บอร์ด
กระทู้: เมื่อต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเราต้องเตรียมพร้อมในทุกๆเช้าด้วยสารอาหาร

ใครที่ต้องตื่นเช้ามากๆ เพื่อเตรียมตัวไปทำงาน ไปเรียน และระยะทางการเดินทางอาจจะไกล ต้องฝ่ารถติด การจราจรที่ติดขัด การตื่นเช้าจึงถือว่าเป็น 1 ในวิธีแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นแล้วเราต้องไม่ละเลยการดูแลตัวเอง ไม่ใช่แค่ต้องตื่นเช้ามากๆแต่ยังรวมไปถึงการเดินทางกลับบ้านในตอนเย็นหลังเลิกงาน เลิกเรียน ที่จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมงบนท้องถนน แม้เราจะมีรถเดินทางสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า หรือรถไฟใต้ดิน แต่ก็ไม่ใช่ทุกสถานีจะใกล้บ้าน อีกทั้งหากบ้านเราอยู่นอกเส้นทางของรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ไม่สามารถใช้บริการในส่วนนี้ได้

สารอาหารที่จำเป็นที่เราควรเตรียมให้กับตัวเองหรือคนในครอบครัวในตอนเช้านั้น จะต้องเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น สร้างพลังงานให้พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ อาจจะเตรียมอาหารสำรับไว้เผื่ออาหารกลางวันก็ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย การเตรียมอาหารส่วนมาก หลายคนจะทำในเวลากลางคืนและแช่เย็นไว้ เพื่อที่ตอนเช้าจะได้ไม่ต้องเร่งรีบมาก โดยการนำอาหารที่เตรียมไว้มาอุ่นไวในไมโครเวฟแค่เพียงไม่กี่นาที ก็พร้อมสำหรับรับประทาน สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายนั้นก็มีหลากหลาย เว็บไซต์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้แชร์ไว้ว่า “วัยทำงาน” เป็นคำเรียกช่วงวัยของคนที่มีอายุระหว่าง 20 - 59 ปี เป็นวัยที่ต้องการพลังงาน เพื่อใช้ในการทำงาน และทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ แต่เมื่ออายุก้าวเข้าสู่ 30 ปี ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย อาทิเช่น ความแข็งแรงของโครงกระดูก และกล้ามเนื้อลดลง ใบหน้าเริ่มมีริ้วรอย ผิวหนังเริ่มเ:)่ยวย่น ผมเริ่มหงอก อีกทั้งยังมีเวลาในการดูแลสุขภาพตนเองน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย โดยในวัยนี้มักเป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจากบุหรี่ สุรา หรือโรคที่มีสาเหตุมาจากการทำงาน เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ โรคเครียด เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และเลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคต่างๆ เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ สาเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่กวนใจวัยทำงาน อายุมากขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมต่างๆของร่างกาย ความอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 ขึ้นไป คำนวณได้จาก หากค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/เมตร2 จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย และประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง แต่ถ้าค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30.0 กิโลกรัม/เมตร2 ขึ้นไป เป็นโรคอ้วนระดับ 2 จะส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ไขมันในเส้นเลือด หลอดเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคมะเร็งบางชนิด ความเครียดจากการทำงาน และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ดื่มเครื่องดื่มชา หรือกาแฟเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือมีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด การรับประทานอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลในปริมาณมาก การขาดสารอาหารจำพวกวิตามิน เช่น วิตามินซี วิตามินอี และกรดโฟลิก เป็นต้น

5 พ.ย. 64 เวลา 13:40 384