ภาพที่ช่วยให้สยามยังอยู่ยั้งยืนยง



ภาพที่ทรงคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ภาพนี้ เป็นภาพที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงฉายพระบรมรูปคู่กับพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 ราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซีย ที่พระราชวัง ปีเตอร์ฮอฟ (Peterhoff) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ซึ่งเป็นการเยี่ยมเยืยนตอบแทน และกระชับสัมพันธไมตรีที่ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2433 พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 พระองค์นี้ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น มกุฎราชกุมารแห่งกรุงรัสเซีย ได้เสด็จแวะเยือนประเทศไทย รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เป็นหัวหน้าคณะออกไปรับเสด็จ และถ้าจะกล่าวถึงความสำคัญของภาพนี้คงต้องทราบถึงเหตุการณ์เสด็จประพาสยุโรป ในครั้งนั้นเสียก่อน


 
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริว่า "ตั้งแต่ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมา ได้ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จไปทอดพระเนตรการต่างประเทศถึงเมืองใหญ่น้อยนอกพระ ราชอาณาเขตนับได้หลายครั้ง การที่เสด็จประพาสเมืองต่างประเทศดังได้เสร็จมาแล้ว แม้เมืองเหล่านั้นเป็นแค่เมืองขึ้นของมหาประเทศซึ่งอยู่ในประเทศยุโรป ก็ยังเป็นเหตุให้เกิดการเจริญรุ่งเรืองแก่พระราชอาณาจักรเป็นอันมาก และถ้าเสด็จได้ถึงมหาประเทศเหล่านั้นเอง ประโยชน์ย่อมจะมีทวีขึ้นอีกหลายเท่า" 

ได้ ทรงมีพระราชปรารภอยู่เช่นนี้เนืองนิจ ทั้งได้ทรงรับถ้อยคำอัญเชิญเสด็จมาแต่พระมหากษัตริย์และเจ้านายต่างประเทศก็ หลายครา


 

 สมัย นั้นอังกฤษได้ยึดครองประเทศต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งถึงอินเดียและพม่า และถือว่าพม่าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียแล้ว ก็เลยมาทางแหลมมลายู ฝ่ายฝรั่งเศสอยากได้ดินแดนแถบนี้ไว้เป็นเมืองขึ้นของตนบ้าง อังกฤษจึงแนะนำให้ไปยึดครองดินแดนที่ยังว่างอยู่คือ ดินแดนที่อยู่ระหว่างอินเดียกับจีน นั่นคือ ดินแดนประเทศไทย เขมร ลาว ญวน ฝรั่งเศสยึดครองได้เขมร ลาว ญวนแล้ว จนมาถึงประเทศไทยก็เกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 112 มีการยึดครองเมืองจันทรบุรีไว้เป็นประกันการชำระหนี้ค่าเสียหายที่ฝ่าย ฝรั่งเศสเรียกร้อง



 

พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรปเป็น ครั้งแรก ใน ร.ศ. 116 เพื่อหาทางยับยั้งการรุกรานของชาติมหาอำนาจ
 
เมื่อ พระองค์ทรงพบกับพระเจ้าซาร์นิโคลาสในโอกาสแรก ทรงปรับทุกข์ถึงเรื่องที่กำลังถูกคุกคามจากชาติมหาอำนาจในยุโรป หลังจากงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2440 แล้วพระเจ้าซาร์นิโคลาสจึงทรงนัดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาพบกันอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น (5 กรกฏาคม พ.ศ. 2440)


 สยามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หาใช่ประเทศล้าหลังซึ่งมหาประเทศจะอาศัยเป็นมูลเหตุเข้ายึดครองมิได้

 
และ ในเช้าวันนั้น จึงได้มีการฉายพระบรมรูปประวัติศาสตร์คู่กันดังปรากฏในภาพ
 
หลัง จากนั้น พระเจ้าซาร์นิโคลาสมีรับสั่งให้ส่งภาพนี้ไปลงในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุก ฉบับที่ออกในเมืองหลวงของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและได้ทรงเขียนอธิบายภาพด้วยพระองค์เองว่า
 
"สยาม เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หาใช่ประเทศล้าหลังซึ่งมหาประเทศจะอาศัยเป็นมูลเหตุเข้ายึดครองมิได้"
 
เมื่อ ภาพนี้ไปปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ที่กรุงปารีส ก็บังเกิดผลทันที ฝรั่งเศสถอนทหารของตนออกจากเมืองจันทบุรี และยุติการรุกรานประเทศไทยแต่บัดนั้น


 
การกระทำของพระเจ้าซาร์นิโคลาสครั้งนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการ ดำเนินวิเทโศบายชั้นสูงหรือทรงแสดงบทบาทนักการฑูตชั้นเยี่ยม เพื่อยับยั้งการรุกรานประเทศไทยของชาติมหาอำนาจในยุโรป โดยแสดงให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างพระองค์กับ พระมหากษัตริย์ไทย
 
เท่า กับเป็นการประกาศให้ชาติอื่นๆ รู้ว่า "กษัตริย์พระองค์นี้เป็นเพื่อนของฉันนะ" ชาติที่คิดจะรุกรานประเทศไทยต่อไปก็ต้องหยุดชะงัก เพราะในสมัยนั้นรัสเซียก็เป็นที่เกรงขามของชาติอื่นๆ ในยุโรป ประเทศสยามนึงได้ผ่านพ้นวิกฤติ ดำรงความเป็นเอกราชอยู่ได้ตลอดมา


กาลต่อมา พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทยต่างก็รู้สึกเศร้าโศกเสียใจในเหตุการณ์ ปฏิวัติที่ได้เกิดในประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2457 เป็นเหตุให้พระเจ้าซาร์นิโคลาสและพระราชวงศ์ของพระองค์ถูกปลงพระชนม์
Credit: http://atcloud.com/stories/83124
#สังคม
Messenger56
ตัวประกอบ
สมาชิก VIP
22 พ.ค. 53 เวลา 12:47 6,894 12 146
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...