เมื่อประมาณปี2555 ได้มีข่าวการค้นพบกำแพงเมืองโบราณและแผ่นจารึกอักษรที่คาดว่าจะอยู่ในยุคเมโสโปเตเมีย จขกท. อยากจะเอามาเล่าสู่กันฟังใหม่อีกครั้งเพื่อนเป็นแรงสนับสนุนการค้นคว้าและวิจัย ก่อนอื่นเรามาศึกษาประวัติและตำนานเล่าขานของเวียงเจ็ดลินกันก่อนเลย “เวียงเจ็ดลิน” บริเวณพื้นที่เชิงดอยสุเทพ ที่มีลักษณะเป็นเขตคันดินและคูน้ำก่อขึ้นเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร
รูปภาพจาก Googlemap (พยายามทำเส้นประให้เป็นนวงกลมสุดๆแล้ว ) จากหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเวียงเจ็ดลิน ที่รวบรวมโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ ระบุว่า เวียงเจ็ดลิน ที่ปรากฏหลักฐานขอบเขตคันดินรูปกลม 2 ชั้น ระหว่างคูน้ำบริเวณเชิงดอยสุเทพ (ด้านทิศตะวันออก) นั้น แม้ในระยะประวัติศาสตร์ล้านนา หลักฐานด้านเอกสารได้กล่าวถึงชื่อเวียงเจ็ดลิน ในรัชกาลพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ. 1945 – 1985) คราวศึกจากเมืองสุโขทัย (พระเจ้าไสลือไท) ยกทัพมาประชิดเมืองเชียงใหม่ จากการที่เจ้ายี่กุมกามผู้เป็นพี่พญาสามฝั่งแกน ได้ขอกำลังพลมาช่วยตีเมืองเชียงใหม่หวังได้ขึ้นครองราชย์ ที่ต่อมาเกิดการประลองฝีมือทหารแทนการต่อสู้ทำสงครามกัน ปรากฏฝ่ายเชียงใหม่สามารถประลองได้รับชัยชนะ ทำให้ฝ่ายสุโขทัยถอยกำลังออกไปตั้งค่ายพักกำลังพลอยู่ที่ดอยเจ็ดลิน พร้อมได้ขึ้นสรงดำเศียร (อาบน้ำ-สระผม) ที่ดอยผาลาดก่อนการยกทัพกลับสุโขทัย เมื่อสุโขทัยยกกำลังพลกลับไปแล้ว พญาสามฝั่งแกนได้ถือเอานิมิตที่พระเจ้าไสลือไทขึ้นไปสรงน้ำ ณ ดอยผาลาดแล้วเกิดมีใจครั่นคร้ามจนเลิกทัพกลับไปนั้น เป็นสาเหตุทำให้สถาปนาเวียงเจ็ดลินขึ้นที่บริเวณดอยเจ็ดลิน ซึ่งจากเรื่องราวและเหตุการณ์ดังกล่าว พิจารณาว่าคือตำแหน่งที่ตั้งเวียงเจ็ดลินในปัจจุบัน ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกระยะทางเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ดังนั้น ความเป็นเวียงหรือชุมชนที่มีความเจริญในสมัยประวัติศาสตร์ของล้านนา ก็ได้เริ่มต้นขึ้นที่เวียงเจ็ดลินอีกครั้งตั้งแต่รัชกาลพญาสามฝั่งแกน หรือราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ความน่าสนใจและเด่นชัดของเวียงเจ็ดลินคือ การสร้างขอบเขตคู-คันดินที่มีลักษณะกลมนั้น จัดเป็นรูปแบบผังเมืองที่แปลกหรือพิเศษกว่าชุมชนโบราณแห่งอื่น ๆ ที่สามารถพิจารณากำหนดอายุสมัยได้ทั้งในรุ่นเก่าก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 หรือรุ่นพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา หรืออาจเป็นรูปแบบที่ทำสืบเนื่องกันมา การสร้างขอบเขตคู – คันดินในระยะแรก ๆ นั้น เป็นไปได้ว่าเป็นการสร้างแนวป้องกันน้ำจากกรณีน้ำหลากท่วมขังในฤดูฝน อันจะเป็นอันตรายหรือก่อเกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรและบ้านเรือนอยู่อาศัย รวมถึงการได้ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ที่โดยมากลักษณะเขตคันดินจะวางตามแนวภูมิประเทศ เช่นยาวขนานไปตามลำแม่น้ำ หรือเป็นรูปวงรีตามขอบชายเนิน หรือรูปแบบคดโค้งตามลักษณะภูมิประเทศแบบอื่น ๆ โดยไม่จัดอยู่ในแบบรูปทรงเราขาคณิตใด ๆ อันเป็นรูปแบบคู-คันดินชุมชนโบราณในเขตล้านนาโดยทั่วไป ที่พิจารณาว่าได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนล้านนา ซึ่งแตกต่างกับรูปแบบเวียงพระธาตุ ในระยะที่ล้านนารับเอาอิทธิพลพุทธศาสนาแล้ว ที่มีผังการก่อสร้างตามคติจักรวา (Cosmology) หรือมณฑล (Mandala) ที่สร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญไว้ตรงจุดศูนย์กลาง
