ผูลัน เทวี (Phoolan Devi) ราชินีจอมโจรแห่งอินเดีย..ถูกข่มเหงทั้งร่างกายและจิตใจ จากระบบ

ผูลัน เทวี (Phoolan Devi) ราชินีจอมโจรแห่งอินเดีย..ถูกข่มเหงทั้งร่างกายและจิตใจ จากระบบวรรณะจนกลายเป็นโจรป่า และก้าวสู่ผู้แทนในสภาราษฎร

                                        

          ผูลัน เทวี (Phoolan Devi)เกิด 10 สิงหาคม 1963 (Gorha Ka Purwa, Uttar Pradesh) อินเดีย  ตาย 25 กรกฏาคม 2001 รวมอายุ 37 ปี     สังหารคนไป 22+

เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1981 ผูลัน เทวี หญิงชาวบ้านผู้ซึ่งเกิดมาท่ามกลางความยากจนของรัฐอุตระประเทศ ถูกตั้งฉายาให้เป็น"ราชินี โจรแห่งอินเดีย" ด้วยวัยเพียง 24 ปี เธอถูกตั้งข้อหาความผิดทางอาญาสำคัญๆ ถึง 48 กระทง 

  ใน จำนวนนี้มีข้อหาฆาตกรรม 22 ข้อหา กับลักพาตัวเรียกค่าไถ่และปล้นชิงทรัพย์หมู่บ้านแถบนั้นรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอถูกกล่าวหาว่าได้สังหารชายฮิน ดูวรรณะสูงในเบห์ไม หมู่บ้านกันดารเล็กๆไม่เป็นที่รู้จักของผู้คน ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเดลีไปถึง 22 ชีวิต การฆาตกรรมหมู่ครั้งนี้ ทำให้เบห์ไมมีชื่อปรากฏอยู่ในแผนที่
                

   *** กล่าวกันว่าการกระทำ ดังกล่าวเป็นการชำระหนี้แค้นให้แก่คนรักของเธอที่ถูกฆ่าตาย 
รวมถึง การที่ผูลันถูกรุมข่มขืนกระทำชำเรา เท่าที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ของโจรป่านั้น 
ไม่เคยมีหญิงวรรณะต่ำคนใด ที่ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรมชายวรรณะสูงจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน
 
   นี้เป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งของผูลัน เทวี ความจริงแล้วเรื่องราวของเธอนั้นมีมากมายเหลือจะกล่าว
จากเด็กสาวที่ถือ กำเนิดในวรรณะต่ำต้อยมืดมนไร้ชื่อเสียง แต่ด้วยความที่เป็นสตรีผู้มีความ
สามารถ พิเศษและมีคุณสมบัติในการดึงดูดใจคน เธอได้ก้าวขึ้นสู่การสร้างความพิศวงแก่ประเทศ
และแก่  โลกได้ทึ่งกับวีรกรรม ของเธอ เธอเป็นทั้งโจร ฆาตกร ถูกจำคุก และท้ายที่สุดคือการได้รับเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่งผู้แทนราษฎร จากนั้นก็ถูกลอบสังหาร
                 

ผู ลัน เทวี เป็นผู้หญิงที่มีคนชอบปานจะกลื่นกินและในขณะเดียวกันก็มีคนเกลียดถึงอยากจะ ฆ่าแกง บางคนนับถือว่าเธอเป็นเจ้าแม่ "ทุรกา"เจ้าแม่องค์หนึ่งของฮินดูที่มีชื่อเสียงในด้านความงามและ ความรุนแรง กลับชาติมาเกิด ส่วนคนที่เกลียดก็คิดว่าเธอเป็นเพียงผู้หญิงในวรรณะต่ำ ... 
เป็น สวะสังคม ตอนเธอเสียชีวิตเพราะถูกกระสุนปืนห่าใหญ่สาดใส่ในระยะใกล้ใต้ต้นสะเดานั้น 
ถือ ว่าเป็นการจบชีวิตที่สมควรได้รับแล้ว
                
