ใครว่าความมั่นใจสร้างได้ไม่ยาก จริงๆแล้วสร้างยากมากถึงมากที่สุด แม้กระทั่งคนที่เราเห็นว่าเขานั้นเต็มไปด้วยความั่นใจ การกล้าแสดงออก แต่ลึกๆแล้วเขาอาจจะเก็บความไม่มั่นใจ ความไม่กล้าไว้ภายใน และฝึกฝน พยายามทำสิ่งเหล่านั้นให้ออกมาอย่างดีที่สุด สังเกตได้จากเวลาเราฟัง อ่านสัมภาษณ์ดารานักแสดง นักร้องในแวดวงอุตสาหกรรมบันเทิงระดับโลก เขาเหล่านั้นต่างก็เคยเป็นคนขี้อาย เงียบขรึม หรือแม้กระทั่งเหล่าไอดอลนักร้องเกาหลีที่สาวๆไทยต่างเป็นแฟนคลับอย่างเหนียวแน่น เวลาที่เขาเช็คว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มประเภทใดของ MBTI หลายคนผลออกมาว่าเป็น Introvert กันเยอะเลย ซึ่งก็ไม่ได้แปลกอะไร เพียงแต่ว่าคนประเภทนี้จะเสียพลังงานเมื่ออยู่กับคนเยอะแยะอย่างงาน Meet and Greet แตกต่างจากคนประเภท Extrovert ที่จะเสียพลังงานเมื่ออยู่คนเดียว
เมื่อเรานั้นคือผู้ที่รู้จักตัวเองดีที่สุด รู้ว่าจุดเด่น จุดด้อยเราอยู่ที่ตรงไหน รูปร่างหน้าตามีส่วนใดที่เราสามารถแก้ไขในส่วนนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งหน้า เรียน Make up คอร์สอย่างจริงจัง แค่เพียงปรับการแต่งหน้าเท่านั้นก็สามารถเปลี่ยนให้เราดูดีขึ้นมาก แต่ถ้าเป็นจุดที่เห็นความบกพร่องเด่นชัดและต้องใช้การแพทย์เข้ามาแก้ไขเท่านั้น เราควรศึกษาและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างเช่น การทำจมูก หรือการแก้หูกาง ที่อาจจะฟังดูเรื่องเล็กสำหรับหลายคน แต่ถ้าเราส่องกระจกและเห็นว่าเราไม่สบายใจ เราก็เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเรา หากเราจะออกไปพูดในที่สาธารณะหรือมีกิจกรรมที่จะต้องพูดต่อหน้าประชาชน เว็บไซต์ baanjomyut ได้แชร์เคล็ดลับไว้ว่า การสร้างความมั่นใจและแก้ไขความประหม่า เมื่อผู้พูดขาดความมั่นใจ ก็มักจะมีอาการประหม่า หรือตื่นเวทีปรากฏออกมาให้เห็น เราไม่สามารถทำให้ความรู้สึกประหม่าหายไปได้โดยเด็ดขาด แต่เราอาจจะควบคุมไว้ ทำให้ ลดน้อยลงได้ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง โดยพิจารณาถึงเหตุผล การหาประสบการณ์ การสร้างความอดทน การเตรียมเรื่องมาอย่างดี และการหาอุปกรณ์ประกอบการพูด เป็นต้น สาเหตุของความประหม่า มองเห็นจุดอ่อนของตนเองมากเกินควร ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวลมาก ไม่กล้าแสดงตนต่อหน้าคนอื่น เมื่อเกิดความไม่กล้า ความประหม่าก็เกิดตามมาทันที เกิดความขัดแย้งภายในตนเอง มีผลทำให้เกิดความว้าวุ่นใจ หรือวิตกกังวล จนกลายเป็นความประหม่า เวลาที่จะไปพูดในโอกาสสำคัญ ๆ ก็ปรารถนาจะประสบความสำเร็จ ในการพูด ต้องการพูดให้ดี ให้คนฟังสนใจและพอใจ แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความกลัวว่าการพูดนั้นจะล้มเหลว คนฟังจะเบื่อ ไม่ได้รับประโยชน์ หรือหัวเราะเยาะในใจเอาได้ เหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในตนเองขึ้น วาดภาพในใจไว้อย่างผิด ๆ ผู้พูดบางคนวาดภาพไว้ว่า ผู้ฟังที่ตนจะไปพูดนั้นคงจะฟังอย่างเพ่งเล็ง คอยจับผิดทุกคำพูด หากตนพูดอะไรผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะถูกนำไปวิพากวิจารณ์อย่างมาก ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนกลายเปความประหม่าตื่นเต้นได้