ด้านขวาเป็นมหาวิทยลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา และเมื่อ วันที่ 12 ก.พ. น.ส.อิสรา กันแตง อาจารย์ประจำสาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยนายพูนทรัพย์ วงศาศุกลปักษ์ นักวิชาการอิสระ นำคณะสื่อมวลชนตรวจสอบพื้นที่โดยรอบสวนสัตว์เชียงใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาถึงความเป็นมาของเมืองโบราณเวียงเจ็ดลิน พร้อมเปิดเผยถึงการค้นพบแนวกำแพงหินโบราณที่คาดว่าจะมีอายุยาวนานถึงหมื่นปีและแผ่นจารึกดินเหนียวอักษรรูปลิ่มโบราณอายุราว 8,000-15,000 ปี ซึ่งเป็นการค้นพบเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
นางอิศรา เปิดเผยว่า ในทางผังเมืองเวียงเจ็ดลินเป็นหนึ่งในเวียงหรือเมืองโบราณที่อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพในยุคร่วมสมัยกับเมืองเชียงใหม่ แต่จากการค้นพบเครื่องมือหินทำให้ทางโบราณคดีเชื่อกันว่าเวียงเจ็ดลินจะมีอยู่ก่อนเมืองเชียงใหม่ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของเวียงเจ็ดลิน โดยในปี 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กลุ่มนักวิชาการและหน่วยงานในบริเวณพื้นที่เวียงเจ็ดลินได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาค้นคว้าเพื่อฟื้นเวียงเจ็ดลินให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเช่นเดียวกับเวียงกุมกาม ขณะที่ล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้นำโครงการฟื้นฟูเวียงเจ็ดลินเข้า ที่ประชุม ครม. เมื่อครั้งประชุม ครม.สัญจรที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่ง ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ ล่าสุดกำลังเสนอไปยังกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน
ด้านนายพูนทรัพย์ อธิบายว่า จากการศึกษาในช่วงที่ผ่านมาพบว่าเวียงเจ็ดลินมีลักษณะพื้นที่เป็นวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร ซึ่งมีถนนห้วยแก้วในปัจจุบันตัดผ่าน ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมาได้ค้บพบแนวกำแพงหินโบราณเป็นวงกลมเรขาคณิตครอบทับวงกลมเดิมของเวียงเจ็ดลินอีกชั้นหนึ่งโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางครอบทับวงกลมเดิมราว 1,800 เมตร แนวกำแพงหินโบราณนี้คาดว่าจะมีอายุประมาณ 10,000 ปี ย้อนไปในยุคเมโสโปเตเมีย
นอกจากนี้ยังค้นพบแผ่นจารึกอักษรรูปลิ่มโบราณบริเวณริมห้วยน้ำริน บริเวณเจดีย์ร้างเชิงดอยสุเทพ ซึ่งหลังจากผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีอายุราว 8,000-15,000 ปี อักษรที่จารึกในแผ่นดินเหนียวสามารถเทียบเตียงได้กับอักษรรูปลิ่มหลายตระกูลในยุคเมโสโปเตเมีย
ทั้งนี้จากการถอดรหัสแผ่นจารึกพบว่าเป็นตัวเลขลั๊วโบราณ ระบุตัวเลข 917 และ 1834 ซึ่งเชื่อว่าจะมีความสัมพันธ์กับจุดที่ตั้งของเวียงเล็ดลินกับเมืองเชียงใหม่ที่มีเส้นรุ้งเส้นแวงเอียงเท่ากับแกนโลกหรือ 5 องศา ในเมื่อล้านปีก่อน นอกจากนี้ยังพบว่าเวียงเจ็ดลินมีความพิเศษต่างจากเวียงอื่น ๆ ประเทศไทยและในโลก เนื่องจากมีตาน้ำเป็นจุดศูนย์กลางของเวียง ต่างจากเวียงโบราณอื่น ๆ ที่จะมีศาสนสถานเป็นจุดศูนย์กลาง ขณะเดียวกันเวียงเจ็ดลินยังมีกำแพงล้อมรอบถึง 4 ชั้น โดยที่ไม่มีประตูหรือทางเข้าออกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าพิศวง ซึ่งเชื่อว่าเวียงเจ็ดลินอาจไม่ใช่ที่อยู่ของมนุษย์
นายพูนทรัพย์ กล่าวว่า การค้นพบทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการค้นคว้าหาความเป็นตัวตนของเวียงเจ็ดลินซึ่งหลังจากนี้ข้อมูลการค้นพบและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ผังเมือง จะถูกรวบรวมเพื่อเดินหน้าศึกษาค้นคว้าต่อไป
#ขอบคุณหัวข่าวจาก คม-ชัด-ลึก ค๊าาา
เผื่อบางคนลืมไปว่ายุคเมโสเป็นยังไง ให้นึกถึงนี่เลยค๊า
Ziggurat ซิกกูแรต
รูปซิกกูแรตแห่งเมืองบาบิโลน จากสารคดี บาบิโลน ช่อง7
ตัวอย่างอักษรในยุค เมโสโปเตเมีย จร้า!!