ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีสินค้า/บริการ อย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งความต้องการของลูกค้านั้นก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ยิ่งธุรกิจของคุณตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีเท่าไหร่ โอกาสที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จก็มีมากขั้นเท่านั้น
หลาย ๆ แบรนด์จึงพยายามหาจุดอ่อนของธุรกิจ หรือปัญหาที่ลูกค้ากำลังเจออยู่ ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า “Pain Point” ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น และสามารถหาลูกค้าใหม่ให้ธุรกิจผ่านการนำเสนอสินค้า/บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเหล่านั้น
ปราการด่านแรกของหลาย ๆ แบรนด์ ว่าจะสามารถผ่านด่านนี้ไปได้หรือเปล่า เพราะหลาย ๆ ครั้งลูกค้าตัดสินใจไม่เลือกสินค้า/บริการนั้น ๆ เนื่องจากราคาที่สูงเกินไป เมื่อเทียบกับโซลูชั่นที่แบรนด์กำลังนำเสนอ ยิ่งถ้าเป็นประเภทธุรกิจที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูง แบรนด์อาจจำเป็นต้องเสนอโซลูชั่นที่คล้ายกัน แต่คุณภาพเหนือกว่าในเรทราคาเดียวกันกับแบรนด์คู่แข่ง หรือออกสินค้า/บริการที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันในเรทราคาที่ต่ำกว่า เพื่อดึงดูดและหาลูกค้าหน้าใหม่ให้เข้ามาทำความรู้จักแบรนด์ก่อนก็ยังดี
นอกจาก Pain Point ในเรื่องของราคา ก็มาถึงคราวของตัวสินค้า/บริการ ที่ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของแบรนด์เลยทีเดียว ดังนั้นแบรนด์จึงต้องหาลูกค้าของตัวเองให้เจอ ว่าลูกค้าของแบรนด์คือใคร มีความชอบความสนใจในเรื่องไหน เพื่อที่จะได้นำ Insight ตรงนั้นมาพัฒนาสินค้า/บริการของตัวเอง
ขอยกตัวอย่าง Case Study ในการนำ Insight มาพัฒนาสินค้าอย่าง UNO การ์ดเกมในตำนาน ที่ไม่ว่าใครต้องรู้จัก โดยความสนุกของมันอยู่ตรงที่การ์ดพิเศษอย่าง การ์ด Reverse, Skip, +2, +4 ที่เวลาได้ลงเมื่อไหร่ ความสะใจจะบังเกิดเมื่อนั้น UNO จึงได้ออกการ์ดที่ทั้งชุดเต็มไปด้วยการ์ดพิเศษเหล่านี้ออกมาให้สาวกได้ปล่อยความสะใจกันอย่างเต็มที่
กระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ยิ่งทำให้ลูกค้าหนีหายได้ไว เพราะลูกค้ามักเลือกความสะดวกสบายมากกว่า แม้ต้องจ่ายค่าสินค้า/บริการในราคาที่สูงขึ้นเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ A ทำการ Promote สินค้าบนช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook แต่เมื่อลูกค้าทักเข้ามาสอบถามสินค้า กลับส่งลิงก์ให้ลูกค้า Add Line เพื่อสั่งซื้อสินค้าอีกรอบหนึ่ง
เมื่อเทียบกับแบรนด์ B ที่ Promote สินค้าบนช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook เช่นเดียวกัน เมื่อลูกค้าทักเข้ามาสอบถามสินค้า แอดมินสามารถเสนอสินค้า พร้อมรับโอนได้เลยทันที เป็นการอำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยน App ไปมาหลายรอบให้ปวดหัว ถึงแม้ว่าสินค้าของแบรนด์ B จะสูงกว่านิดหน่อย แต่ถ้าแลกมาด้วยความสะดวกสบาย ลูกค้าเหล่านี้ก็พร้อมจะจ่ายเช่นกัน
ความประทับใจ คือ ยุทธวิธีสำคัญที่ทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อซ้ำ และแนะนำต่อให้กับคนอื่น ซึ่งบริการหลังการขายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการรักษาลูกค้าเดิม แถมยังสามารถหาลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่มได้อีกด้วย ยิ่งในประเภทธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การที่แบรนด์มีบริการหลังการขายที่ดี เป็นการสร้างแบรนด์ให้มี Value แตกต่าง และอยู่เหนือคู่แข่งขันคนอื่น ๆ ได้
หากธุรกิจสามารถจำแนก Pain Point ของแบรนด์ออกมาได้แล้ว ที่เหลือก็แค่อุดช่องโหว่นั้น แล้วค่อย ๆ ขยายกลุ่มลูกค้าออกไปผ่านการโฆษณา หรือหาลูกค้าทางออนไลน์ก็ได้เช่นกัน