ถ้าใครที่ยังคงติดตามกับประเด็นการเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบิน ที่มีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ ก็จะทราบกันดีกว่า
“มาตรการเยียวยา กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 65 นี้” และคำถามต่อไปคือ ทอท. จะยังคงมีการเยียวยากันต่อหรือไม่?
เรามวิเคราะห์ประเด็นนี้กันครับ
จากสถานการณ์การระบาดของโควิด ที่ได้ทำนิวไฮ มียอดผู้ติดเชื้อ ติดเชื้อใหม่ 25,456 ราย เอทีเคอีก 21,244 ราย
พร้อมกับยอดผู้เสียชีวิต 77 ราย สูงสุดเท่าที่มีมา เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 65 ที่ผ่านมา ก็บ่งบอกได้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศ ยังคงเป็นสิ่งประชาชนเองก็ต้องเฝ้าระวังตัวเองอย่างเข้มข้นต่อไป
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3237213
และเนื่องจากตัวเลขแบบนี้แหละก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศยังไม่สามารถที่จะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่จริงๆ ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาผ่านโครงการคนละครึ่ง และเราเที่ยวด้วยกัน ก็ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะพลิกเศรษฐกิจกลับมาได้ อย่างที่ทุกท่านทราบกันแหละครับ สิ่งเดียวที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับคืนมาได้คือการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว
แต่ก็ดูเหมือนว่าโชคจะยังไม่เข้าข้างเราสักเท่าไหร่ การเปิดประเทศที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี ก็มีอันเป็นต้องสะดุดลงไป เพราะโอมิครอน ทางรัฐเองก็ต้องปรับมาตรการรับนักท่องเที่ยว ยกเลิก Test and Go ยังคงเหลือแต่ภูเก็ตแซนบ็อกซ์ไว้ เพื่อเป็นการประคองๆ สถานการณ์ไปก่อน ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ทีนี้มาดูสถานการณ์โลกกันบ้างครับ ก็คงหนีไม่พ้นสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นไป และยังไม่มีทีท่าว่าจะปรับลดลงมาเลย ส่งผลให้ค่าครองชีพในประเทศเราปรับตัวสูงขึ้นเป็น 100 กว่าเหรียญไปแล้ว
เห็นไหมครับว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ไม่ได้เอื้อให้เศรษฐกิจของไทยและชาวโลกได้ลืมตาอ้าปากได้เลย
ขนาดชาวอังกฤษยังได้รับคำเตือนให้เตรียมตัวรับ ปีที่เศรษฐฏิจที่ลำบากที่สุดในชีวิตของคุณ
แล้วจะนับประสาอะไรกับประเทศไทยแลนด์ของเราหละ
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ ทอท. จะมีการต่ออายุการเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบินต่อไปอีก แต่ไม่แน่ใจเรื่องของระยะเวลาว่าจะเพิ่มสัญญาต่อไปอีกเมื่อไหร่ แต่ถ้าให้เดาผมว่ามันคงไม่น่าจะต่ำกว่า 2 ปี แน่นอน
ถ้ามีการต่อสัญญาการเยียวยาออกไป ผมว่าคงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ตรงกันข้ามผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่รัฐควรจะทำต่อไปด้วยซ้ำ เพราะภาคส่วนของการท่องเที่ยว และธุรกิจสนามบินเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นลำดับแรกๆ หลังจากที่มีนโยบายปิดประเทศ และที่สำคัญมาตรการการกระตุ้นและเยียวยาเศรษฐกิจรัฐบาลไหนๆ เขาก็ทำกันครับ
ยกตัวอย่าง
สหรัฐอเมริกากับแผน "Build Back Better"
เป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่และอายุยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ คือกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28% ของ GDP) เพื่อเยียวยารายได้ของแรงงานในระยะสั้น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจในช่วง 8 - 10 ปีข้างหน้า โดยมาตรการดังกล่าวแบ่งเป็นแผนงาน American Rescue Plan (ARP) 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.9% ของ GDP ที่มุ่งเยียวยาแรงงานและภาคธุรกิจ อาทิ การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือร้านอาหาร (Restaurant Revitalization Fund หรือ RRF) ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อมแห่งสหรัฐอเมริกา ที่เปิดให้ร้านอาหารหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องเข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนกว่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงการระบาดโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวก่อนเดือนมีนาคม 2566 และไม่จำเป็นต้องคืน หากใช้ในการจ่ายค่าเช่า เงินเดือนพนักงานเป็นต้นทุนซื้อสินค้า หรือใช้ในการซ่อมแซม
สหภาพยุโรปฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยกองทุน
สำหรับสหภาพยุโรปได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยยึดแนวทำงใกล้เคียงกับสหรัฐฯ แต่ทำในลักษณะการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวแบบเฉพาะเจาะจง และฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม โดยในส่วนแรก มีการจัดตั้ง National Tourism Fund ด้วยวงเงิน 2 พันล้านยูโร เพื่อเข้าซื้อโรงแรมหรือหุ้นของธุรกิจโรงแรม โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
และยังมีอีกหลายๆ ประเทศตามข้อมูลนี้ครับ
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256403GlobalTrend.aspx
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการเยียวยาส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ จะเน้นเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน เน้นกระตุ้นการท่องเที่ยว ธุรกิจร้านค้า SME ในประเทศ ประคองให้เศรษฐกิจยังคงเดินต่อไปได้ ภายใต้วิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ (New normal) ดังนั้นใครที่ติดตามประเด็นที่ทาง ทอท. เยียวยาผู้ประกอบการ ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ น่าจะเข้าใจได้ดี การเยียวยาไม่ใช่ปัญหา แต่มันคือทางออกให้กับเศรษฐกิจ เพื่อประคองผู้ประกอบการทุกภาคส่วนให้เดินหน้าไปต่อด้วยกันได้ครับ