ภาพของมงกุฎทองคำในพิพิธ ภัณฑ์ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ อาเซียนอาร์ต สหรัฐอเมริกา ปรากฏออกมาสู่สาธารณะ นักวิชาการด้านโบราณคดีเชื่อว่าจะเป็นเครื่องทองกรุเดียวกับวัดราชบูรณะในกรุนี้ยังพบทองคำเครื่องทองคำราชูปโภคจำนวนมาก จากคำให้การคนร้ายขุดกรุมหาสมบัติในพระปรางค์ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน พ.ศ. 2500 ร่วมด้วยคำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์และนักค้าของเก่า ประมาณว่าเครื่องทองคำราชูปโภคได้จากกรุวัดราชบูรณะมีน้ำหนักราว 100 กิโลกรัม
ทองคำส่วนหนึ่งกรมศิลปากรตามมาได้จากกรุแห่งนี้ส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา จากบันทึกของคำให้การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ข้อมูลกับผู้เข้าชม มีใจความสำคัญว่า ภายในกรุ ข้าง ล่างนั้นมีโต๊ะสำริด 3 ตัวตั้งอยู่ทิศตะวัน ออก ทิศใต้ และทิศเหนือ ตรงกลางของกรุ ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างราว 1 วาเศษ บน แท่นศิลากลางกรุ มีถาดทองคำ 3 ใบ บนถาดมีกระโถนทองคำ 4 ใบ มีไข่มุกอยู่เต็มกระโถน และพบแหวนประมาณ 2,000 วง บนแท่นยังพบพระแสงทองคำปักไว้ข้างขอบ โต๊ะ มีเสื้อทองคำ 8 ตัว มหามงกุฎกว้าง 1 ศอก สูง 2 ศอกเศษ มีจอกทองคำประดับด้วยทับทิม และมงกุฎราชินี 3 อัน ตลับทอง 12 ใบ
ส่วนบนโต๊ะด้านทิศตะวันออก มีมหามงกุฎราชินี 5 อัน วางไว้บนโต๊ะ เสื้อทองคำของพระมหากษัตริย์ เรือหงส์ทองคำ 1 ลำ คนพายเรือทองคำ พระพุทธรูป 20 องค์ กระบวยทองคำ 8 อัน พร้อมม่านทองคำขึงท้องพระโรงก้อนใหญ่
โต๊ะทางทิศใต้เต็มมีพระพุทธ รูป 25 องค์ ตลับ พระแก้วมรกต 4 องค์ พระพุทธทำด้วยทอง นาก เงิน มีผ้าพับ ไว้อย่างดี แต่เมื่อถูกก็เป็นผุยผง นอกจากนี้มีพระราชรถคันหนึ่งมีม้าเทียมคู่หนึ่งทำด้วยทองคำ มีขวด 6 ลูก ทำด้วยสีขาว มีแหวนอยู่เต็มขวด และเศษทองอีก 10 กระสอบ
จุดแสดงเครื่องทองราชบูรณะอยู่บนชั้นสอง ภายในห้องนี้ได้แสดงเครื่องประดับทองคำเครื่องใช้ทองคำของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นมงกุฎทองคำ เข็มขัด ปั้นเหน่ง แหวน กำไล สร้อยพระหัตถ์ แผ่น ทองคำและตู้สำคัญจัดแสดงพระแสงขรรค์ชัยศรี องค์พระแสงขรรค์ทำด้วยเหล็กมีคม 2 ด้านแฝงความหมายของความยุติธรรมแห่งองค์พระมหากษัตริย์ หากต้องลงดาบจะไม่สามารถเลือกด้านใดด้านหนึ่งได้ ฝักทองคำจำหลักลายประจำยาม ลายกนกประดับอัญ มณี ด้ามทำด้วยเขี้ยวหนุมาน หรือหินควอทซ์ซึ่งมักเรียกว่าแก้วผลึกเป็นรูปแปดเหลี่ยม
