บอร์ด
กระทู้: เมื่อต้องรับมือกับความซนและความแสบของเจ้าตัวเล็กของบ้าน

หากจะให้พ่อแม่ผู้ปกครองหรือเหล่าญาติๆมาพูดถึงความแสบซนของลูกหลาน เชื่อว่าให้เล่าทั้งวันน่าจะยังไม่พอ เพราะมีเรื่องราวมากมายให้พ่อแม่ได้ปวดหัวและเจอกับประสบการณ์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยทารกที่พ่อและแม่จะมีความเหนื่อยล้าอย่างมากในการดูแลเด็กเล็กที่ยังต้องคอยป้อนนมทุกๆสามชั่วโมง ไหนจะการนอนของทารกที่จะนอนแค่เพียงไม่กี่ชั่วโมงและทำให้พ่อแม่ต้องคอยตื่นมาดูแลเมื่อยามที่ลูกน้อยส่งเสียงร้อง

เมื่อเข้าสู่วัยที่กำลังซน เราจะเห็นมุมหลายๆมุมของลูกที่เราคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นตัวตน บุคลิกภาพ การเลียนแบบพ่อและแม่หรือคนในบ้านที่เราไม่รู้ตัวเลย ไม่ว่าจะเป็นคำพูดคำจาหรือท่าทาง ซึ่งพ่อและแม่จะต้องยิ่งระมัดระวังคำพูดที่อาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กในวัยอนุบาลที่กำลังหัดจำและทำตามพฤติกรรมของพ่อแม่ และแน่นอนว่าโรงเรียนก็เป็นสถานที่หนึ่งที่เต็มไปด้วยเหล่าเด็กๆที่มาจากหลากหลายครอบครัว เด็กๆต้องเล่นและใช้เวลาด้วยกัน จึงทำให้เกิดการเลียนแบบคำพูดที่ได้ยินมาอย่างไม่ได้ตั้งใจ หากคำเหล่านั้นเป็นคำที่ไม่เหมาะสมและพ่อแม่ได้ยินเข้า จะต้องบอกสอนให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ควรพูดออกไป ในวัยเรียนอนุบาล3ที่กำลังจะเข้าชั้นประถมศึกษา อาจจะเป็นช่วงเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าตัวเล็ก ที่พ่อแม่อาจจะต้องหมั่นสังเกตการณ์ หากมีอะไรที่ผิดปกติ สามารถพาไปพบจิตแพทย์เด็กได้เบื้องต้น เว็บไซต์รักลูก ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า วิธีปรับพฤติกรรมเด็กดื้อเด็กซน โดยทั่วไปธรรมชาติของเด็กวัย 2 - 5 ขวบนี้ยังพูดสื่อสารได้ไม่ดีนัก เด็กจะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม ชอบทำตามหรือเลียนแบบผู้ใหญ่ แม้จะห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนดูเหมือนดื้อต่อต้าน นอกจากนี้ยังคิดว่าของทุกอย่างเป็นของตัวเอง หวงของเล่น ไม่รู้จักแบ่งปันสิ่งของ และอารมณ์ก็แปรปรวนง่าย ถ้าไม่ได้อะไรดั่งใจก็อาจจะร้องอาละวาดได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรมีความเข้าใจพัฒนาการและปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก ซึ่งจะช่วยให้การปรับพฤติกรรมเด็กประสบผลสำเร็จด้วยดี สาเหตุของพฤติกรรมดื้อซน พัฒนาการตามวัย เมื่อเด็กเติบโตเข้าสู่ขวบปีที่สอง เด็กจะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ และอาจมีลักษณะดื้อ ต่อต้านมากขึ้น สังเกตจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกิน การนอน การร้องอาละวาด เอาแต่ใจตนเอง เป็นต้น ผู้เลี้ยงดูจึงต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยนี้และไม่ควรคาดหวังกับเด็กมากเกินไป ควรมีความยืดหยุ่น เลือกใช้วิธีการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ พื้นฐานอารมณ์ เด็กแต่ละคนจะมีนิสัยหรือพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกันไป บางคนเรียบร้อยแต่บางคนกลับค่อนข้างซุกซน เป็นต้น หากพ่อแม่คาดหวังว่าลูกควรจะเรียบร้อย แต่ลูกไม่ได้มีพื้นฐานอารมณ์เป็นดั่งที่คาดหวัง พ่อแม่อาจจะมองว่าลูกซนมากผิดปกติและเกิดความหงุดหงิดกับพฤติกรรมของลูก ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงดูตามมาได้ ซึ่งพื้นฐานทางอารมณ์นี้เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด จึงจำเป็นที่ผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจและปรับทัศนคติต่อเด็กและการเลี้ยงดูให้เหมาะสมด้วยวิธีปรับพฤติกรรมเด็กดื้อเด็กซน โดยทั่วไปธรรมชาติของเด็กวัย 2 - 5 ขวบนี้ยังพูดสื่อสารได้ไม่ดีนัก เด็กจะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม ชอบทำตามหรือเลียนแบบผู้ใหญ่ แม้จะห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง จนดูเหมือนดื้อต่อต้าน นอกจากนี้ยังคิดว่าของทุกอย่างเป็นของตัวเอง หวงของเล่น ไม่รู้จักแบ่งปันสิ่งของ และอารมณ์ก็แปรปรวนง่าย ถ้าไม่ได้อะไรดั่งใจก็อาจจะร้องอาละวาดได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรมีความเข้าใจพัฒนาการและปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก ซึ่งจะช่วยให้การปรับพฤติกรรมเด็กประสบผลสำเร็จด้วยดี

 

 

26 ส.ค. 65 เวลา 11:32 457