** เรามาดูช่วงชีวิตของเธอดีกว่า......ว่าเธอสมควรนับถือหรือถูกเกลียด



  
ผูลัน เทวี เกิดเมื่อวันที่ 10สิงหาคม 1963 ในแคว้นอุตระประเทศทางตอนกลางของ
อินเดีย ตอนที่เธอเกิดนั้นเป็นช่วงที่อินเดียยังมีเรื่องความขัดแย้งทางชนชั้นวรรณะ ชนิด
เข้มข้น ยิ่งครอบครัวของเธอมีลูกสาวก่อนหน้านี้แล้วสามคน แล้วเมื่อผู้ลัน เทวีเป็นคน
ที่สี่ชาวบ้านที่นั้นต่างพูดว่า เธอเป็นตัวซวยชัดๆ
                
ผูลัน เทวี เกิดมาในวรรณะ mallah พ่อของเธอเป็นคนหาปลาที่ยากจนแต่ก็ไม่ถึงกับ
จนที่สุดในหมู่บ้าน เพราะพ่อมีที่ดินเป็นของตนเองหนึ่งเอเคอร์ให้ได้ปลูกบ้านไว้อยู่อาศัย 
แต่ เป็นผืนดินเสื่อมโทรมผืนเล็กๆ ที่ตลอดทั้งปีให้ผลผลิตเพียงเมล็ดข้าวคุณภาพต่ำ แต่ที่
แย่ยิ่งกว่า พวกเขานั้นไม่มีที่ดินต้องเช่านา (เช่าที่ดินคนอื่นโดยจ่ายพืชผลส่วนใหญ่ที่ได้
เป็นค่าเช่า) หรือไม่ก็ไปเป็นแรงงานผูกมัด ทำงานแค่ประทังชีวิตให้อยู่รอดภายใต้ภาระ
หนี้สิน ที่บรรพบุรุษสร้างไว้ เทวีทีน พ่อของผูลันเองก็มีชีวิตก้ำกึ่งอยู่ในสองประเภทที่ว่านี้ 
เขามีที่ดิน ของตัวเอง แต่จำต้องทำงานราวกับพวกเช่านาลงแรงให้กับชาวนาที่ร่ำรวยกว่า
ทำ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ ของครอบครัวของผูลัน เทวีอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนอัปยศและ
สิ้นหวัง
                
**ชีวิตของผูลัน เทวี ในช่วงนั้นต้องพบกับความไร้น้ำใจของชาวอินเดียหลายครั้ง ไล่ตั้งแต่
ญาติ ของเธอขโมยที่ดินของลุงเธอไป ชาวบ้านต่างดูถูกไม่ว่าเธอได้ทำอะไรลงไป ในสังคม
ของอินเดียแล้ว ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์โต้เถียง 
ลบหลู่หรือ ท้าทายผู้ชาย ไม่ว่าชายคนนั้นจะกระทำเช่นไรกับตน  แต่สำหรับ พูลัน เทวี 
เธอ เป็นผู้หญิงที่ดื้อ หัวแข็ง แหวกจารีตประเพณีอย่างสิ้นเชิง แม้ขณะนั้นจะอายุได้เพียง 
10 ขวบ เธอก็หาญกล้าเถียงผู้ชาย และมีบางครั้งที่ต่อยตีกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน
                
และด้วยความที่เป็นเด็กมีปัญหา ทำให้ญาติและครอบครัวแก้ปัญหานี้โดยบังคับให้แต่ง
งานกับชายคนหนึ่งซึ่ง อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลเมื่ออายุเพียงสิบเอ็ดขวบ โดยต้องเสียสิน
เดิม ให้เขาเป็นวัวหนึ่งตัว ทั้งๆ ที่ชายคนนั้นยังแก่กว่าเธอถึงสามรอบและมีเมียอยู่แล้ว
สามีเธอบังคับ ข่มขืนทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังทำทารุณต่อเธอ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
แต่อย่างใดในอินเดีย แต่สิ่งที่ผิดปกติคือว่าเธอขัดขืนต่อต้านและหนีสามีไป..
                