อ.เผ่าทอง ทองเจือ คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี เท้าความให้ฟังถึงประวัติของวัดราชบูรณะว่า วัดนี้เจ้าสามพระยาเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1967 ในสมัยอยุธยาตอนต้น การ สร้างพระปรางค์องค์นี้ พระเจ้าสามพระยาโปรดให้สร้างกรุขึ้นด้วย คือห้องเก็บสมบัติ นั่นเอง ซ้อนลงไปใต้ดิน 3 ชั้น แล้วบรรจุของมีค่า เสร็จแล้วจึงก่อพระปรางค์ทับ การ ที่ทำเช่นนี้คนโบราณเชื่อว่าเป็นการสืบทอดพระศาสนา เพราะเชื่อว่าเมื่อพุทธศาสนาครบ 5,000 ปี จะล่มสลายหากแต่สมบัติยังอยู่ จะเป็นเครื่องยืนยันว่าเมื่ออดีตดินแดนแห่งนี้เคยมีพระพุทธศาสนา
เจ้าสามพระยา เป็นลูกของสม เด็จพระอินทราชา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีโอรสนามว่า พระอ้ายพระยา, พระยี่พระ ยา, พระสามพระยา ต่อมาปี พ.ศ. 1952 สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคตโอรสองค์ใหญ่ยกทัพจากสุพรรณมาเพื่อชิงราชสมบัติ อยุธยากับเจ้ายี่พระยา ที่ยกทัพมาจากเมือง แพรกศรีราชา ทั้งสองพระองค์เคลื่อนทัพมาบริเวณวัดป่าถ่านในปัจจุบัน ทรงพระแสงของ้าวฟันต้องพระศอขาดพร้อมกัน เจ้าสามพระยาจึงเสด็จจากเมืองชัยนาทมาเสวยราชสมบัติแทน ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงอุทิศถวายเพลิงสร้างพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุและพระวิหารเป็นพระอารามเรียกว่า "วัดราชบูรณะ"
อ.เผ่าทองเล่าต่อว่า เครื่องทองทั้งหมดอยู่ในห้องนี้ได้จากเจดีย์องค์หนึ่งพระปรางค์ (เจดีย์ทรงฝักข้าวโพด) ตั้งแต่ พ.ศ. 1967 กรุแห่งนี้ปิดมาตลอดจนกระทั่งปี 2501 มีคนร้ายเข้ามาลักลอบขุดพระ ปรางค์ แล้วเจอกรุทองคำ เริ่มมีการลักลอบ ขโมยออกมาทีละเล็กทีละน้อย จนสมัย นั้น มีการพูดกันว่าร้านทองใน ต.หัวรอ ต้องเปิดเตาเบ้าหลอมทองทั้งวันทั้งคืน เพื่อ ให้ออกมาเป็นทองคำแท่งเลี่ยงไม่ให้ตำรวจ จับได้
ต่อมาตำรวจและกรมศิลปากรจึงได้ทราบว่ามีการลักลอบเนื่องจากมีคนร้ายสติฟั่นเฟือนเพราะร่ำรวยจากทรัพย์สมบัติที่ขุดได้ ออกมายืนถือพระแสงขรรค์รำอยู่ที่ตลาด เมื่อจับมาตรวจสอบพบว่าเป็นทองคำจริง สอบปากคำและตรวจสอบกรมศิลปากรจึงตามไปขุดค้นขึ้นมา
ทองคำที่เห็นอยู่ในห้องแห่งนี้เป็นเพียงส่วนเดียวที่เหลือจากการขุดของคนร้าย สันนิษฐานว่าทองคำมหาศาลพบในกรุแห่งนี้บางส่วนมาจากเมืองเสียมเรียบของเขมร เนื่องมาจากเจ้าสามพระยาไปตีเมืองเสียมเรียบได้
สิ่งสำคัญภายในห้องแสดงเครื่องทองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งนี้ ยังมีองค์พระปรางค์สีน้ำตาล มีแผ่นทองแปะอยู่บางส่วน เป็นพระปรางค์องค์จำลองที่เจ้าสามพระยาสร้างไว้ เพื่อจำลองการสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งบรรจุไว้ในกรุด้วยจึงก่อพระปรางค์องค์ใหญ่ทับ คนร้ายไม่สามารยกพระปรางค์ทั้งหมดออกไปขายได้ ต้องใช้มือฉีกทองออกเนื่องจากเป็นทอง 100 เปอร์ เซ็นต์ มีความอ่อน ทองที่ฉีกไปคาดว่านำไปหลอมหมดแล้ว ทำให้หลงเหลือเท่าที่เห็น
