เราอาจจะคิดว่าเรารู้จักลูกของเราดีที่สุด เพราะเราตั้งท้องเขามา เราเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เกิด เราเลยคิดว่าเราสามารถเลือกสิ่งต่างๆแทนเขาได้ ซึ่งการทำอย่างนั้นจะทำให้ลูกของเราไม่เป็นตัวของตัวเอง อย่างเช่น การเลือกเสื้อผ้า รองเท้าให้ลูกใส่ ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องเล็กๆนี้อาจสร้างเกราะบางๆให้เขาไม่สามารถก้าวผ่านได้ เราจึงควรให้ลูกได้มีส่วนในการเลือกและตัดสินใจในสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเขาเอง เพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าตัวเองชอบแบบใดและมีความสุขกับสิ่งนั้น
นอกจากนี้เรายังสามารถฝึกและสร้างวินัยให้ลูกตั้งแต่เด็กๆ เพื่อที่จะฝึกให้เขารู้จักทำทุกอย่างให้เป็นระบบระเบียบ อย่างการเลือกโรงเรียนให้ลูกเข้าเรียน เราก็ต้องทำความแนะนำกับตัวลูกว่าโรงเรียนและหลักสูตรแบบไหนที่จะตอบโจทย์ และการพัฒนาในทุกๆด้านของเขาอย่างครบถ้วน ไม่ว่าเขาจะเลือกเส้นทางด้านสายวิชาการ ด้านกีฬา ด้านดนตรีและการแสดง หรือด้านอื่นๆ อย่างหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ Early years international school ถ้าเราสามารถซัพพอร์ตลูกในด้านการศึกษาได้ ก็คงไม่แปลกหากเราจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก นอกจากนี้การเล่นอย่างมีจินตนการเป็นเพื่อนลูก ก็จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราสามารถทำได้โดย เริ่มจากตั้งคำถามปลายเปิดกับทุกการพูดคุย ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเล็กน้อยแค่ไหน เพื่อกระตุ้นให้ลูกใช้ความคิด กล้าแสดงออก รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของตัวเองได้จากความคิดเหล่านั้นโดยไม่มีถูกผิด เช่น ทำไมลูกถึงชอบตุ๊กตาล่ะ เมฆบนฟ้าเป็นรูปอะไร รู้ไหมว่าถ้าไม่แปรงฟันจะเกิดอะไรขึ้นฯลฯ หรือจะเป็นการพาลูกไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสนุก สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ หรือแม้แต่บ้านเพื่อน บ้านญาติพี่น้อง เพื่อให้ลูกได้มอง สังเกต และจดจำสิ่งต่างๆ รอบตัวที่มีความหลากหลายซึ่งจะเป็นเหมือนสร้างคลังข้อมูลที่ลูกจะนำไปใช้ในกระบวนการคิด และการประติดประต่อเรื่องราวต่างๆ ในอนาคต นอกจากนี้เราควรที่จะสร้างชั่วโมงกิจกรรมบันเทิงอยู่เสมอ เช่น ร้องหรือฟังเพลงที่ชอบ ดูหนังเรื่องโปรด หรือวาดภาพตามจินตนาการ เพื่อช่วยให้ลูกอารมณ์ดี ผ่อนคลาย และมีอิสระให้การคิดโดยไม่ติดกรอบข้อบังคับใดๆ ยิ่งลูกเปิดจินตนาการได้มากเท่าไหร่ ความคิดสร้างสรรค์ก็จะยิ่งมีมาก ฝึกจดบันทึกให้เป็นนิสัย โดยการลองชวนลูกมาทำสมุดบันทึกเล็กๆ เพื่อจดประโยคสั้นๆ ที่ลูกชอบ หรือจะวาดภาพ ติดสติ๊กเกอร์ ติดรูปภาพ แทนการเขียน จะช่วยเตือนความจำหรือลูกสามารถเปิดขึ้นมาดูเพื่อนำมาใช้งานได้ ไม่ควรพูดว่า “ไม่” และ “อย่า”กับลูก เมื่อลูกกำลังแสดงความคิดเห็น หรือกำลังสร้างจินตนาการ เพราะคำพูดเหล่านี้จะทำให้ลูกไม่กล้าคิดเพราะกลัวความผิด กลัวความแตกต่าง หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าสิ่งที่ลูกทำไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือไม่สร้างความคิดในแง่ลบ ก็ควรปล่อยให้ลูกแสดงออกได้อย่างเต็มที่ โดยเราทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำและสนับสนุน