นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ที่ประชุมเห็นชอบวงเงิน 699 ล้านบาท จ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ เป็นกรณีพิเศษ ในลักษณะเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนรวมระยะเวลา 7 เดือน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติมร่วมป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
โฆษกรัฐบาลรายนี้ระบุอีกว่า การให้เงินเพิ่มพิเศษนี้จะทำเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยอีกว่า ที่ประชุมอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับ เพื่อยกเว้นและลดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคลและบัตรประชาชน สำหรับประชาชนที่มาใช้บริการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งร่างกฎกระทรวงที่ว่ามานี้ คือ
นอกจากนี้ ยังทำให้คนสัญชาติไทย ในเขตพื้นที่ประสบภัยตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งการขอคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การออกบัตรประจำตัวประชาชน การแจ้งเกิดและการตายต่างท้องที่ การแจ้งการย้ายที่อยู่ รวมถึงการขอรับสำเนาทะเบียนบ้านยกเว้นค่าธรรมเนียม
ส่วนคนที่ไม่มีสัญชาติไทยที่ประสบภัย หรือ ได้รับผลกระทบจากภัย ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ก็จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมเมื่อมาติดต่อราชการในหลายกรณี ได้แก่ การออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย การขอคัดสำเนาหรือคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนหรือบัตรประจำตัวและรายการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร แจ้งเกิดและการตายต่างท้องที่ แจ้งการย้ายที่อยู่ ขอรับสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และในช่วงสถานการณ์ที่เกิดสาธารณภัยอื่นด้วย
นอกจากนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบและรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีอาเซียนเพื่อตอบสนองต่อผลกระทบของโควิด-19 ต่อแรงงานและการจ้างงาน รวมทั้งยืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะร่วมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบต่อแรงงานและการจ้างงานจากปัญหาโควิด-19
นางสาวนฤมล แถลงอีกว่า รัฐบาลยังส่งเสริมให้ไตรภาคี (ภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง) ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ ในปัจจุบันอาเซียนมีแนวทางความร่วมมือด้านแรงงานที่ชัดเจนเพื่อลดผลกระทบต่อแรงงานและการจ้างงานในภูมิภาค โดยสาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมนี้ จะสนับสนุนความเป็นอยู่และสุขภาพของแรงงานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานกลุ่มเสี่ยง เพื่อจัดหาค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสิทธิที่จะเข้าถึงการช่วยเหลือทางสังคม หรือสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากภาครัฐ อำนวยความสะดวกให้แรงงานที่ติดเชื้อโควิด-19 ทุกคนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขที่จำเป็น
สนับสนุนโดย 918KISS เวบเกมออนไลน์ที่ให้คุณได้มากกว่าที่ไหนๆ punslot888 ชื่อดีการันตีความเฮง