บอร์ด
กระทู้: dtac จัดค่ายเยาวชนสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยผ่านรูปแบบออนไลน์พร้อมชิงทุน 400,000 บ.

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดและเป็นไปตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ ค่ายแกนนำเยาวชนอินเทอร์เน็ต dtac Young Safe Internet Leader Camp Version 2.0  (YSLC) จึงได้เปลี่ยนรูปแบบสู่ “ค่ายออนไลน์” ลดความเสี่ยงจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดค่ายบ่มเพาะผู้นำเยาวชนทางออนไลน์ และใช้ระบบพี่เลี้ยงที่ช่วยให้นักเรียนค่ายสามารถทำโครงการต้านภัยออนไลน์ได้จนสำเร็จผ่านออนไลน์ที่จะใช้เวลานานตลอด 3-6 เดือน

โดยค่าย YSLC นี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมเยาวชนไทยให้เป็นพลเมืองอินเทอร์เน็ตที่มีความรับผิดชอบ (Responsible netizen) มีคุณสมบัติในการเปิดรับและพร้อมเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ อยู่เสมอ มีความมั่นใจในการใช้อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและระบุความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ได้ รวมทั้ง สามารถเปลี่ยนบทบาทจากเหยื่อภัยออนไลน์ มาเป็นผู้นำที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง และสามารถให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ หรือผู้คนรอบข้าง ในการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย

คุณอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นช่วงเวลาปิดเทอม เด็กมัธยมหลายล้านคนใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เยาวชนเผชิญกับภัยออนไลน์สูงขึ้น ดีแทคเชื่อว่า เยาวชนสามารถเปลี่ยนจากบทบาทของเหยื่อภัยออนไลน์ให้กลายมาเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ dtac Young Safe Internet Leader Camp 2.0 (YSLC) จึงเกิดขึ้นเพื่อ เป็นโอกาสให้แก่เยาวชนทั่วประเทศไทย สามารถเข้าถึงการเรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ ผ่านบทเรียนและกระบวนการบ่มเพาะออนไลน์ ทั้งนี้ จากความสำเร็จของค่าย YSLC ครั้งที่ 1 ในปีที่แล้ว 

ทำให้ dtac มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยและภาคีพันธมิตร ร่วมกันสานต่อและเดินหน้าโครงการเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้จะมีความเข้มข้นมากขึ้นและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของเด็กแต่ละคน จึงได้ออกแบบหลักสูตรค่าย โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ เสริมภูมิคุ้มกัน เพิ่มเติมเทคนิคเฉพาะด้าน และต่อยอดโครงการด้วยความสำเร็จ ซึ่งหลักสูตรนี้ มีผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กอย่างหมอมิน เบญจพร ตันตสูติ เจ้าของเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขาร่วมออกแบบด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) แล้ว ยังจะทำให้เด็กๆ มีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) มากขึ้น” เข้าใจภัยออนไลน์ให้ถ่องแท้ผ่านหลักสูตรเรียนออนไลน์เข้มข้น

ค่าย YSLC ครั้งที่ 2 นี้ จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นที่ควรรู้บนโลกไซเบอร์ 

  • Anatomy of Fake News น้องๆ จะมีโอกาสร่วมกันค้นหาส่วนประกอบของข่าวปลอม เรียนรู้วิธีการแยกแยะข่าวสารที่ได้รับบนโลกออนไลน์ พร้อมสนุกไปกับเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบเนื้อหาบนโลกออนไลน์เบื้องต้น
  • Diversity and Cyberbullying น้องๆ จะได้ร่วมทำบททดสอบเฉพาะบุคคล เรียนรู้คุณค่าของตนเองและความแตกต่างของบุคคลรอบตัว พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • Online Privacy and Sexual Abuse น้องๆ จะได้เรียนรู้วิธีการในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ภัยร้ายและความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูล ได้แก่ การปลอมแปลงบัญชี การหลอกลวง และการละเมิดทางเพศ

สร้างแกนนำเยาวชนระดับชั้นมัธยมให้พร้อมขยายผล ทำโครงการรับมือภัยออนไลน์ที่โรงเรียนค่าย YSLC ครั้งที่ 2 เปิดรับเยาวชนระดับชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายหรือเทียบเท่า ให้สมัครอบรมเป็นทีม ทีมละ 3-5 คน และนำเสนอไอเดียใน “การแก้ปัญหาภัยร้ายบนโลกออนไลน์” โดยคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกจากไอเดียที่มีความโดดเด่นน่าสนใจ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้และรับทุนเพื่อต่อยอดการดำเนินโครงการจริง พร้อมรับโอกาสสุดพิเศษมากมาย ได้แก่โอกาสในการเรียนรู้และรับคำปรึกษาแบบออนไลน์ เติมความรู้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลรายบุคคลและรายกลุ่มจากทีมวิทยากรที่มีชื่อเสียง เช่น ทีมข่าวชัวร์ก่อนแชร์ของ ช่อง 9 อสมท. Workpoint News และคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต (TICAC) ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่างๆ เช่น The Trust ผู้ชนะเลิศการออกแบบบอร์ดเกมส์ต้านคอร์รัปชัน และ OpenDream เป็นต้น

โอกาสในการสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกให้กับเยาวชนในการสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้และแนะนำบ่มเพาะการดำเนินโครงการที่นำเสนอให้เกิดขึ้นจริง ด้วยกระบวนการที่ออกแบบโดยทีมงานระดับนานาชาติอย่าง FabCafe Bangkok ที่มีประสบการณ์การ Scale-up และเครือข่ายกว่า 12 ประเทศทั่วโลก

ทุนสนับสนุนโครงการ สำหรับดำเนินกิจกรรมจริงในโรงเรียนหรือชุมชน รวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท (ทีมละ 20,000-40,000 บาท) โอกาสในการแสดงผลงานในมหกรรมแสดงผลงานระดับชาติ การเผยแพร่ผลงานบนช่องทางในสื่อชั้นนำ รวมถึงช่องทางของดีแทค และ http://awrd.com/en/  ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มของกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วโลกสำหรับเสนอไอเดียการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์โดย FabCafe

 

ทั้งนี้ ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะต้องผ่านการเรียนรู้ หัวข้อที่ 1 ภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์ ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ (จำนวน 3-6 ชั่วโมง) เมื่อผ่านเรียนรู้ในหัวข้อที่ 1 แล้ว ทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบถัดไป จะได้รับโอกาสในการดูแลและพัฒนาทักษะเฉพาะจากทีมพี่เลี้ยง (Mentor) โดยทีมพี่เลี้ยงจะเป็นผู้แนะนำบทเรียนใน หัวข้อที่ 2 การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล และหัวข้อที่ 3 การดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความเหมาะสมและสนใจของทีมนั้นๆ ในลำดับถัดไป

สนับสนุนคุณภาพโดย Pussy888 | เว็บเกมส์อันดับต้นๆของเมืองไทย สนุกสุดมันส์ ให้ได้ไม่อั้น

6 มิ.ย. 63 เวลา 11:56 328