คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ปัญหาของเรา เราก็ต้องแก้เอง หรือ “ปัญหาของใคร คนนั้นก็ควรแก้เอง” ประโยคนี้ อาจเป็นจริงในบริบทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากผู้พูดที่ไม่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ไม่อยากช่วยเหลือ อาจเพราะดูว่า ไม่น่าช่วยเหลือ ช่วยมามาก หรือเหตุผลใดก็ตาม จึงมีคำพูดออกมาในทำนองนี้
ในอีกบริบทหนึ่งที่เป็นจริงเช่นกัน อยู่ในความหมายที่ว่า “ก็เพราะมันไม่มีใครแก้ให้เธอได้ หรือ ช่วยเธอได้จริง” มันต้องเจ้าตัวเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปัญหานี้ หากเจ้าตัวไม่แก้ไข ไม่เปลี่ยนแปลง คนอื่นก็ช่วยอะไรไม่ได้ นี่ก็คือความเป็นจริง
เหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่รู้กันดี แต่มองย้อนไปอีกสักหน่อย บางปัญหา ก็คล้ายมะเร็งในรูปแบบที่ ตอนระยะแรก ไม่ค่อยออกอาการ เลยยังไม่รู้ตัวว่ามีปัญหา พอระยะหลัง เมื่ออาการออกมันก็มักเกินจะรักษา หรือรักษายากเกินไป ใครก็ช่วยไม่ได้ หากช่วยได้ก็เพียงบรรเทา พยุงอาการเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วคำว่า “ปัญหา” มันมีหลายมิติ หรือรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น..
ผมไม่ได้กำลังแยกแยะ ปัญหา อย่างเป็นทางการ แต่กำลังยกตัวอย่างตามที่นึกได้ในตอนที่กำลังเขียนบทความนี้ มันคงพอให้เห็นว่า เราจะรวม “ปัญหา” ว่ามีแบบเดียวไม่ได้ นี่ทำให้เราจะพยายามแก้ไขใน “แบบของเรา” เสมอไม่ได้เช่นกัน..
จากตัวอย่างที่ผมยกมา ถ้าปัญหาเกิดจากเราสร้างเอง รู้มูลเหตุ ยอมรับ และมองเห็นชัดเจนว่าเกิดจากเรา แน่นอนว่าดีที่สุดแล้วคือแก้เอง แต่ที่ปัญหาเหล่านี้แก้ไม่ได้ หรือไม่จบ มักเพราะตัวเรา หรือบุคคลนั้น ไม่ยอมรับ ยังมองไม่เห็น หรือไม่รู้ตัว การแก้ไขจึงไม่เกิด รวมถึงไม่เห็นต้นตอของปัญหาที่แท้จริง..
ส่วนปัญหาในตัวอย่างข้ออื่นยากที่เราจะเป็นผู้ที่แก้เองได้เสมอไป โดยอย่างยิ่งปัญหาที่คนอื่นสร้างแล้วมากระทบเรา มีหลายครั้ง เรานำปัญหาคนอื่นมาเป็นปัญหาตัวเองทั้งหมด โดยมองว่า อย่างไรมันก็กระทบเรา หรือเราเกี่ยวข้อง เช่นปัญหาจาก พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ญาติ ซึ่งในที่นี้ ไม่ได้บอกว่าไม่ใช่ปัญหาเรา ไม่ต้องแยแส แต่มันก็ควรแยกแยะ มองให้เห็นก่อน คิดให้ได้ก่อนว่า ก็ในเมื่อปัญหาเริ่มจากคนอื่น มันจึง “ไม่ใช่เราจะแก้ได้คนเดียว” ซึ่งถ้ามองว่าเพราะคนอื่นไม่แก้ เราเลยต้องแก้คนเดียว หากคิดเช่นนี้ ต้องออกมามองในมุมคนนอก จะเห็นชัดขึ้น ส่วนหนึ่งอาจพบว่าที่เราไปแก้เพราะเราคือคนที่เดือดร้อนที่สุดหรือไม่ แม้ว่าคำตอบคือใช่ แต่ที่กระทำอยู่นั้นคือการเยียวยาตัวเอง ไม่ค่อยจะเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริง แถมแปลกแต่จริง หลายครั้งคนก่อเรื่องตัวจริงไม่เดือดร้อน เรากลับเดือดร้อน..
