ความกังวลของพ่อแม่ตั้งแต่ที่รู้ตัวว่ากำลังมีลูก มีชีวิตเล็กๆที่เข้ามาแชร์มาเติมเต็มความสุข การเฝ้าทะนุถนอม บำรุงร่างกายอย่างเต็มที่เพื่อให้ลูกในท้องนั้นได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆที่เกิดขึ้นทั้งแม่และลูก แม้ว่าแม่นั้นจะมีความเครียดจากปัจจัยภายนอกมากมายเพียงใด แม่ก็จะพยายามอย่างหนักเพื่อไม่ให้ความเครียดนั้นได้ทำให้กระทบต่อการตั้งครรภ์ และหลายคนมองว่าการตั้งครรภ์นั้นไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บ ไม่จำเป็นจะต้องดูแลอะไรมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นการคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
เนื่องจากการตั้งครรภ์นั้นสามารถส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกายทั้งแม่และเด็กในครรภ์ได้ อย่างที่เราจะเห็นได้กับอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาการนั้นก็จะร้ายแรงแล้วแต่ที่เกิดขึ้นกับแม่แต่ละท่าน ซึ่งการดูแลอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ที่ฝากครรภ์นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อคลอดจนจะเข้าสู่วัยอนุบาล ก็จะมีความกังวลในการเรื่องหลักสูตรการศึกษาที่ดีที่สุด ซึ่งหลักสูตรอนุบาลนานาชาติถือว่าเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจและช่วยพัฒนาในด้านต่างๆของลูกในวัยเล็กอย่างเต็มที่ ส่วนอาหารและสารอาหารที่สำคัญสำหรับแม่ขณะตั้งครรภ์นั้น เว็บไซต์ Bangkok hospital ได้แชร์บทความที่น่าสนใจไว้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์กับสารอาหารสำคัญ หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการรับประทานอาหารนั่นคือ ทานให้หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได้หรือไม่แน่ใจควรให้ความสำคัญกับสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน เพราะสำคัญสำหรับการนำไปใช้เสริมสร้างอวัยวะและกล้ามเนื้อของมารดาและทารกจึงควรรับประทานโปรตีนจากสัตว์ ไข่ และพืชให้หลากหลาย ปริมาณที่คนตั้งครรภ์ต้องการเท่ากับ 75 – 110 กรัมต่อวัน ในทางปฏิบัติเพื่อให้ง่าย ควรเพิ่ม:)ส่วนโปรตีนแต่ละมื้อให้ไม่ต่ำกว่า 30 – 40% ก็น่าจะเพียงพอ สารโฟลิก กรดโฟลิกหรือโฟเลตเป็นสารอาหารสำคัญอันดับแรกที่คุณแม่ที่กำลังจะหรือตั้งครรภ์แล้วขาดไม่ได้ เพราะโฟเลต เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการสังเคราะห์ดีเอนเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ มีรายงานพบทารกสมองไม่ปกติและท่อหุ้มไขสันหลังไม่ปิดในมารดาที่ขาดสารโฟเลต เนื่องจากสมองและไขสันหลังจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ภายใน 28 วันหลังการปฏิสนธิ มีรายงานพบว่า การบริโภคสารโฟเลต 400 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์และในช่วง 28 วันหลังการปฏิสนธินี้ มีผลทำให้อุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของทารกลดลงอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์รับประทานสารโฟเลต 400 มิลลิกรัมต่อวัน โดยโฟเลตพบมากในอาหารจำพวกพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ พบมากในพืชใบเขียว ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว ตับ ไต และยีสต์ แต่อย่างไรก็ตามอาหารพวกนี้อาจไม่เพียงพอ ควรทานอาหารเสริมที่มีสารโฟเลตร่วมด้วยจะดีที่สุด