บอร์ด
กระทู้: คุยประเด็นหุ้น EA - ถามอีกกับอิก : การก่อสร้างทำโซล่าฟาร์ม

https://youtu.be/XrtlNMqgWkM

ช่อง ถามอีก กับอิก TAM-EIG Live สัมภาษณ์คุณหมู สุวัฒน์ สินสาฎก CFA, FRM, ERP กรรมการผู้จัดการ บล.ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟ เอส เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดย อิก บรรพต ธนาเพิ่มสุข, AFPT ที่ปรึกษาการเงิน สัมภาษณ์วันที่ 9 เม.ย. 2565 ในประเด็นของหุ้น EA ที่ถูกพูดถึงในช่วงนี้

การก่อสร้างทำโซล่าฟาร์ม โครงการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดนครสวรรค์ และ ลำปาง

ข้อเท็จจริงตอนนั้นโซล่าฟาร์มสร้างกันเมกฯ ละเป็นร้อยล้าน แล้วปี 2013 ตอนที่สร้างราคามันเริ่มลดลงมาเหลือประมาณ 70 ล้าน คนอื่นตอนที่สร้างปีเดียวกับเขาก็ใช้เงินประมาณนี้ เพราะฉะนั้นราคาก็ไม่ได้แพงกว่าคนอื่น

2 คือ มีการคดโกงกันรึป่าวในเรื่องของขบวนการจัดซื้อจัดจ้าง แต่สิ่งที่ไม่ได้พูดถึงคือ เทิร์นคีย์ (Turnkey Project คือ การจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ งานที่เจ้าของโครงการ ต้องการให้ผู้รับเหมา ไปดำเนินการออกแบบ และก่อสร้างแล้วเสร็จแต่เพียงผู้เดียว แปลให้เข้าใจง่ายกว่านั้น คือ โครงการที่ผู้ผลิตทำการผลิตหรือพัฒนาตามที่ตกลงว่าจ้างกันไว้)

หน้าที่ของบริษัทเมื่อมีการจ้างเทิร์นคีย์ก็แค่ไปตรวจสอบว่าเป็นไปตามสเป็กหรือป่าว ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบการซื้อของ ว่าถูกหรือแพง เพราะผู้รับเหมาอาจจะซื้อถูกได้ ถ้าบังเอิญว่าโปรเจกต์ที่เราไปจ้าง ไปมีโปรเจคต์เหมือนเจ้าอื่นที่ใช้วัสดุอุปกรณ์เหมือนกันแล้วเขาไปซื้อมากๆ ก็อาจจะได้ราคาถูก หรืออะไรก็แล้วแต่มันเป็นเรื่องของเขา ตราบใดที่เป็นเทิร์นคีย์หมายความว่าเราที่จ้างให้เค้าสร้าง ไม่ได้อยากจะรับความเสี่ยงเยอะแยะ ก็เป็นการเหมาไปเลย

พอเทิร์นคีย์จบแปลว่าที่เหลือผู้รับเหมาซึ่งเป็นบริษัทจีน เขาจะไปซับคอนแทรคใคร ซื้อแผงเท่าไหร่ ก็เป็นหน้าที่ของเขา ตราบใดที่เขายังซื้อและใช้สิ่งที่เรากำหนด โดยปกติการสร้างโซล่าร์ฟาร์มและวินฟาร์มจะมียี่ห้อและสเป็คกำหนดไว้แล้ว คือแบงค์นั่นเองเพราะแบงค์ก็จะกลัวว่าเป็นการออฟสเป็ค ประสิทธิภาพเหมือนกับที่นำเสนอหรือป่าว นั่นคือสิ่งที่แบงค์กลัว ดังนั้นแบงค์จะกำหนดไว้แล้ว ต้องเป็น 1 ใน 5 ยี่ห้อนี้ จะมาแบบซื้อยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไม่ได้ เพราะแบงค์จะไม่รับ แบงค์ไม่รับคือแบงค์ไม่ปล่อยเงินกู้ ดังนั้นการันตีได้เลยว่า เป็นการทำตามเงื่อนไข ถ้าทำออกมาแล้วมันถูกกว่าที่คิดไว้ ถ้าเราจ่ายเขาแพง แต่ตกลงกันไว้แล้วก็คือจบ

ของ EA เมื่อสร้างเสร็จแล้วกำไรต่อเมกกะวัตต์สูงสุดในประเทศไทย เลยส่งผลให้ IRR สูงมากถึง 30-40%

ที่ EA เติบโตมาได้ ก็มาจากผลงานในอดีตระยะยาว และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี เพราะทุกๆ โปรเจคที่เขาทำมันตอบตัวมันเองว่าเขาไม่ได้สร้างแพง แต่เขาสร้างดี บริหารจัดการทำให้กำไรมันดีกว่าคนอื่น และเขาก็เอาเงินพวกนี้ไปต่อยอดจากโซล่าไปวิน จากวินไปรถ EV นี่คือสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนควรทำไม่ใช่แค่ EA ผู้ประกอบการบางคนโตเสร็จแล้วจบเลยไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรต่อ เพราะไม่สามารถจะหาการเติบโตที่ยิ่งใหญ่หรือชัดเจนได้ ซึ่งมีให้เห็นเยอะแยะในตลาดหลักทรัพย์ บางคนทำไปแล้วเน้นเมกกะวัตต์ ไม่เน้นกำไร วินฟาร์มและโซล่าของ EA ทำผลประกอบการได้ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ EV จะต้องรอต่อไป

ในส่วนของการทำรถบัสรถเมล์ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า สุดท้ายตอนนี้ก็ทำได้แล้ว มีทั้งเรือ รถเมล์ EA ก็ต้องลงมือทำเองวิ่งเอง เพราะมันยากที่จะขายสินค้าโดยที่ไม่พิสูจน์สินค้าให้ลูกค้าเห็น จึงต้องวิ่งเอง เพราะต้องการพิสูจน์แบตเตอรรี่ ชาร์จเจอร์ ในส่วนของการทำเรือแล้ววิ่งอยู่เรือวิ่งได้จริงแต่ขาดทุน แต่ว่าบนกลยุทธ์ถือว่าเขาได้กำไร

รัฐบาลเองก็สนับสนุนรถยนต์ EV มียอดจองรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นกว่าปีก่อนๆ ส่วน EA ก็มาทำรถบัส รถเมล์ เรือไฟฟ้า และในประเทศไทยก็มี EA ที่ผลิตรถบัสรถเมล์ได้อย่างจริงจังและมากกว่าเจ้าอื่น ถ้าดูในรูปแบบธุรกิจยังไปได้อีกไกล

 

Credit : https://pantip.com/topic/41379714

8 พ.ค. 65 เวลา 23:14 412