.....ไปอยู่ดาวอังคารกันครับ

....จากเพื่อนบ้านที่ใกล้ ชิดของเรา

....ดาว อังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาว อังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า)

....ถ้าเทียบกับโลกก็ต่าง กันแค่นี้เอง จะยกขบวนไปอยู่กันไหวไหมเนี่ย

.......ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะเป็นตำแหน่งที่ 4 ด้วยระยะห่าง 228.5 ล้านกิโลเมตร ด้วยความเร็ว 23.3 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าโลก 6.4 กิโลเมตรต่อวินาที

....เข้าไปดูใกล้ๆกันครับ

....โดยรอบปีหรือคาบโคจรรอบดวงอาทิตย์ของ ดาวอังคารคือ 687 วัน แต่มีความยาวของวัน หรือเวลาในการหมุนรอบตัวเองใกล้เคียงกับโลก คือ 24 ชั่วโมง 37 นาที มีแรงโน้มถ่วงเพียง 0.375 ของแรงโน้มถ่วงโลก และรัศมีในแนวเส้นศูนย์สูตร 3,396 กิโลเมตร จึงมีขนาดเล็กกว่าโลกกว่าครึ่ง

....ลองเข้าไปดูในชั้น บรรยากาศครับ เริ่มไม่เห็นเป็นสีแดงแล้ว ว้าววว

........นาซาระบุว่า ดาวอังคารมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายคลึง กับโลก มีระบบหลายอย่างบนดาวอังคารที่มีลักษณะคล้ายกับโลก บนดาวอังคารมีชั้นบรรยากาศ ที่ประกอบไปด้วยชั้นแอทโมสเฟียร์ (atmosphere) ชั้นไฮโดรสเฟียร์ (hydrosphere) ชั้นไครโอสเฟียร์ (cryosphere) และชั้นลิโธสเฟียร์ (lithosphere)

....ภูมิประเทศมีหลายรูป แบบครับ

....... หรือกล่าวได้ว่าบนดาวอังคารมีทั้งระบบอากาศ น้ำ น้ำแข็งและธรณีวิทยา ซึ่งมีปฏิกิริยาต่อกันกลายเป็นสภาพแวดล้อมของดาวแดง

....บางภาพดูเหมือนทะเลเลย ครับ

.....ชั้น บรรยากาศของดาวอังคารประกอบไปด้วยก๊าซหลายชนิด แต่หลักๆ คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีถึง 95.72% รองลงมาได้แก่ก๊าซไนโตรเจน 2.7% ส่วนออกซิเจนมีเพียง 0.2% ที่เหลือเป็นก๊าซอื่นๆ ได้แก่ อาร์กอน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไอน้ำ ไนตริคออกไซด์ นีออน คริปตอน ฟอร์มัลดีไฮด์ ซีนอน โอโซน และมีเทน

....ส่วนภาพนี้เหมือนแม่ น้ำครับ

......โลก มีดวงจันทร์เป็นบริวารเพียงหนึ่งเดียว แต่ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารอยู่ 2 ดวงเล็กๆ ได้แก่ ดวงจันทร์โฟโบส (Phobos) และดวงจันทร์ไดมอส (Deimos) ซึ่งชื่อของดวงจันทร์ทั้งสองหมายถึง "ความหวาดกลัว" และ ความหวั่นวิตก" ตามลำดับ และเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อม้าศึกของ "เอเรส" (Ares) เทพเจ้าแห่งสงครามตามความชื่อของกรีก ซึ่งเป็นองค์เดียวกับ "มาร์ส" (Mars) เทพเจ้าแห่งสงครามตามความเชื่อโรมัน

....มาดูมุมสวยๆอื่นๆกัน ครับ

.....สภาพแวด ล้อมบนดาวอังคารเป็นสภาพแวดล้อมที่สุดขั้ว มีแต่ความแห้งแล้ง เต็มไปด้วยหิน หนาวเหน็บและปราศจากสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แม้แต่คนที่ชอบกีฬาเอกซ์ตรีมยังต้องล่าถอยกับสภาพของดาวแดง ซึ่งมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีหุบเขาที่ลึกที่สุด มีสภาพอากาศและอุณหภูมิที่เลวร้าย มีอุณหภูมิเฉลี่ย -46 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ -87 องศาเซลเซียส และสูงสุดอยู่ที่ -5 องศาเซลเซียส