ในชีวประวัติตอนนี้ค่อนข้างไม่ปะติดปะต่อของเธอนั้น รู้แต่ว่าเธอกลับไปหาครอบครัวและ
ต้องผจญกับความโกรธแค้นและอับอายจากผู้ เป็นพ่อแม่ที่ลูกสาวกลายเป็นแม่หม้ายซึ่งใน
สังคมอินเดีย 
แล้วเธอว่า เป็นเรื่องที่รับไม่ได้แม่ ของเธอเองถึงกับบอกให้ลูกสาวไปฆ่าตัวตายเสียเพื่อ  
ปก ป้องชื่อเสียงและเกียรติยศ ของครอบครัว
 
ต่อมาเธอได้ ถูกจับกุมเพราะการทะเลาะวิวาทในเรื่องที่ดินของครอบครัว นั่นคือการ
ทะเลาะ ระหว่างพ่อของเธอกับเจ้าของที่ดินผู้ละโมบที่อยู่ในวรรณะสูง



                
ผลจากการวิวาทครั้งนั้นทำให้เธอถูกจำคุก เธอถูกผลักเวียนลงแขกข่มขืนและถูกทำทารุณ
กรรมเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือนใน คุก(โดยผู้คุม) จากนั้นกลุ่มโจรปล้นทรัพย์ก็ลักพาตัวเธอ
ไป และหัวหน้าแก๊งที่ชื่อ บาบู กุจาร์ ที่เป็นคนวรรณะสูงนั้นได้ข่มขืนและทำทารุณต่อเธอ
เป็นเวลาสามวัน ต่อมารองหัวหน้าโจรที่เป็นคนวรรณะต่ำที่ชื่อ  วิกรม มัลลาห์ ได้สังหาร
หัว หน้าและตั้งตนเป็นหัวหน้าแทน ผูลัน เทวี (ตอนแรกๆ พวกโจรไม่ยอมรับวิกรมเป็น
หัว หน้าเพราะว่าเขาอยู่วรรณะต่ำกว่าแต่ฆ่าหัวหน้าที่วรรณะสูงถือว่าเป็นเรื่อง ไม่สมควร)
               
(ความรู้เพิ่มเติม ในอินเดียมีพวกนอกกฎหมายมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีความ
เชื่อแตก ต่างกันออกไป เช่นพวกฆ่าชิงทรัพย์จะมีธรรมเนียมเฉพาะ พวกเขาจะบูชาเจ้าแม่
กาลี ซึ่ง  เป็นเทพเจ้าแห่งความหายนะ ก่อนที่พวกนี้จะถูกปราบสิ้นซากภายใต้การนำของ 
ข้าหลวง ใหญ่อังกฤษประจำอินเดีย ลอร์ดเบนทิงค์ ในช่วงทศวรรษ 1830 แต่ก็ยังคงมี
โจร ปล้น  ทรัพย์หลงเหลืออยู่ พวกนี้เป็นกลุ่มโจรติดอาวุธที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ห่างไกล 
และทำมาหา เลี้ยงชีพ ด้วยการปล้นหมู่บ้านต่างๆ ด้วยการลักพาตัวและจี้เป็นตัวประกัน 
แม้ ว่าพวกนี้จะพ่นคำด่า หยาบช้าใส่กัน อันเป็นนิสัยของโจรร้าย แต่พวกวรรณะต่ำ
ก็ ยกย่องนับถือผู้ร้ายเหล่านี้ว่าเป็นวีรบุรุษ เพราะพวกนี้รับสมัครพรรคพวกจากคนวรรณะ
ต่ำเข้ามาร่วมกลุ่มเป็นส่วนใหญ่)
                
