ในฐานะคนไทย ที่เกิดและเติบโตในพื้นแผ่นดินไทย ภาษาแรกที่เราเรียนรู้นั่นก็คือ ภาษาไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีรูปแบบที่ชัดเจน ไม่มีคนไทยคนใดที่ไม่มีความภาคภูมิใจในสิ่งนี้ แต่ในโลกใบใหญ่ที่มีประชากรกว่าหลายพันล้านคน หลายร้อยประเทศ แน่นอนว่าจะต้องมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ยังไม่รวมวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบสอดกันมาอย่างช้านาน กว่าหลายศตวรรษ ที่ผ่านมายังรุ่นสู่รุ่น และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เราควรอนุรักษ์ต่อไป
เมื่อพิจารณาว่า ภาษาที่เราจะใช้ในการสื่อสารกับชนชาติอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้านหรือจะเป็นชาวต่างชาติที่ข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรมาประเทศไทย ภาษาที่ใช้ส่วนมากจะเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเด็กไทยหรือคนไทยหลายท่านยังไม่สามารถมีพื้นฐานที่สามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่นได้ แม้ว่าเราจะมีการสอนภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษามาหลายสิบปี แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาจจะเป็นความล้มเหลว ในเรื่องบุคลากรผู้สอนหรือจะเป็นที่ระบบหรือไม่ ที่ทำให้เด็กไทยยังคงไม่ก้าวผ่านความสำเร็จทางด้านภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมองการณ์ไกลและหาที่เรียนพิเศษเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับเด็กๆ โดยเป็นการส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนในหลักสูตรสองภาษาที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ หรือจะเป็น Native Speaker ที่เข้ามีส่วนในการสอน ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทั้งการออกเสียงและการใช้บทสนทนาที่ถูกต้อง รวมถึงเข้าใจหลักไวยากรณ์ที่ไม่ต้องท่องจำแต่สามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เว็บไซต์ central ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ คือ คำศัพท์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ภาษา ซึ่งคำศัพท์ในโลกนี้มีมากมาย วิธีการพัฒนาคำศัพท์ให้ลูก มีดังนี้ การเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนต่างๆ เช่น การใช้ Flash Card ในการพัฒนาทักษะคำศัพท์ให้กับเด็ก จะทำให้การเรียนรู้คำศัพท์ของลูกสนุกขึ้นมาก และจดจำคำศัพท์ได้ดีกว่าบังคับให้ลูกท่องเพราะ คำศัพท์เป็นบท เพราการใช้ Flash Card เป็นการเรียนรู้ผ่านรูปภาพ คุณพ่อคุณแม่จะนำเสนอเป็นการเล่าเรื่องนิทาน การจับคู่ ก็ย่อมได้ Flash Card มีหลายแบบ เช่น ตัวอักษร สัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ เป็นต้น เก่งภาษาอังกฤษด้วยการดูหนัง เคยได้ยินไหม กับประโยคที่ว่า “ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษ ต้องดูหนังฝรั่งบ่อยๆ” สำหรับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดการ์ตูนให้ลูกดูเป็นภาษาอังกฤษ โดยปล่อยให้ลูกดูไปเรื่อยๆ จะช่วยให้ลูกได้ซึมซับการออกเสียงและการใช้ภาษาอย่างสนุกสนานโดยที่ไม่รู้ตัว แต่สิ่งสำคัญคือผู้ปกครองควรแบ่งเวลาให้ลูกน้อยได้ดูการ์ตูนไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง ต่อวัน หลีกเลี่ยงการเปิดการ์ตูนที่มีความรุนแรง การใช้กำลัง การใช้อาวุธ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น หลังจากนั้นผู้ปกครองลองให้ลูกน้อยพูดออกเสียงหรือถามคำถามเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนั้น เพื่อวัดความเข้าใจในภาษาของลูกน้อย