บอร์ด
กระทู้: หมั่นดูแลสุขภาพกระดูกและฟันเมื่อสูงวัยขึ้นเพื่อทานอาหารได้อย่างมีความสุข

หากเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองก็จะยิ่งระมัดระวังมากขึ้นไปอีก เพราะร่างกายนั้นมีความเปราะบาง โดยเฉพาะกระดูกและฟันที่เราอาจมองข้ามได้ การออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อต่างๆ ช่วยให้เรามีสุขภาพกายและบริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าหากเราละเลยการดูแลในเรื่องของกระดูกแล้วล่ะก็ อาจจะเกดผลร้ายตามมาได้ เช่น การปวดข้อต่างๆตามร่างกายที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาการความรุนแรงนั้นอาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งเราควรดูแลอย่างใกล้ชิด

การรับประทานทั้งอาหารหลักที่มีประโยชน์และรวมไปถึงอาหารเสริมที่อาจจะเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันการผุของกระดูก และส่วนที่สำคัญนั้นก็คือความแข็งแรงของฟัน ที่จะช่วยให้เรารับประทานอาหารได้อร่อยและบดเคี้ยวอาหารต่างๆ แต่ถ้าผู้สูงอายุสูญเสียฟัน เราก็สามารถหาฟันปลอมทดแทนได้ หรือจะเป็นการทำ Dental Implant ที่ช่วยให้ฟันยังคงใช้งานได้อย่างดี ซึ่งมีบริการอย่างมากมายในคลินิกทำฟันและได้รับการดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนอาหารเสริมที่ควรรับประทานควบคู่ไปกับอาหารหลักเพื่อให้กระดูกและฟันแข็งเรงนั้น ซึ่งในเว็บไซต์ลองไลฟบาลานซ์ได้แชร์ไว้ว่า แคลเซียมมีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายสูงมาก โดยที่ร่างกายของคนเรา มีแคลเซียมร้อยละ 90 อยู่ในกระดูก แคลเซียมที่เหลือประมาณร้อยละ 10 จะอยู่ในเซลล์และเลือด โดยหน้าที่ของแคลเซียม คือ สร้างความ แข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ช่วย enzyme ในการทำงาน ทำให้เลือดแข็งตัว ช่วยให้หัวใจเต้นปกติ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าแคลเซียม มีความจำเป็นและเป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่ร่างกายจะสร้างแคลเซียมตั้งแต่เด็กจนถึงช่วงอายุประมาณ 30 ปี เท่านั้น หลังจากอายุ 30 ปี จะเริ่มมีการสลายแคลเซียมจากกระดูก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกมาขึ้น ร่วมกับ ผู้สูงอายุบางรายมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร ทำให้การได้รับแคลเซียมในแต่ละวันไม่เพียงพอ ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลงจากการขาดแคลเซียม เมื่อแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอก็จะเกิดการสลายแคลเซียมในกระดูกเพื่อดึงเอาแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดให้อยู่ในระดับคงที่เพื่อรักษาสมดุลของการทำงานของร่างกาย ดังนั้นในผู้สูงอายุจึงมักจะมีปัญหาเรื่องกระดูกบางและกระดูกพรุน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นผู้หญิง เมื่อประสบอุบัติเหตุจึงทำให้กระดูกหักและเปราะได้ง่าย การป้องกันปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงมีการแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเพิ่มเติมจากอาหารเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากร่างกายเราสามารถดูดซึมแคลเซียมที่เรารับประทานเข้าไปร่างกายดูดซึมจากอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย อายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมจะลดลง โดยวัยทารกดูดซึมได้สูงสุด 60 % และจะลดลง 15 – 20 % ตามวัยที่มากขึ้น ปริมาณวิตามินดี (Vitamin D) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมมีไม่เพียงพอ ซึ่งวิตามินดี ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้ และสามารถได้รับจากอาหารบางชนิดได้ โดยปกติวิตามินดีจะถูกเก็บไว้ใต้ผิวหนังในชั้นเนื้อเยื่อไขมัน เมื่อร่างกายเราสัมผัสแดดจะเกิดการสังเคราะห์วิตามินดีเก็บไว้ในชั้นใต้ผิวหนังต่อไป ส่วนอาหารที่มีวิตามินดี ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมากเช่นปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาทู (mackerel) เนื้อวัว ชีส ไข่แดง และ เห็ด เป็นต้น

2 ส.ค. 64 เวลา 22:08 366