ผูลัน เทวี กลายเป็นเมียเก็บของวิกรม มัลลาห์ เขาสอนเธอหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการใช้
ปืน ปล้น ฆ๋า ลักพาตัวเรียกค้าไถ่ วิถีของโจรทุกอย่างเท่าที่สอนได้ และร่วมมือกับเขาปล้น
ในหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะปล้นขบวนสินค้าทางรถยนต์หรือรถไฟ ทรัพย์สินที่ได้จากการปล้น
จะ ถูกแบ่งนำไปให้กับ คนยากไร้ไม่มีจะกิน *** จุดประสงค์ของการปล้นสำหรับของพวก
พู ลัน เทวี ไม่ได้อยู่ที่เงินเพียงอย่างเดียวแต่เป็นวิธีเรียกแรงศรัทธาให้คนวรรณะต่ำ เหล่า
นี้ ให้นับถือกลุ่ม ผูลัน เทวี  เพิ่มพรรคพวกมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเป็นหูเป็นตาคอยสอดส่อง
เจ้าหน้าที่ที่จะมาปราบพวกตน  
                
ผูลัน เทวี พวกโจรเหล่านี้ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาลึกที่มีหนทางซับซ้อนวกวนยิ่ง อันเป็นที่หลบ
ซ่อนของเหล่าโจรร้ายที่มีชื่อเสียงที่สุดในอินเดีย   หลังก่ออาชญากรรมแต่ละครั้ง เช่น
หมู่บ้านของพวกวรรณะสูงถูกปล้น หรือลูกชายเจ้าของที่ดินถูกลักพาตัวเรียกไปฆ่าไถ่ 
ผูลัน เทวี จะคะยั้นคะยอให้สมัครพรรคพวกในแก๊งแวะสักการะเจ้าแม่ทุรกาในวิหารต่างๆ
หลาย แห่ง เพื่อแสดงความขอบคุณที่ปกป้องคุ้มครองเธอ ซึ่งพวกปล้นทรัพย์เหล่านี้บูชา 
เจ้าแม่ทุรกา ผู้ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นอีกภาค หนึ่งของเจ้าแม่กาลี



               
ภาพลักษณ์ของผูลัน เทวีในเวลานั้นเป็นที่หวาดกลัวต่อผู้พบเห็น รูปร่างที่บางสันทัด 
ใส่ เสื้อแจ็คเก็ตสีกากี กางเกงยีนส์เก่าๆและรองเท้าบู๊ท ผมสั้นระต้นคอ เธอมักผ้าโพกหัว
สีแดงอันสัญลักษณ์แห่งการแก้แค้น.เข็มขัดกระสุนสะพาย เฉียงพาด อก และปืนไรเฟิ่ล
                
ต่อมาวิกรมก็ถูก ฆ่าตายเพราะความแตกแยกของกลุ่ม ผูลันก็ถูกลักพาตัวและถูกคุมขังอยู่
ที่ หมู่บ้าน Behmai ซึ่งเป็นหมู่บ้านของพวก Thakurs วรรณะสูง พวกนี้มักถูกพวก
โจร ผู้ร้ายลักพาตัวและจี้เป็นตัวประกันอยู่บ่อยๆ และเมื่อเห็นผูลันถูกนำตัวมา ผูลันจึงรุม
ถูกข่มขืน ทำร้ายโดยผู้ชายมากมายในหมู่บ้านนั้นเป็นเวลาถึงสามสัปดาห์ 

เธอถูก ทุบตีและถ่มถุยด่าทออย่างหยาบคาย เธอสาบานว่าจะแก้แค้นให้คนในหมู่บ้านนี้
อย่าง สาสม และเธอก็หนีออกมา ได้และจัดตั้งแก๊งใหม่ภายใต้การนำของเธอเอง ผูลัน เทวี 
ก็ตั้งตัวเองขึ้นเป็น หัวหน้าแก๊ง เธอสั่งให้ทำกระดาษจดหมายซึ่งหัวจดหมายมีข้อความ
อันเป็นเอกลักษณ์ของตัว เธอว่า“ราชินีโจร , คนรักของวิกรม มัลลาห์ , 
จักรพรรดินีของพวกโจร ”
               
