? ขี้กลากต้นไม้ ? ชีวิตนี้เพื่อกันและกัน

“ขี้กลากต้นไม้” เป็น ชีวิตคู่ของรากับสาหร่ายที่เกาะเกี่ยวชีวิตเข้าด้วยกันแบบถึงไหนถึงกัน ตายด้วยกัน ชาวบ้านมักเรียกกันว่า ก็รอยแต้มด่างๆ ดวงๆ บนก้อนหิน บนต้นไม้ หรือตามใบไม้นั่นแหละ


  

       คุณสมบัติพิเศษของราจะอมน้ำ จากความชื้นรอบๆ ตัวเข้ามาเก็บไว้โดยแบ่งปันน้ำบางส่วนให้สาหร่ายด้วย  ส่วน สาหร่ายก็ใช้น้ำ และดึงเอานำเอาก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาปรุงอาหาร (สารอินทรีย์) แล้วราช่วยอะไรสาหร่ายล่ะ หน้าที่หลักของราก็คือช่วยปกป้องสาหร่ายจากแสงแดด และความร้อน เพื่อชีวิตจะได้อยู่กันไปนานแสนนานไงล่ะ


 
  ไลเคนไม่ได้มีเฉพาะรูปแบบที่เป็นผิวเรียบๆ แบนๆ เคลือบไว้ตามสถานที่ต่างๆ แบบเดียว ขี้กลากต้นไม้เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งเท่านั้น นักไลเคนเขาแบ่งกลุ่มแบบง่ายๆ ตามรูปร่างลักษณะเป็นสี่กลุ่มด้วยกัน คือ

 

ครัสโตส (Crustose) 

ฟูลิโอส (Foliose)

ฟรุสติโคส (Fruticose)

และสะแควมูโลส (Squamulose)

 


 ^
ไลเคนแบบครัสโตส เป็นชั้นบางๆ เคลือบอยู่ตามเปลือกไม้ หรือก้อนหิน ดูคล้ายฝุ่นสีที่อัดตัวกันบนเปลือกต้นไม้ หลานน่าจะเห็นไลเคนพวกนี้อยู่บ่อยๆ


 
 ^
 แบบฟูลิโอส

     
^
 แบบฟูลิโอส มี ลักษณะคล้ายแผ่นใบแผ่ๆ แตกแขนงออกคล้ายสาหร่ายทั่วไป ด้านใต้ดูคล้ายราก แต่เป็นเส้นใยที่เกิดจากรา ซึ่งใช้เป็นที่ยึดเกาะกับต้นไม้หรือก้อนหิน

 
  
 ^
 แบบฟรุสติโคส เป็นแบบที่ นักท่องดอยสูงพบเห็นกันเป็นประจำ หลายคนเรียกมันว่า “ฝอยลม” เป็นกระจุกเส้นขนหนาๆ ดูคล้ายรากต้นไม้ ชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ ตามลำต้นไม้ในที่ที่อากาศหนาวเย็น ชนิดนี้ค่อนข้างจะเปราะบางและอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก หากมีมลพิษเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ ใครเคยไปดอยอินทนนท์คงเห็นกันมาแล้ว
 
 

ส่วนแบบสะ แควมูโลส (ไม่มีภาพมาให้ดู) เป็นลักษณะเป็นเกล็ดชิ้นเล็กๆเรียงต่อกัน ไม่หนามากนัก 




 **  ชาวบ้านบางพื้นที่ใช้ฝอยลมเอามาต้มเป็นยารักษาโรค



 ส่วน คนจีนนำมาต้มน้ำดื่มแบบชา และนำมาปรุงอาหารและเป็นส่วนผสมของสมุนไพร แต่หลานอย่าเพิ่งไป เก็บไลเคนมาทานนะ เพราะบางชนิดอาจจะมีพิษ เดี๋ยวจะกลายเป็น “ไลเคนรวมญาติ” ไป



 พวก อินเดียแดงใช้ทำสีย้อมขนสัตว์สำหรับนุ่งห่ม บางเผ่าใช้ฝอยลมผสมกับโคลนแล้วนำมาทำผนังกระท่อมที่พัก



 ส่วน ในธรรมชาติ ไลเคนเป็นอาหารสัตว์หลายชนิดตั้งแต่สัตว์ตัวจิ๋วอย่างมดไปจนถึงกวาง พวกกระรอกและนกนิยมเอาฝอยลมไปทำรังนอนนุ่มๆ

นอกจากนี้ยังใช้ไลเคนเป็นดัชนีวัดมลพิษของอากาศ เพราะไลเคนใช้น้ำโดยตรงจากอากาศ ทั้งจากฝนและ ความชื้นที่อยู่รอบๆ ทำให้รับเอามลพิษจากอากาศเข้าไปได้โดยง่าย  ไล เคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีความทนทานต่อมลพิษ


 ไลเคนจะสามารถเติบโตได้ในเกือบจะทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่ในบรรยากาศร้อนระอุของทะเลทราย จนถึงเขตหนาวจัดแถบขั้วโลก ในที่ๆเป็นภูเขาหินที่สูงเกินสามพันห้าร้อยเมตรขึ้นไป หาต้นหญ้าแทบไม่เจอ แต่ไลเคนกลับเจริญได้เจริญดี 

 

 


 
 

** ลองสำรวจรอบๆบ้านดูนะคะ ว่ามีไลเคนให้เห็นบ้างหรือเปล่า


 

 


เครดิตบทความ :http://www.oknation.net/blog/print.php?id=261257
เครดิต ภาพ :http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=spukie-planet&month=20-12-2009&group=2&gblog=78


                                                                    


 


 


 
 
Credit: http://atcloud.com/stories/80568
#ต้นไม้
Messenger56
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
23 พ.ค. 53 เวลา 14:50 3,278 6 28
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...