....ภูเขาก็มีครับ

.....อย่าง ไรก็ดี มีสภาพแวดล้อมบนโลกที่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมบนดาวอังคาร (แม้จะไม่เลวร้ายเท่าก็ตาม) อย่างหลุมอุกกาบาตในเขตขั้วโลกเหนือของแคนาดา มีสภาพแห้งแล้งคล้ายกับพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งนาซาใช้เป็นสถานที่ทดสอบชุดอวกาศสำหรับใช้สำรวจดาวอังคาร และยังมีพื้นที่อื่นๆ อาทิ หุบเขาแห่งความตาย (Death Valley) ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ที่มีปล่องภูเขาไฟและหุบเขาเหมือนบนดาวอังคาร ทะเลสาบโมโนเลค (Mono Lake) ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ซึ่งน้ำได้ระเหยไปนานกว่า 700,000 ปี เหมือนแอ่งน้ำบางแห่งบนดาวอังคาร เป็นต้น

....จะอยู่กันไหวไหมเนี่ย

.....มีการตรวจพบ "ก๊าซมีเทน " บนดาวอังคาร พวยก๊าซมีเทน (methane) ที่ถูกตรวจพบหลายจุดบนดาวอังคาร (Mars) เมื่อปี 2546 สามารถชี้ไปยังกระบวนการทางธรณีวิทยาบนดาวเคราะห์สีแดง หรืออาจจะเกิดจากจุลชีพซึ่งหลบอยู่ใต้ผิวดาวแล้วปลดปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมา จากกระบวนการทางชีวภาพ

....อยู่ตรงไหนดีครับ

......มีเทน เป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกเช่นกัน แม้จะมีปริมาณน้อยนิดแต่ก็มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของโลก     เช่นเดียวกับบนดาวอังคาร  ดาวอังคารมีก๊าซส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์(ร้อยละ 95) และมีมีเทนอยู่น้อยนิดเช่นกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจพบก๊าซชนิดนี้บนดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ในระบบสุริยะดวงนี้

......ดูกันหลายๆมุมครับ

.......ข้อเท็จ จริงก็คือ ก๊าซมีเทนถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี 2546 โดยยานอวกาศ Mars Express  ขององค์การอวกาศยุโรป(European Space Agency:ESA)  โดยยาน Mars Express โคจรเป็นวงกลมรอบดาวอังคาร และพบสัญญาณบางอย่างที่อาจจะเป็นก๊าซมีเทน

......ดูอีกมุมครับ

......การค้นพบนี้ นำโดย การใช้กล้องโทรทรรศน์บนโลกจำนวน 3 กล้อง ซึ่งมีพื้นที่สำรวจครอบคลุมผิวดาวอังคารร้อยละ 90   เป็นเวลาสามปีดาวอังคาร หรือ 7 ปีโลก  และพบพวยก๊าซมีเทนที่แปรผันตามฤดูกาลและดูเหมือนจะออกมาจากสถานที่ใดที่ หนึ่งโดยเฉพาะ   ซึ่งรวมถึงบริเวณ  Arabia Terra,  Nili Fossae  และ Syrtis Major ของดาวอังคาร  โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก NASA และ  National Science Foundation

.........แผนดาวอังคาร แสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ ซึ่งรวมถึง Arabia Terra อันเป็นบริเวณที่พบพวยก๊าซมีเทน  Credit:astrogeology.usgs.gov

........เมื่อมองจากดาวอังคารโลกเราก็เหลืออยู่แค่จุด สว่างๆที่ลูกศรชี้ครับ

 

.......สุดท้ายครับ นี่คือภาพจำลองของดาวอังคาร ถ้ามีน้ำ หน้าตาจะเป็นแบบนี้ครับ

.....ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านมากครับที่ ติดตามชมจนจบ จริงๆตั้งใจว่าจะเอาภาพลงให้ดูกันเพลินๆอย่างเดียว ทำไปทำมาอดไม่ได้ ก็เลยหาข้อมูลเพิ่มอีกนิดเอามาฝากเพื่อนๆครับ หวังว่าจะให้ความรู้ได้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณทุกท่านมากครับ

Credit: http://atcloud.com/stories/81952
21 พ.ค. 53 เวลา 20:56 5,016 11 76
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...