 จากนั้นแก๊งโจรของผูลัน เทวีก็ออกปล้นทั่วทั้งแคว้นอุตระประเทศ และ มัธยะประเทศ 
แก๊งค์โจรภาย ใต้การนำของ พูลัน เทวี ออกอาละวาด ปล้น, ฆ่า หมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่า
พวก ก็มากขึ้นเรื่อย แต่เธอก็ไม้ลืมวัตถุประสงค์เดิม ของกลุ่มคือ การแจกจ่ายเงินส่วนหนึ่ง
ให้คนยากจน และการล้างแค้น ทุกแห่งที่เธอและพรรคพวกผ่านไป ถ้าเธอรู้ว่ามีผู้หญิง
ถูกข่มขืน, โดนบังคับให้ทำแท้ง หรือถูกบีบคั้นให้ฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติของ
ครอบ ครัว 

เธอจะตัดสิน โดยศาลเตี้ยของเธอเอง เธอหาตัวผู้ชายที่เป็นต้นเหตุนำมาเชือดพวงสวรรค์
ทิ้งและทรมาน และตัดชิ้นส่วนของร่างกาย ออกทีละชิ้นให้ตายอย่างทรมาน จากนั้นนำศพ
มา บูชาของเจ้าแม่กาลี สำหรับชาวบ้าน ***แล้วนี้คือความโหดเ***้ยมผิดมนุษย์ แต่สำหรับ
ผู้หญิง ที่สิ้นหวังจากความยุติธรรมในสังคมอย่างพวกเธอ นี้คือการกระทำชดใช้ที่สาสม
คน ผิดเธอทำแบบนี้เรื่อยมา จน 17 เดือนต่อมา เธอก็กลับไปยังหมู่บ้าน Behmai 
เพื่อ แก้แค้น
                
ในวันวาเลนไทน์ 13 กุมภาพันธ์ 1981 เป็นวันอันอื้อฉาวลือเลื่อง เธอกับพรรคพวกใน
แก๊งแต่งตัวเป็นเจ้าหน้าที่ ตำรวจแล้วเดินเข้าไปในหมู่บ้าน Behmai จากนั้นก็ใช้ปาก
แตรใหญ่ ป่าวประกาศให้ทุกคนในหมู่บ้านนั้นจัดหาทรัพย์สิ่งของมีค่าออกมาให้เธอ 
เหตุการณ์ ครั้งนี้มี ผู้ชายในหมู่บ้านถูกกระสุนปืนสังหารถึง 22 คน  
เรียกง่ายๆ คือ สังหารหมู่ แต่ ผูลัน เทวี อ้างว่าเธอไม่ได้ฆ่าใครในหมู่บ้านนั้นเลย 
แต่ ลูกน้องเธอต่างหากเป็นคนลั่นไกสังหาร



 
ทั่วทั้งประเทศตกตะลึงกับสิ่งที่เกิด ขึ้น....คนในวรรณะต่ำและเป็นผู้หญิง บังอาจสังหาร
หมู่ผู้ชายในวรรณะที่ สูงกว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กระแสการเมืองภายในประเทศร้อน
ระอุขึ้น โดย เฉพาะในเขตรัฐอุตตรประเทศหรือยูพี อันเป็นพื้นที่ที่บรรดาเหยื่อซึ่งว่ากัน
ว่า เธอเป็นคนยิงทิ้งนั้นควบคุมฐานเสียงอยู่บรรดาพวกฐากูร (เจ้าของที่ดิน) นยูพี 
ถึงกับพากันออกมาเดิน ขบวนประท้วงตามเมืองใกล้ๆ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม 
ทำให้รัฐบาลเดลีภายใต้การนำ ของนางอินทิรา คานธี ไม่อาจเพิกเฉยต่อการประท้วง
ดังกล่าว เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นหัวคะแนนในหมู่บ้านกันดารเล็กๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่ว
พื้นที่ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างหนัก
                
