หากเราเริ่มมีอาการก้มนิดก้มหน่อยก็ปวดหลัง ถ้าอายุยังไม่มากนัก ไม่เกิน 30 ปี เราต้องเริ่มกังวลแล้วว่า ร่างกายกำลังบอกอะไรให้เราทราบว่า กล้ามเนื้อหรือกระดูกของเราอาจจะไม่แข็งแรงมากนัก ต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษ ยิ่งเราอายุมากขึ้นแล้วด้วย การปวดตามร่างกายนั้นควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้มีอาการเรื้อรัง จนถึงขั้นจะต้องผ่าตัด ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อร่างกายในระยะยาวได้ ผลกระทบจากการผ่าตัดในระยะที่อันตรายมากแล้ว อาจทำให้เราไม่สามารถขยับนิ้ว แขน ขา ได้เหมือนปกติ
ความอันตรายจากอาการเจ็บปวดตามร่างกายนั้น บุคคลที่เสี่ยงส่วนมากจะสะสมมาจากการทำงาน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน สังเกตได้จาก คนส่วนมากที่ไปพบแพทย์ จะใช้งานหนัก ยกของหนัก ทำอาชีพที่จะต้องใช้พละกำลังมากมาย จึงทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอว ซึ่งถ้าเราพบว่ามีอาการเหล่านี้เราควรไปพบหมอที่คลินิกปวดหลัง ให้หมอตรวจเช็คอาการปวด ว่าจะต้องรักษาแบบใด ทานยาแบบใด นอกจากนี้โรคที่ฮิตกันในหมู่คนทำงานออฟฟิศ ทั้งอายุน้อยจนอายุเยอะนั้น ก็คงไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม อาการที่แสดงออกมาก็คือ ปวดคอ บ่า ไหล่ เอว หลัง บางคนเป็นหนักมาก ร้าวไปหมดทั้งหลังเลย ต้องไปพบนักกายภาพทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากเราจะดูแลร่างกาย เราจะต้อง balance ร่างกายของเราให้ดี อาจจะตั้งเวลาชั่วโมงละ 3-5 นาทีในการขยับร่างกาย ไม่นั่งอยู่กับที่ เพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เว็บไซต์ sikarin ได้แชร์บทความที่เป็นประโยชน์ไว้ว่า อาการปวดคอ ไหล่ หลัง จากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ และกลุ่มคนไอทีทั้งหลายที่ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน บางท่าทางจะทำให้เกิดการโค้งงอผิดรูปของกระดูกได้ และบางท่าทางทำให้เกิดอาการตึง ยึด จนเกิดอาการปวดในที่สุด อาการแบบนี้เรียกว่า “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) เคล็ดลับ การป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม ระวังเรื่องท่าทางในการนั่ง อย่านั่งไหล่ห่อ อย่านั่งหลังค่อม การยกของจากพื้นควรระวัง ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง แบ่งเวลาในการทำงานระหว่างวัน ควรพักผ่อนยืดเส้นสาย กายบริหารด้วยท่าง่ายๆ ที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ปรับการวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้ให้เหมาะสม ให้ตั้งตรงไม่เอียงซ้ายขวา ควรนั่งให้ห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 1 ไม้บรรทัด เพื่อถนอมสายตา จัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้ลุกขึ้นผ่อนคลายเพื่อเปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนอิริยาบถ การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการออฟฟิศซินโดรม การใส่ส้นสูง ควรใส่ไม่เกิน 2 นิ้ว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