรงเป็นที่ละอายแก่ไพร่ฟ้าพลเมืองจึงทรงสร้างสวนหลวงขึ้นทาง ทิศเหนีอเวียงสุโท (ใกล้กับเมืองฝาง) และสร้างคุ้มหลวง ประกอบด้วย คู และปราการ ประตู ๔ ด้านล้อมรอบประทานราชบุตรี ให้เป็นที่ประทับสำราญ สวนหลวงแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า เวียงมะลิกา(บางฉบับว่า เวียงสนธยา) เชื่อว่า เวียงมะลิกาไม่มีบุรุษเพศเลย ผู้คนล้วนแต่สตรีเพศพระแม่เจ้าทรงฝึกฝนสตรีผู้กำยำเป็นทะแกล้วคนหาญของเวียง มะลิกา จนเป็นที่ลือชา ปรากฏว่าเวียงมะลิกามีคนหาญการธนูที่แกร่งกล้ายิงแม่นนัก กาลต่อมามีราชบุตรของเจ้าผู้ครองเวียงภูก่ำ(แคว้นไตใหญ่) ได้สดับข่าวเกี่ยวกับพระเจ้าแม่มะลิกา แรงแห่งบุพเพสันนิวาสเกิดขึ้นในราชบุตร พระราชบุตรได้ทรงอ้อนวอนพระเจ้าภูก่ำ ขอเสด็จไปเวียงมะลิกาเยี่ยงสามัญชนคนค้าขาย พระเจ้าภูก่ำทรงอนุญาต แล้วดำรัสสั่งอำมาตย์คนสนิท ให้ ตระเตรียมม้าต่างอัญมณีเป็นสินค้าโดยเสด็จพระราชบุตร ข่าวการเสด็จฯของพระราชบุตรทราบถึงเจ้าแม่มะลิกา พระองค์ก็เกิดอางขนางในวันที่พระราชบุตรกำหนดเข้าเฝ้าถวายอัญมณีแม่เจ้าก็ เสด็จหลีกลี้ไปสรงสนานน้ำห้วยและแต่งให้พระพี่เลี้ยงนางเหลี่ยวอยู่เวียง มะลิการับเสด็จพระราชบุตร เมื่อพระราชบุตรในรูปของพ่อค้านายวาณิชเข้าเฝ้า พระพี่เลี้ยงก็กล่าวว่าแม่เจ้าไม่ทรงปรารถนาพบเห็นชายใด ๆ และไม่ต้องประสงค์ในการได้ยินเรื่องเช่นนี้ พ่อค้า จำแลงก็ลากลับเวียงภูก่ำด้วยความโทมนัส ขณะที่พระนางมะลิกาสรงสนานอยู่ น้ำในลำห้วยก็กลายเป็นสีเลือดด้วยละอายพระทัยคนทั้งหลายจึงเรียกน้ำห้วยนั้น ว่า "แม่อาย" จึงได้ชื่อตำบลนี้ว่า "แม่อาย"
ต่อมาในปี ๒๑๗๒ ทัพพม่าได้ยกมาตีเมืองฝาง พระนางมะลิกาได้พาไพร่พลของตนเข้าต่อสู้กับพม่า ช่วยบิดาต้านทานได้ ๓ ปี ในที่สุดก็ต้านไม่ไหวเพราะกำลังที่มีน้อย พระเจ้าอุดมสินกับพระนางสามผิวมารดา ไม่ทรงยอมจำนนต่อข้าศึก ได้กระโดดลงน้ำบ่อซาววา สิ้นพระชนม์ ส่วนพระนางมะลิกาได้พาไพร่พลที่เหลือกลับไปตั้งหลักที่เวียงสนธยา และครองเวียงอยู่ได้ ๔๐ ปี ทรงสวรรคตในปี ๒๑๙๐ รวมพระชนมายุได้ ๕๘ ปี ต่อมาได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์พระนางมะลิกาขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของพระนาง และเป็นที่เคารพสักการะของชาวแม่อายมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ขอบคุณที่มา ::::: สืบสานตำนานล้านนา เครดิต: โพสโดย :Nu-Bird (ทีมงาน TeeNee.Com)