บอร์ด
กระทู้: เมื่อนวัตกรรมทางเทคโนโลยีส่งผลต่อเศรษฐกิจและคุณภาพของสินค้า

เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆส่วน เพราะช่วยลดระยะเวลาและแรงงานในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถกำหนดมาตรฐาน ทั้งในเรื่องของสินค้าและการผลิต รวมไปถึงมาตรฐานการตรวจสอบ QC ที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ยังไม่รวมเทคโนโลยีในเรื่องการแพทย์ ที่ทำให้การรักษาชีวิตคนไข้ หรือการตรวจวินิจฉัยโรคได้ตรงจุด และแน่นอนว่า เทคโนโลยี หากได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาประเทศและทำให้ประเทศมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ต้องการและมีกำลังซื้อเทคโนโลยีต่างๆเพื่อนำไปต่อยอดทางด้านการทำธุรกิจ

ประเทศไทยเราเองนั้นก็มีการวิจัยในเรื่องเทคโนโลยี แต่การสนับสนุนจากทางภาครัฐอาจจะยังมีข้อจำกัด บางครั้งผู้ทำการวิจัยอาจจะท้อและไม่สามารถดำเนินการไปต่อได้ การสนับสนุนทางภาคเอกชนจึงได้มาร่วมลงทุน และขอเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ร่วมกับผู้ผลิตเทคโนโลยี สิ่งที่เราควรลงทุนในด้านเกษตรกร ช่วยเหลือชาวบ้าน ชาวสวน นั่นคือ สินค้าทางเกษตรกรรมและต่อยอดให้กลายเป็นสินค้านวัตกรรมที่สามารถส่งออกขายได้ทั่วโลก อย่างที่เราเข้าใจว่า ประเทศไทยนั้น เกษตรยังไม่สามารถที่จะทำให้อาชีพนี้มีความมั่นคงได้ เราจึงได้อ่านข่าวว่า เกษตรไทยยังยากจนอยู่ และไม่มีนวัตกรรมที่เข้าไปช่วยในการเก็บผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผลผลิตทางเกษตรกรรมจากประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานของสินค้าที่มีคุณภาพสูงหรือมาตรฐานการผลิตที่มีกระบวนการจากต้นทางไปยังปลายทาง เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้บริโภคหรือลูกค้าจึงมีความมั่นใจและไว้ใจในการใช้สินค้า เว็บไซต์ bangko:)news ได้แชร์บทความน่าสนใจไว้ว่า คำว่า “นวัตกรรมสังคม” ก็คงจะหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ หรือนำวิธีการใหม่ๆ เพื่อมาทำให้สังคมดีขึ้น และเป็นสิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ที่ต้องได้รับการยอมรับจากสังคม มีการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง และสามารถแพร่ขยายไปยังสังคมอื่นๆ ได้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ 1) มีความใหม่ 2) ตรงความต้องการของสังคม 3) ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ 4) สร้างหรือเคลื่อนย้ายคุณค่าสู่สังคมได้ 5) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม ตัวอย่าง ของการทำนวัตกรรมสังคม อาจเป็นได้ตั้งแต่ การนำเสนอสินค้า บริการ กิจกรรม เพื่อสนับสนุนสังคมให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การก่อตั้งธุรกิจในรูปแบบธุรกิจหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม การดำเนินธุรกิจที่สนับสนุนการมีงานทำหรือการใช้ทรัพยากรของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและผลิตภาพ การจัดตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อสนับสนุนสังคม การมีแนวคิดในการพัฒนาท้องถิ่นหรือสังคมในเชิงกายภาพ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคม ทั้งในแง่ของอำนาจการปกครอง และการจัดปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมไปถึง การริเริ่มนำเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในสังคม

 

 

2 ธ.ค. 65 เวลา 13:49 705