'สนามบิน' ถือเป็นด่านแรกในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ทำให้ AOT ส่งสัญญาณชีพดีขึ้นหลังโคม่าหนักจากพิษโควิด ดูได้จากที่ช่วงนี้นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งต่างประเทศแน่นสนามบินกันเลยทีเดียว จากที่รัฐบาลประกาศเปิดการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
แม้โควิดที่ผ่านมาจะทำให้ AOT (ทอท.) ต้องป่วยหนักจนผลประกอบการดิ่งเหว กับการแบกภาระต้นทุน และไม่มีเงินเข้า แต่ก็พยายามช่วยกันประคับประคอง ออกมาตรการเยียวยา ทั้งพนักงานและ ผู้ประกอบการร้านค้าภายในสนามบิน ทั้งร้านเช่าขายของ ร้านขายอาหาร หรือผู้ที่ประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรี เพื่อให้ธุรกิจในสนามบินยังพอดำเนินงานต่อไปได้ ก่อนที่จะกลายเป็น 'สนามบินร้าง' เพราะร้านต่างๆ
การกลับมาเปิดประเทศในครั้งนี้ ร้านค้าดูเหมือนว่าจะประสบปัญหา "คนเดินผ่าน" อัตราการใช้สอยลดลงทำให้เศรษฐกิจท่องเที่ยวฟื้นช้ากว่าที่คาด
การที่จะประคองธุรกิจท่องเที่ยวทั้งเล็กใหญ่เหล่านี้ หนีไม่พ้น โครงการหรือนโยบายจากภาครัฐ เพราะหากไม่มีนโยบายมารองรับ คงได้เห็นภาพตัวอย่าง อย่างเช่น เกาหลีตอนนี้ก็ยังไม่มีดิวตี้ฟรีในสนามบินเพราะไม่ได้รับการเยียวยาและไปต่อไม่ไหว ญี่ปุ่นขนาดช่วยเยียวยาไปบ้างแล้วก็ยังร่อแร่ คนตกงานเศรษฐกิจตกต่ำ หรือกระทั่งผลกระทบจากการขาดคนที่สนามบินฮีทโทรว์ของอังกฤษและสนามบินในยุโรปก็สืบเนื่องหลายสาเหตุทั้งปัญหาปลดคนแล้วรับสมัครกลับมาไม่ทันเพราะทางยุโรปนั้นเลย์ออฟคนไปถึงเกือบ 59% รวมถึงสายการบินชื่อดังสัญชาติเยอรมัน ที่พนักงานรวมตัวกันเรียกร้องค่าตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงว่า ตลอดระยะเวลาที่ปิดประเทศนั้น สายการบินแบกรับหนี้กันเท่าไหร่
ถ้ามองภาพรวมแม้มาตรการรัฐบาลจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้ดีขึ้นก็จริง แต่บางมาตรการกลับยังช่วยได้
ไม่เต็มที่เท่าไหร่ อย่าลืมว่าการเปิดประเทศก็เหมือนกับคนป่วยหนักที่เพิ่งฟื้นจากโคม่า ไม่มีทางที่ฟื้นปุ๊บจะลุกขึ้นวิ่งได้เลย อย่างน้อยก็ต้องมีเวลาให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ รายกลาง รายย่อยได้ฟื้นฟูกิจการเพื่อกลับมาฟื้นตัวขึ้นเร็วๆ ซึ่งก็คือมาตรการช่วยกระตุ้นเยียวยาให้ถึงทุกกลุ่มในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จะเป็นการช่วยบรรเทาค่าใช้จ่าย, ลดดอกเบี้ย, ยืดระยะเวลา, ให้เงินกู้ฟื้นฟูกิจการระยะสั้น-ยาว หรือจะร่วมทุน เป็นตัวกลางประสาน หรืออะไรก็ได้ให้เร็วและช่วยมากขึ้นอีกไหนๆ ลุงก็บอกว่าลงเรือลำเดียวกันอยู่แล้วนี่ ทุกคน ทุกธุรกิจ ทุกระดับจะได้อยู่รอด!!