แม้ว่าที่ผ่านมาจะมี Digital Disruption เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็ยังไม่ได้แทรกซึมเข้าไปถึงคนทุกกลุ่มทุกอาชีพ จนมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จะทำให้วิถีชีวิตของทุกคนบนโลกใบนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งจดจำไปตลอดกาล
การมาของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ย่อมเกิดพฤติกรรมรูปแบบใหม่ของผู้บริโภค ซึ่งเรามักเริ่มได้ยินบ่อยๆ แล้วว่า “New Normal” หรือความปกติแบบใหม่ในสังคมไทย
ล่าสุด SUPER POLL สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ ได้เปิดผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "จริตใหม่ประชาชนหลังพ้นโควิด-19" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,255 ตัวอย่าง ซึ่งผลสรุปบางส่วนออกมา ดังนี้
ระยะเวลา
- ร้อยละ 33.9 คาดว่าจะพ้นภัยโควิด-19 ได้ในระยะเวลา 3-6 เดือน
- ร้อยละ 32.2 คาดว่าจะพ้นภัยโควิด-19 ได้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน
- ร้อยละ 21.0 คาดว่ามากกว่า 9 เดือนขึ้นไป
- ร้อยละ 12.9 คาดว่าอยู่ระหว่าง 6-9 เดือน
จริตใหม่ (New Normal) ของประชาชน หลังผ่านพ้นโควิด-19 ผลสำรวจพบว่า
- ร้อยละ 86.2 ระบุสั่งสินค้าเดลิเวอรี่มากขึ้น
- ร้อยละ 83.7 พูดคุยติดโลกโซเชียลมากขึ้น
- ร้อยละ 81.5 ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโซเชียลมีเดียมากขึ้น
- ร้อยละ 79.8 คุ้นเคยลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ
- ร้อยละ 79.1 ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น
- ร้อยละ 64.2 ดูแลสุขภาส่วนรวมมากขึ้น
- ร้อยละ 62.6 ศึกษาเล่าเรียนออนไลน์มากขึ้น
- ร้อยละ 60.6 แต่งกายใช้หน้ากากอนามัยเป็นแฟชั่นดูดีมีสไตล์มากขึ้น
- ร้อยละ 56.6 คบหาพบปะผู้คนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
- ร้อยละ 55.2 ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) มากขึ้น
ความต้องการของประชาชนให้พัฒนาประเทศไปทางไหน หลังพ้นภัยโควิด-19 พบว่า
- ร้อยละ 93.6 ระบุให้ส่งเสริมพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ ลดมลภาวะ ปัญหาฝุ่น PM 2.5
- ร้อยละ 90.0 ระบุเพิ่มความปลอดภัยปราบปรามอาชญากรรมด้านเทคโนโลยีระบบออนไลน์
- ร้อยละ 86.5 ระบุ ฟรีสร้างอาชีพ ฟรีอินเทอร์เน็ตไฮสปีด ฟรีพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งภาคเกษตรและอื่นๆ
- ร้อยละ 83.7 ระบุเพิ่มความปลอดภัยทางการเงินทำธุรกรรมออนไลน์
- ร้อยละ 83.2 ระบุเพิ่มสวัสดิการแห่งรัฐ ลดรายจ่าย ให้คนทำงานจากที่บ้าน (Work from Home)
- ร้อยละ 81.2 ระบุส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทำคนอยู่ชุมชนเดินทางเคลื่อนย้ายน้อยลง
- ร้อยละ 79.1 ระบุส่งเสริมให้คนใช้เทคโนโลยีระบบออนไลน์มากขึ้น
- ร้อยละ 72.9 ระบุส่งเสริมธุรกิจออนไลน์มากขึ้น
ทางด้านของ FutureTales Lab by MQDC ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่ออนาคต เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับมนุษยชาติ ภายใต้บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น เผย “10 ประเด็น Next Normal ของอนาคตคนเมือง หลังพ้นวิกฤต COVID-19 จะเป็นอย่างไร” ซึ่งเป็น 10 เทรนด์ที่สังคมไทยควรจะตั้งรับ ทั้งในแง่มุมพฤติกรรมการใช้ชีวิต การอยู่อาศัย เทคโนโลยี การเดินทาง และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มของนโยบายภาพใหญ่ของรัฐบาล ประกอบด้วย
1. Social Structure โครงสร้างทางสังคมใหม่ๆ ที่จะมีการออกกฎหมายที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก เป็นกฎหมายเดียวกันที่ช่วยในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี IOT Infrastructure ผู้คนจะให้ความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่มากยิ่งขึ้น โดยจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อที่จะปกป้องสุขภาพ และทรัพย์สินของตัวเองและครอบครัวมากยิ่งขึ้น
