เราใช้เวลาไปกับการนอนหลับถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะเรียนรู้ว่า มันเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาที่เราหลับ
วิทยาศาสตร์ด้าน Neuroscience ทำให้เรารู้ว่า การนอนหลับไม่ใช่แค่ช่วงเวลาที่เราได้พักและฟื้นฟูร่างกาย แต่มันยังเติมพลังใจให้เราด้วย ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น ทำให้เรามีภูมิต้านทานต่อโรคซึมเศร้าและช่วยป้องกันไม่ให้เราอ้วนได้ด้วย
ในปี 2001 นักวิจัยเรื่องการนอนหลับจาก Harvard University ได้ค้นพบกลุ่มของ Neuron ในสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึม ควบคุมความหิวและอุณหภูมิในร่างกาย และเรียกมันว่าสวิตซ์ที่ทำให้เราหลับ
การนอนหลับมีอยู่ 2 ระยะคือ Rapid Eye Movement (REM) กับ Slow-wave (SW) หรือ Non-rapid Eye Movement (non-REM) ซึ่งเกิดขึ้นสลับกันไปมา 5-6 รอบในแต่ละคืน โดยเฉลี่ยรอบละ 90 นาที
การนอนหลับแบบ REM ได้ชื่อมาจากการที่ตาเคลื่อนที่ไปมาในระหว่างที่เราหลับ เป็นการนอนที่ตื่นตัวที่สุด ก็เลยทำให้สมองร้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องอาศัยการนอนในระยะอื่นเพื่อช่วยทำให้สมองเย็นลง ในช่วงการนอนแบบ REM เรามักจะฝันแบบเหนือธรรมชาติ และเรามักจะจำความฝันนั้นได้
ส่วนการนอนหลับแบบ SW เป็นช่วงที่เราหลับลึก คลื่นสมองช้าลงและสูงขึ้น สมองทำงานสอดคล้องเป็นอย่างดี และยากที่จะปลุกให้ตื่น การนอนในช่วง SW เป็นเวลาที่เราหลับและร่างกายได้ฟื้นฟู และเป็นช่วงที่ร่างกายเราเผาผลาญไขมัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่นอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้อ้วนได้
การนอนหลับยังช่วยให้เราจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น โดยการทดลองของ Rosalind Cartwright คนเขียนหนังสือเรื่อง The Twenty-Four Hour Mind เค้าทดลองและบันทึกความฝันของ กลุ่มคนที่ผ่านการหย่าร้างมา โดยที่ครึ่งหนึ่งของคนเหล่านั้นมีอาการซึมเศร้า สิ่งที่พบคือในกลุ่มคนที่จำความฝันได้มักจะเป็นกลุ่มที่ฝันเป็นระยะเวลานานและเป็นฝันที่ซับซ้อนมากกว่า ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีผลต่ออารมณ์ กลุ่มคนเหล่านี้สามารถฟื้นฟูและมีอาการดีขึ้นมากกว่ากลุ่มคนที่ฝันเป็นระยะสั้นๆ หรือจำความฝันไม่ได้เลย
สนับสนุนคุณภาพโดย Pussy888