แม้ตำรวจจะตามล่าตัวเธอกันขนานใหญ่ แต่ก็ล้มเหลว ชื่อเสียงของผูลันเป็นที่รู้จักอย่าง
กว้างขวางในเรื่องการสังหารหมู่ เธอเริ่มถูกเรียกว่า “ ราชินีแห่งหุบเขาลึก” 
หรือ Chambal-ki-Rani มีการทำตุ๊กตารูปผูลันแต่งตัวเป็นเจ้าแม่ทุรกา
วางขายอยู่ตามตลาดในเมือง ในรัฐอุตรประเทศ แม้แต่พวกตำรวจก็นับถือเธอ
                
แต่การ มีชีวิตอยู่อย่างกดดันและต้องหนีอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เกินกว่าพูลัน เทวีจะทนได้ 
และสองปีหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งนั้น พรรคพวกเธอหลายคนถูกยิงตายใน
การต่อสู้กับกลุ่มศัตรูคู่อาฆาต หรือไม่ก็ในการเผชิญหน้ากับตำรวจ เธอทนไม่ไหวจึงได้
เจรจาต่อรองที่จะยอม มอบตัวกับทางการ 
( สมัยรัฐบาลของนางอินทิรา คานธีและตัวพูลัน เทวีก็นับถือมหาตะมะ คานธีด้วย ) 
มีการจัดให้เธอได้พบกับหัวหน้าตำรวจคน หนึ่ง ณ ที่ซ่อนตัวของเธอในหุบเขาลึก 
ต่อมา ตัวผูลันซึ่งคาดสายสะพายบรรจุกระสุน ห่มผ้าคลุมไหล่สีแดงสดใส และคาดผมด้วย
ผ้า เช็ดหน้าสีแดงผืนใหญ่ ก็เดินอาดๆ เข้าไปในเมืองขณะมีการบรรเลงดนตรีฮินดูดังสนั่น
ผ่านระบบขยายเสียง เธอเดินขึ้นไปบนเวทีสูงทำด้วยไม้ที่ตกแต่งประดับประดาด้วยผ้าสีสด 
จาก นั้นก็วางปืนไรเฟิลของเธอลงต่อหน้ารูปของนางคานธีและเจ้าแม่ทุรกา โดยมีตำรวจ
สามร้อยนายรอคอยที่จะจับกุมเธอกับพรรคพวกคนอื่นๆ ที่ยอมมอบตัวในเวลาเดียวกัน
                
ในวันที่เธอเข้ามอบตัว ผู้คนทั่วไปได้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ออกมา ให้เห็น มีนักข่าวคนหนึ่งถามผูลันถึงสิ่งที่เธอปรารถนาในชีวิต 
**เธอตอบว่า "ถ้า ข้ามีเงิน ข้าจะสร้างบ้านที่มีห้องใหญ่ขนาดเท่าห้องโถงของคุกนี่แต่ข้า
รู้ ดีว่า นั่นเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ลองผู้หญิงคนไหนได้มาเจอแบบข้า ก็คงคิดถึงชีวิตปกติ
ธรรมดาๆ ไม่ออกเหมือนกัน ข้าจะไปรู้อะไร นอกจากถางหญ้ากับใช้ปืนไรเฟิล"


                
ผูลัน เทวี ถูกตั้งข้อหาถึง 30 ข้อหาที่เกี่ยวกับการปล้นทรัพย์และลักพาตัว แต่ในความ
เป็นจริงนั้น ไม่เคยมีการสอบสวนเลยในที่สุดเธอถูกตัดสินจำคุกสิบเอ็ดปี ซึ่งมากกว่าที่เธอ
ได้ เจรจาต่อรองไว้สามปี และมากกว่าพรรคพวกคนอื่นๆ ของเธอหลายปี แม้ว่าพวกเขาจะ
ติด คุกที่เดียวกับเธอก็ตาม ขณะถูกคุมขังอยู่นั้น เธอก็ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่รัง
ไข่ออก แต่ก็จบลงด้วยการถูกตัดมดลูกทิ้งอย่างไม่เต็มใจ แพทย์ประจำคุกอธิบายว่า 
“เรา ไม่ต้องการให้ ผูลัน เทวี ผลิต ผูลัน เทวี ออกมาอีก !”
                