อาจารย์เผ่าทองยังบอกเล่าถึงความสำคัญของเครื่องทองเหล่านี้ที่สำคัญได้แก่ มงกุฎทองถักชิ้นนี้น่าจะเหมือนกับที่แสดงในสหรัฐ แต่ควรเรียกว่า "ศิราภรณ์" หรือเครื่องประดับพระเศียร เป็นตาข่ายถักด้านหลังเว้าเป็นวงโค้ง เพื่อที่จะรัดเกล้าหรือมวยผมต่ำอยู่ที่ท้ายทอยพอดี
"ศิราภรณ์ที่พบในสหรัฐเป็นทอง คำทึบ แต่อันที่เห็นเป็นทองคำโปร่ง อาจเปรียบได้เหมือนเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ในฤดูต่าง ๆ องค์ทึบน่าจะเป็นฤดูหนาว องค์โปร่งน่าจะเป็นฤดูร้อน ลายด้านข้างเป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนลายเดียวกับที่ฟิลาเดลเฟีย"
ทองคำภายในกรุ ส่วนหนึ่งนำมารีดให้เป็น "ลานทอง" โดยนำทองคำมารีดเป็นแผ่นแล้วจารึกข้อความพระไตรปิฎก ต่าง ๆ ลงไป เป็นการสืบพระศาสนา และยังมีทองคำแผ่นที่ตีเป็นรูป ช้าง ม้า หัว ควาย สัตว์สำคัญในพระพุทธศาสนา และหลักฐานสำคัญถึงความสัมพันธ์ระหว่างแผ่นดินล้านนากับอยุธยา คือ "พวงหมากสายทองคำ" ที่มีให้ชมอยู่ภายในห้องนี้ เป็นวัฒนธรรมของคนเหนือที่ยังทำอยู่ โดยเอาหมากมาร้อยแล้วตากแห้งเพื่อเก็บไว้กินในฤดูที่ไม่มีหมาก
ลวดลายสำคัญที่จำหลักอยู่บนสร้อยพระหัตถ์ มีส่วนประกอบของหอยเบี้ย ทับทิม เรียกว่า "เบี้ยแก้" คนโบราณมักเอาหอยเบี้ยมาลงอาคมแล้วพกติดตัวไว้ป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามาหาตัว ลวดลายของเข็มขัดทองประดับทับทิมเป็นเครื่องทองอีกชิ้นที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ได้ว่าสมัยนั้นเริ่มมีสัมพันธ์กับจีนแล้ว โดยดูจาก "ลายเงื่อนพิรอด" มีลักษณะบิดไปบิดมาเป็นเกลียว เงื่อนพิรอดหมายถึงเชือกที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด เป็นสัญลักษณ์ของความอยู่ยงคงกระพันมีอายุยืนยาว
บันทึกอีกหน้าแห่งความยิ่งใหญ่ยศยิ่งฟ้าของอยุธยามรดกโลก.
วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะอยู่ริมถนนมหาราช ห่างจากวัดประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันสามารถเข้าไปชมภายในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะได้ กรุนี้มี 2 ชั้น ชั้นบนสูงจากระดับพื้นประมาณ 5 เมตร กรุด้านล่างอยู่สูงจากพื้นดิน 2.2 เมตร ผนังส่วนล่างเจาะเป็นซุ้มทั้ง 4 ด้าน แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีสมบัติล้ำค่า อยู่ แต่ยังมีสิ่งที่มีคุณค่าทางศิลปะ คือจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นภาพชุมนุมประกอบลายดอกไม้ร่วง ผนังทิศตะวันออกและทิศใต้ เขียนภาพแบบจีน เขียนด้วยสีฝุ่นใช้สีแดง ดำ และขาว