2. Resilience & Agile by Force ความร่วมมือระหว่างองค์กรและอุตสาหกรรมจะมีมากขึ้น รัฐและองค์กรธุรกิจสามารถใช้โอกาสนี้ในการจัดการเรียนผ่านออนไลน์ฟรีให้กับแรงงาน หรือการกำหนดระเบียบการทำงานที่ลดการใช้ทรัพยากรได้มากขึ้น
3. Global Emotional Crisis & Touchless Society ปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพมีระยะห่างกันออกไปเรื่อยๆ อย่างเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาจากเดิมมีวิธีการทักทายแบบจับมือหรือกอด แต่ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ทำให้ไม่สามารถทำได้ ทำให้การปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพมีระยะห่างกันออกไปเรื่อยๆ ส่งผลในเรื่องของอารมณ์ในแง่ของความใส่ใจ และความห่วงใยในอนาคต อย่างวัยทำงานที่นิยม Co–Working Space ก็อาจจะมีปรับพื้นที่ในรูปแบบ Sharing Space With Boundary หรือมีการแบ่งแยกพื้นที่ของตัวเองมากขึ้น และการออกแบบพื้นที่บริการแบบไม่ต้องสัมผัส แต่ใช้ voice recognition หรือ AR แทน
4. Public Space / Indoor Technology with Health Factor ศูนย์การค้าจะต้องมีการวางแผนรับมือ และสร้างเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การวางระบบฆ่าเชื้อสำคัญเหมือนการวางระบบแอร์ น้ำ ไฟ มีการกำหนดมาตรฐานระบบ clean air quality ในอาคาร
5. Prioritizing Space Over Convenience วิถีความคิดของผู้บริโภคในแง่การซื้อที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไป เมื่อสามารถทำงานที่บ้านได้อาจจะไม่จำเป็นต้องเดินทางทุกวัน จึงส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย ไม่จำเป็นต่ออยู่ในเมือง ติดรถไฟฟ้า แต่อาจปรับเปลี่ยนเป็นบ้านนอกเมือง แต่มีพื้นที่มากขึ้น มีสวน การปรับเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศมาใช้อาศัยประจำแทน
6. Everything At Home เศรษฐกิจติดบ้าน โรคระบาดทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เริ่มเคยชินกับการอาศัยอยู่ในบ้าน ทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในที่พักอาศัยของตนเอง ส่งผลต่อความต้องการที่พักอาศัยที่อาจจะเปลี่ยนไป และต้องการมีพื้นที่ที่สามารถทำอะไรได้หลายหลากมากยิ่งขึ้น
7. Proactive Healthcare Platform แพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โครงสร้างพื้นฐานของเมือง อาคาร บ้านจะต้องมีบริการและแพลตฟอร์มสุขภาพและสุขภาพจิตเป็นบริการพื้นฐาน
8. Last mile & next hour logistic ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ระบบการขนส่งระยะสั้นแบบ 1 กิโลเมตร และการจัดส่งแบบรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง จะเป็นที่ต้องการ และความสำคัญมากยิ่งขึ้น
9. Wearable Device – Prioritizing Health & Safety Over Privacy ผู้บริโภคจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับความปลอดภัยที่มีมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เจาะลึกถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น สามารถดูได้ว่า ณ วันนี้ สถานที่ที่เราอยู่ ณ ตรงนี้ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นประเด็นในเรื่องของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว
10. Super Food & Food Supply Chain Transparency To Personal Food Supply ผู้บริโภคจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ ต้องการความมั่นใจมากขึ้นว่าสินค้าที่จะนำมาปรุงอาหารต้องมีมาตรฐาน ปลอดภัย และมีความสะอาด รวมถึงผู้บริโภคบางส่วนเองเริ่มมีการทำฟาร์มขนาดเล็กในเมืองมากยิ่งขึ้น
สนับสนุนคุณภาพโดย Slotxo | สล็อตxo เว็บเกมส์อันดับต้นๆของเมืองไทย สนุกสุดมันส์ ให้ได้ไม่อั้น