ส่วน ลูกสมุนของผูลัน เทวี นั้น ถูกยกฟ้องเนื่องจากไม่มีใครกล้าแสดงตัวเป็นพยานเอาผิด
วันเวลา ผ่านไป นักการเมืองที่มาจากวรรณะต่ำเช่นเดียวกับเธอได้พยายามช่วยเหลือจน 
พูลัน เทวีพ้นจากคุก คืนสู่อิสระเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1994 ด้วยการทำทัณฑ์บน...

ในปีต่อ มามีภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตเธอออกฉาย โดยใช้ชื่อว่า “ราชินีโจร” แต่ ผูลัน เทวี
ก็ประท้วงหนังเรื่องนี้ เพราะมันสร้างออกมาให้เห็นว่าเธอเป็นเพียงเหยื่อคนหนึ่ง 
เธอยังขู่ที่จะ ทรมานตัวเองจน ตายหน้าโรงภาพยนต์ถ้าหนังเรื่องนี้ไม่ถูกระงับ ในที่สุด 
เธอ ก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้สร้างหนัง เรื่องนี้เป็นเงิน 60,000 เหรียญ 
หนังเรื่องนี้ทำให้เธอมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเป็นระยะเวลา สั้นๆ ในฐานะตัวแทนของสิทธิสตรี 
แต่หน้าเศร้าใจยิ่งเมื่อถึงเวลาที่เธอ กำลังจะออกเดินทางไปพูดตามที่ต่างๆ  ทั่วโลก 
และไปถ่ายรูปที่งานเทศกาล ภาพยนตร์ที่เมืองคานส์  เธอกลับถูกฟ้องร้องในข้อหา
ฆาตกรรมและข้อหาอื่นๆ แสงแห่งความรุ่งโรจน์ระดับโลกก็เป็นอันดับวูบลง
                
อย่าง ไรก็ตาม ในปี 1996 เธอก็สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
ในนาม พรรคสังคมนิยม เธอใช้วิธีการหาเสียงที่ดุดัน เปิดเผยตามสไตล์ที่เธอเคยใช้ในการ
นำสมุนโจร ซึ่งสัญญาว่าจะต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีและของคนเหล่านั้นที่อยู่ในวรรณะต่ำ 
ใน ระหว่างการรณรงค์หาเสียง เธอมักถูก ขัดคอและซักไซ้ไล่เลียงอย่างไม่หยุดหย่อนจาก
แม่ม่ายทั้งหลายใน Behmai พวกนี้ยังคงเรียกร้องขอความยุติธรรมให้จัดการกับคน
ที่ฆ่าบรรดาสามีพวก เธอ


                
เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว เธอก็มิได้ไร้ความสามารถแต่อย่างใด แต่กลับสร้างความประทับใจ
แก่ประชาชน เธอเดินทางไปอุตรประเทศ โดยสั่งการให้รถไฟเปลี่ยนหมายกำหนดการ
เดินรถ และไปจอดอยู่ หน้าคุกหลายแห่ง เพื่อเยี่ยมเยียนเพื่อนเก่าแก่ของเธอ ความเป็น
ที่นิยมของเธอในหมู่ชนวรรณะต่ำนั้นยังคงที่ แม้ว่าเธอจะสอบตกไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี 1998 ทั้งๆ ที่เธอพ่ายแพ้อย่างนี้ แต่ในปีต่อมาเธอก็ยังได้รับเลือกกลับเข้าไปทำงาน
ใน รัฐสภาอีกครั้ง ในการรณรงค์หาเสียงครั้งนั้น เธอบอกผู้สนับสนุนของเธอว่า
“โปรดยกโทษให้กับความล้มเหลวของฉันด้วย ฉันถูกปัญหาต่างๆ ของตัวเองบีบบังคับ”
                
