ผมเป็นช่างทำบั้งไฟอยู่จังหวัดลำพูนครับอยากจะศีกษาการทำบั้งไฟของทางภาคอีสาน แต่เนื่องจากคำศัพท์ภาษาที่ใช้เรียกแตกต่างกัน ผมจึงไม่ค่อยเข้าใจในบางอย่าง จึงอยากขอพี่น้องชาวอีสานช่วยอธิบายหน่อยครับ อย่างเช่น
1.ลำตัวอาจจะละเอียดเน่เด้อคับแตรับรองบ่อแตกแล้วกะล้างง่ายคือ ขี้เกีย 3.6โล (เบอร์ 8) ถ่าน 8.5 ขีด (ละเอียดเป็นแป้งเลย)ปรุงทีละ2 บั้ง (7.2โล/17ขีด)
2.คอ หมื่อลำตัว1 โล ต่อผ่าบั้ง 3 ขีด ผสมกันแล้วผ่านตะแกรงเบอร์ 7(บ่เกี่ยวกับหมื่อลำตัวข้อ1เด้อต่างหาก)
3.หัว ลองของไผของมันเบิ่งก่อนตามถนัด
4.หาง 240 หนัก 4.0ขีด เดินหน้า2 ติดหนวดจับ 19 เขาบั้ง 27 .5 ลองเบิ่ง
ถ่าน 1 กิโล ขี้เกีย 4 กิโล น้ำ 3 ขีด ผสมกัน แล้วเอาท้องบั้งใส่ 5 ขีด เอาไปอัดเหลือบ่เป็นหยั่ง คอให้ตำตัวมาผ่าน เบอร์ 7เลย เอา 4 สัด ใส่ 1 ขีด 2 มิน อัด 310 อาจจะแรงไปหน่อยถ้าล้างได้ 300 ซัมซิม ท่อเผาเหลือน้อยเบาๆพี่น้อง แต่เดิน19 - 20 เข้าบั้ง 29 ตี่กึ่ง ล้างให้มันธรรมดาฝากน้ำนิดๆหมุนขึ้นสุดยอด ใครสนใจเรียกหาได้ที่เวป เดี๋ยวสิมาใหม่เด้อ
1.คำว่า หัว คอ ลำตัว อันนี้พอเข้าใจครับ คือหัวคือส่วนที่อยู่บนสุดของเลาบั้ง คอคือส่วนรองลงมาและต่อมาเป็น ลำตัว อันนี้ใช่ไหมครับ
2.อย่างข้อ2.ข้างบน *คอ หมื่อลำตัว1โล ต่อผ่าบั้ง3ขีด ผสมกัน อันนี้ไม่เข้าใจครับ และผ่าบั้งคืออะไรครับ
3.อย่างข้อ4*หาง240เซน หนัก4ขีดอันนี้เข้าใจแต่ เดินหน้า2 ติดหนวดจับ19 เข้าบั้ง27 อันนี้บ่เข้าใจเลยครับ
4.อย่างคำว่า “สัด”มันคืออะไรครับ และ หมื่อหัว คอ มันแตกต่างกับหมื่อลำตัวอย่างไรครับ
5.เช่น*คอให้ตำตัวมาผ่านตะแกรงเบอร์7 เอาใส่4สัด ใส่1ขีด2มินอัด310 อันนี้ไม่เข้าใจครับ
ขอความกรุณาพี่ๆเพื่อนๆช่วยแปลให้หน่อยนะครับผมอยากรู้จริงๆครับ ขอบคุณครับ....