บอร์ด
กระทู้: ศาลยกฟ้อง 'บอร์ดทอท.' ปมแก้ไขสัญญาสัมปทานดิวตี้ฟรี ชาญชัยไม่มีสิทธิร้อง


 

วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 66) ศาลอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ อท 46/2564 ที่ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ โจทก์ฟ้อง นายประสงค์ พูนธเนศ ที่ 1 กับพวกรวม 14 คน 'บอร์ดทอท.'เป็นจำเลย ข้อหาพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดฯ 

 

 

โจทก์ฟ้องว่า บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นใน ทอท. จำเลย ทั้งสิบสี่เป็นคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาสยานไทย จำกัด (มหาชน) วันเวลาตามฟ้องจำเลยทั้งสิบสี่ดำเนิน การมีมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีผลให้เป็นการแก้ไขสัญญาที่ ทำไว้กับบริษัทเอกชนรวม 5 สัญญา โดยลดผลประโยชน์ที่ ทอท. จะได้รับจากสัญญาที่ทำไว้เดิม ทำให้ ทอท. รวมทั้งโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษพวกจำเลยตามความผิด

 


ศาลพิเคราะห์แล้ว คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ที่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีนี้ สำหรับความผิดของจำเลยทั้งสิบสี่ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 นั้น ความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีองค์ประกอบของการกระทำความผิดสองลักษณะ 

 

 

ประการแรก จำเลยผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันเป็นตัวอย่างของการกระทำความผิดทางอาญาที่อาจมีผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมได้ เนื่องจากอาจมีพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนามุ่งต่อความเสียหายของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ และบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากเจตนาพิเศษดังกล่าวของจำเลยย่อมเป็นผู้เสียหายตาม และมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้

 

 

ประการที่สอง จำเลยผู้กระทำต้องมีเจตนาโดยทุจริต หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการกระทำความผิดทางอาญาที่ไม่มีเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหาย ซึ่งถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ดังนั้นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวในส่วนที่ถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจเป็นผู้เสียหายได้

4 มี.ค. 66 เวลา 22:52 282