ตอนที่เธอ เสียชีวิตนั้น เธอยังคงเป็นบุคคลที่เป็นต้นเหตุแห่งความแตกแยก เธอเป็นที่รัก
ของพวกวรรณะต่ำแต่เป็นที่เกลียดชังของชนวรรณะสูง เธอฝันว่าสักวันหนึ่งเธอจะได้เป็น
นายกรัฐมนตรี โดยเดินตามรอยเท้าของนางอินทิรา คานธี ตอนนั้นเธอกำลังยืนอยู่ใต้ต้น
สะเดา ตรงสนามหญ้าหน้าบ้านในกรุงนิวเดลีเธอเพิ่งกลับจากการประชุมรัฐสภาสมัยหนึ่ง 

ทันใดนั้นก็เกิดเสียงกระสุนปืนพิฆาตดัง ขึ้นหลายนัด บอดีการ์ดของเธอได้รับบาดเจ็บ 
แต่ตัวเธอเองเสียชีวิตทันที ตอนเสียชีวิตเธออายุได้ 37 ปี


                 
                
ผู้ลอบสังหารผูลัน เทวี หลบหนีไปในรถลากติดเครื่อง ซึ่งต่อมาก็รู้ตัวมือสังหารเมื่อ 
สองสามวันต่อมา มีชายคนหนึ่งชื่อ เชอร์ ซิงค์ รานา (Sher Singh Rana) 
ได้จัดงานประชุมเพื่อประกาศว่าเขาเป็นผู้สังหาร ผูลัน เทวี เพื่อแก้แค้นให้กับเหตุการณ์
สังหารหมู่ใน Behmai “ ความอัปยศอดสูที่เกิดต่อพวก Rajput ตอนนี้ได้รับการ
ลบล้างแล้ว ”
 
แต่ ทางตำรวจสงสัยว่าจะเป็นการจ้างวานฆ่าจากสามีคนล่าสุดของ พูลัน เทวี
คือ ยูเหม็ด ซิงค์ ผู้ซึ่งโกรธแค้นจากการที่พูลัน เทวี ขู่ไว้ว่าจะตัดชื่อเขาออกจากพินัยกรรม
ของเธอ แต่ตำรวจก็ไม่สามารถจะหาหลักฐานมามัดตัวเขาได้
                
จาก นั้นก็มีคำถามตามมาว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้รับการคุ้มครองมากกว่านี้และแน่นหนากว่า
นี้ล่ะ ในเมื่อตำรวจรู้ว่าชีวิตเธอตกอยู่ในอันตราย !ตำรวจคนหนึ่งกล่าวในช่วงระหว่าง
การรณรงค์หาเสียงในปี 1996 ว่า “เราใช้เวลาหลายปีตามล่า ผูลัน เทวี ตามหุบเขาลึก
แต่ตอนนี้เธอเป็นผู้ สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งที่เราจะต้องปกป้องคุ้มครองชีวิตเธอ ” 
แต่พวก เขาไม่ทำ
                

และเรื่องราวชีวิตของผูลัน เทวีก็จบลงเพียงเท่านี้แหละค่ะ
                 

รวบรวมข้อมูลจาก+ +
http://www.shelovesreading.com/main/readarticle.php?article_id=149

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jitandmom&month=12-2006&date=29&group=6&gblog=7

 http://en.wikipedia.org/wiki/Phoolan_Devi

Credit: http://atcloud.com/stories/80700
#การเมือง
Messenger56
ตัวประกอบ
สมาชิก VIP
22 พ.ค. 53 เวลา 21:44 8,452 9 84
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...