หากเราจะเล่าเรื่อง วางสตอรี่เกี่ยวกับตัวเราหรือสิ่งที่เราทำ ซึ่งเราอยากจะให้สิ่งนั้นเป็นที่น่าจดจำและสามารถระลึกถึงได้แม้แค่เพียงแค่ได้เห็นสิ่งนั้น โดยเฉพาะหากเราทำธุรกิจหรือทำแบรนด์สินค้า เราเองก็อยากให้สินค้าของเราสามารถสร้างสิ่งที่น่าสนใจและภาพจำได้ การสร้างรูปแบบเฉพาะและอัตลักษณ์ของตัวแบรนด์และสินค้าจึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การวางแผนด้านการตลาด เพราะถ้าภาพจำนี้สามารถลงลึกไปยังกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการได้ ก็เปรียบได้กับว่าเราได้ทำการประชาสัมพันธ์และทำการตลาดแล้ว
การสร้างภาพจำนั้น ต้องใช้การวิเคราะห์ในเรื่องสตอรี่เรื่องราวของแบรนด์และการบริการของธุรกิจเป็นหลัก และเราสามารถนำสิ่งนี้มาออกแบบโลโก้ให้เข้ากับสินค้าของเราได้มากที่สุด ใช้สีสันและลายเส้นทางศิลปะสร้างสรรค์และใส่ความหมายเพื่อบ่งบอกตัวตนได้อย่างชัดเจน การสร้างตัวตนในด้านธุรกิจนั้น เว็บไซต์ softbankthai ได้แชร์ไว้ว่า Personal branding คือการสร้างตัวเองให้กลายเป็นแบรนด์ เป็นจุดเด่น เป็นเอกลักษณ์ เป็นตัวแทนของสินค้าหรือบริการ โดยการทำแบรนด์ลักษณะนี้จะเป็นการเน้นไปที่ตัวบุคคลหนึ่งๆ หรือกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะให้กลายเป็นจุดขาย โดยสร้างบุคลิกหรือภาพลักษ์ให้โดดเด่นเพื่อนำไปต่อยอดในด้านการตลาด ซึ่งหากทำแบรนด์ในลักษณะนี้ ลูกค้าก็จะรู้จักแบรนด์เราพร้อมๆ กับตัวบุคคลที่เป็นแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่นหากพูดถึงอิชิตัน เราก็ต้องนึกถึงคุณตัน ส่วนถ้าพูดถึงเถ้าแก่น้อย ก็นึกถึงคุณต๊อบ เป็นต้น ทั้งนี้หากเราอยากสร้างตัวเองให้เป็นแบรนด์ หรือขั้นกว่านั้นคือสร้างตัวเราเองให้กลายเป็นแกนกลางของธุรกิจ เราก็สามารถทำเองได้ง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทโฆษณาใหญ่ยักษ์ เพียงแต่เราต้องทำวางแผนกันสักเล็กน้อยก่อนจะลงมือสร้างเอกลักษณ์ให้ตัวเอง เริ่มแรกเลยเราต้องสำรวจตัวเอง ทั้งด้านความสนใจว่าเราสนใจสิ่งใดเป็นพิเศษ เพราะหากไม่ได้สนใจในสิ่งนั้น เราก็จะมีความกระตือรือร้นค่อนข้างน้อย และหากเจออุปสรรคก็อาจท้อถอยได้ง่าย จากนั้นก็สำรวจความสามารถของตนเองด้วยเช่นกัน ว่าเรามีความสามารถอะไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษ สิ่งใดที่เราทำได้ดี จากนั้นก็ตั้งเป้าหมายจากสิ่งที่สนใจและถนัด เช่น ฉันอยากมีรายได้เพิ่มขึ้น หรืออยากเป็นกูรูด้านนี้ เช่น เรามีความรู้ด้านการเงินการลงทุนอยู่แล้ว ก็สามารถต่อยอดจากสิ่งนี้ได้ การเป็นกูรูด้านการเงินก็ไม่ไกลเกินฝัน ถามคนรอบตัว หลังจากสำรวจตัวเองแล้วว่าเราเก่งกาจด้านนี้ก็อย่างเพิ่งมั่นใจเกินร้อย เราควรถามคนรอบข้างสักเล็กน้อยว่าสิ่งที่เราคิดเราเข้าใจเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า ถามคนรอบข้างว่าพวกเขามองเราเป็นอย่างไร ว่าความสามารถเราโดดเด่นอย่างที่เราคิดหรือไม่ หากใช่ เราเก่งมากแค่ไหน แต่หากไม่ แล้วเราเก่งด้านใดกันแน่ ให้พวกเขาช่วยคุณสำรวจความสามารถ จากนั้นลองคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของเป้าหมายเรา หรือหาทางแก้ไขจุดด้อยเหล่านั้น เช่น หากเราคิดว่าเก่งด้านการลงทุน แต่คนรอบตัวยังมองว่าเรายังเก่งไม่มากพอที่จะแนะนำคนอื่น เราก็ควรหาความรู้เพิ่มเติม หาทางแก้ไขจุดอ่อนนั้น