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า พี่น้องเราไปยืมเงินคนอื่นมาแล้วไม่ใช้ เรื่องมาถึงเราว่าเป็นพี่น้องกัน เราอาจถูกตำหนิ พาดพิง ทวงถามเป็นต้น เราจึง “รู้สึกเดือดร้อน” ในที่สุดไปใช้หนี้แทน เช่นนี้ เรียกได้ว่า ปัญหากระทบมาถึงเรา…
แต่แท้แล้ว การใช้หนี้แทนพี่น้องไปนั้น เป็นเพียงการ “ป้องกันคนอื่นมาว่าเรา” ใช้ว่าจะแก้ปัญหาได้แท้จริง เพราะปัญหาแท้จริงคือ “พี่น้องทำไมต้องเป็นหนี้” ไม่ใช่ว่าทำไมไม่ใช้หนี้ด้วยนะครับ และการไปใช้หนี้แทน ก็ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า เดี๋ยวเขาก็ไปเป็นหนี้อีก เพราะมีคนตามไปใช้ให้ นั่นจะสะท้อนชัดว่า ตัวเหตุปัญหาไม่ได้ถูกแก้ แบบนี้เกิดจากการที่เราไปเอามายึดแบกติดกับตัว ซึ่งหากจะแก้ปัญหา คนที่ต้องร่วมมือแก้ปัญหา ก็คือ “พี่น้องคนนั้น” และเราอาจจะช่วยแก้ไปตามมูลเหตุ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ปัญหาของเราด้วยซ้ำ แต่ถ้าเรามองว่าใช่ มันก็ไม่ใช่ปัญหาที่เราจะแก้เองได้ด้วยตัวคนเดียวอยู่ดี..
ในอีกส่วนคือประเภทปัญหา ซับซ้อน ปัญหามาก ปัญหาเรื้อรัง ต่าง ๆ นา ๆ เหล่านี้คือสารพัดปัญหา ที่เราอาจสร้างขึ้นเองด้วย และคนอื่นร่วมด้วย มากกว่า 1 ปัญหา เรียกว่า ปนกันไปหมด มันก็ย่อมแก้ยากที่สุด อย่าว่าแต่แก้ที่ไหนดีที่สุดเลย แก้ปัญหาไหนก่อนยังยากเลย..
คนเราทุกคนไม่ว่าผม หรือ คุณ หากมีปัญหามากกว่า 1 เรื่อง หรือแม้เรื่องเดียวแต่หลายปัจจัยเหลือเกิน บางทีความเครียด ความกดดัน ต่อให้บอกว่าไม่เครียดก็ตาม แต่มุมมอง สมอง ความคิด ประสบการณ์ ไม่มีมากพอที่จะมองปัญหาได้ขาดง่าย ๆ ณ เวลานั้น สมองเดียวอาจไม่มากพอที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาคนอื่น ก็มีความจำเป็น แม้ว่าปัญหานั้นต้นเหตุจะเกิดจากเราลำพังก็ตาม ใช่ว่าเราจำเป็นต้องแก้ด้วยตัวเองเสมอไป..
ซ้ำร้ายบางคนพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองผิดวิธีแล้ว เมื่อไม่ไหวก็กลายเป็น ขอความช่วยเหลือผิดวิธี เช่นตัวอย่างเดิม ใช้หนี้แทนพี่น้องจนตัวเองเงินขาดมือ ต้องไปขอหยิบยืมคนอื่น เช่นนี้ คนที่ให้ยืมก็เดือดร้อนไปด้วย ในด้านเราเอง แฟน ครอบครัวเราก็เดือดร้อนตามมาอีก แบบนี้เริ่มจะปัญหาซ้ำซ้อน และเช่นเดิมถ้าแก้ปัญหาไม่ถูกต้องมันก็จะไม่ใช่การแก้ แต่เป็นแค่ประทัง ประคอง ที่ไม่รู้ว่าจะหลุดวงจรนี้ได้ไหม
นี่เป็นเพียงตัวอย่างมุมเดียว แต่มีหลายคนหลายปัญหาชีวิตที่ยิ่งแก้ยิ่งแย่ เพราะแก้ผิดวิธี และแม้ว่าเจตนา ความตั้งใจที่ดี ที่ไม่อยากรบกวนใคร ที่อยากรับผิดชอบเอง หรือใด ๆ ก็ตามทำให้ไม่ปรึกษา ไม่หาคนช่วยคิด ช่วยทำ บางทีนี่ก็เป็นที่ “ยึดติด” ในรูปแบบหนึ่ง อีกแบบคืออาย ปรึกษาแต่บอกไม่หมด ไม่กล้ายอมรับสิ่งที่เกิด เอาเป็นว่า โชคดีแก้ได้ ก็นับว่าเก่ง แต่หลายครั้ง ยิ่งแก้ยิ่งแย่ไปจนตรอก เพราะอย่างที่บอก มันมีหลายปัญหาชีวิตที่แก้คนเดียวไม่ได้..
การปรึกษา (และฟังคนที่ถูกต้อง) การขอความช่วยเหลือ (แบบถูกวิธี, เพื่อแก้ปัญหาจริง) เป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญหาของเรา เราต้องแก้เอง มันจึงไม่ใช่เสมอไป..
สนับสนุนคุณภาพโดย Pussy888 | เว็บเกมส์อันดับต้นๆของเมืองไทย สนุกสุดมันส์ ให้ได้ไม่อั้น