ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนในหลายประเทศ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ประชากรประมาณ 2.6 พันล้านคนทั่วโลกอยู่ภายใต้การล็อคดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส หลายประเทศปิดพรมแดนและประกาศเคอร์ฟิวส่งผลให้การเดินทางลดลงอย่างมากทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการขนส่งทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากกฎเกณฑ์ห้ามการเดินทางและประชาชนที่หลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
ในประเทศไทยช่วงที่มีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลได้ออกมาตรการล็อคดาวน์ ห้ามบุคคลทั่วราชอาณาจักรออกจากเคหสถานในช่วงเวลา 22.00–04.00 น. และให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดเว้นแต่จำเป็น ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตาม พ.ร.ก. การบริหารสถานการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 5 อีกทั้งขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการกำหนดมาตรการให้ทำงานจากที่บ้านและยังมีมาตรการต่างๆ ด้านการเดินทางภายในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ อย่างมาตรการเพิ่มจำนวนรถและความถี่ในการให้บริการของแต่ละการประกอบการ เช่น ขสมก. ได้เพิ่มรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการเป็น 2,500–2,600 คัน/วัน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนำขบวนรถ 36 ขบวนออกให้บริการและปรับความถี่ปล่อยรถช่วงเร่งด่วนเป็น 3.5–4.5 นาที/ขบวน รถไฟฟ้าสายสีม่วงนำขบวนรถ 12–16 ขบวนออกให้บริการและปรับความถี่ปล่อยรถในช่วงเร่งด่วนเป็น 4–5 นาที/ขบวน และรถไฟฟ้า BTS นำขบวนรถ 98 ขบวนออกให้บริการ
นอกจากนี้ บริการขนส่งสาธารณะยังกำหนดมาตรการเพื่อการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในการเดินทาง ทั้งการจัดให้มีการนั่งที่เว้นที่ การปล่อยผู้ใช้บริการเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าเป็นกลุ่ม (Group Release) ตามจำนวนที่กำหนด หรือการกำหนดให้ประชาชนเข้าสู่ชานชาลาเป็นรอบๆ ใน 3 ตอน คือ ก่อนขึ้น-ลงเข้าสู่ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร ก่อนผ่านหน้าประตูกั้นจัดเก็บค่าโดยสาร และก่อนเข้าสู่ขบวนรถ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้บริการหนาแน่นเกินไปในขบวนรถไฟฟ้าและชานชาลา
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ของประเทศไ
ทยในปัจจุบันมีแนวโน้นลดลง และเริ่มสามารถควบคุมได้ ภาครัฐจึงเริ่มมีนโยบายผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์ที่มีอยู่ ทำให้กิจการต่างๆ เริ่มกลับมาให้บริการได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนกลับมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอีกครั้ง ทั้งการเดินทางในระยะทางสั้นและเดินทางข้ามจังหวัด ทั้งนี้ ก่อนที่ภาครัฐจะดำเนินการผ่อนปรนได้นั้น ควรจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 จากการใช้บริการขนส่งสาธารณะ
สนับสนุนคุณภาพโดย Slotxo | สล็อตxo
ในต่างประเทศได้มีมาตรการและแนวปฎิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระบบขนส่งสาธารณะที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม คำแนะนำขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งผู้โดยสารในต่างประเทศและระหว่างประเทศที่สำคัญอย่าง American Public Transport Association (APTA) , International Organization for Public Transport Authorities and Operators (UITP) , The Shenzhen Bus Group Company และ International Union of Railways (UIC) ล้วนให้คำแนะนำที่ตรงกันดังต่อไปนี้
• มาตรการทำความสะอาดยานพาหนะและสถานีอย่างสม่ำเสมอ
• การฝึกอบรมด้านการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคแก่เจ้าหน้าที่ที่ต้องมีการติดต่อกับผู้โดยสาร
• การดูแลเจ้าหน้าที่ให้มีอุปกรณ์เพียงพอ เช่น ถุงมือ แอลกอฮอล์ล้างมือ กระจกกั้นที่ขายตั๋ว ฯลฯ
• การคัดกรองผู้โดยสารก่อนเข้าใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
มาตรการเหล่านี้ถือได้ว่าเป็น “มาตรฐานสากลขั้นต่ำ” ในการดูแลผู้โดยสารช่วงการระบาดของ COVID-19 ในระบบขนส่งสาธารณะ นอกเหนือจากมาตรการพื้นฐานดังกล่าว บางประเทศได้ใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างเข้มงวด โดยการระงับการขนส่งสาธารณะทั้งหมด เช่น เมืองอู่ฮั่นและหวงกังในประเทศจีน และกรุงเดลีในประเทศอินเดีย เป็นต้น
ในประเทศที่มาตรการระงับการให้บริการขนส่งสาธารณะไม่อาจเป็นไปได้ จะต้องหามาตรการในการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้ออย่างเร่งด่วน ซึ่งจากกรณีศึกษาการติดเชื้อของผู้โดยสาร 9 คนที่ใช้บริการรถโดยสารทางไกลเมืองหูหนาน ประเทศจีน ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 พบว่าผู้โดยสารทั้ง 9 คนไม่สวมหน้ากากอนามัย ในขณะที่เชื้อ COVID-19 มีชีวิตอยู่ในอากาศได้ถึงอย่างน้อย 30 นาที จึงได้เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ
หลายประเทศพยายามลดความแออัดในระบบขนส่งสาธารณะ ดังตัวอย่างของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ออกมาตรการลดจำนวนเที่ยวรถที่ให้บริการ เพื่อลดการเดินทางและโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อโรค แต่เป็นการกำหนดมาตรการอย่างกะทันหันโดยขาดการประเมินผลกระทบ (Impact Assessments) ขณะที่บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถทำงานจากบ้านได้ การลดจำนวนเที่ยวรถ จึงกลับทำให้เกิดความแออัดในระบบเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำนวนประชาชนเดินทางต่อเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ในทางตรงกันข้าม กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งแม้ว่าจำนวนประชากรที่ต้องการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะลดลงถึงประมาณ 75% แต่ยังใช้มาตรการเพิ่มเที่ยวเดินรถเพื่อลดความแออัดระหว่างผู้โดยสาร สอดคล้องกับแนวทางของ Berliner Verkehrsbetriebe (BVG) ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีที่ได้ปรับตารางการเดินรถแม้ว่ามีปริมาณผู้โดยสารลดลงอย่างมากก็ตาม
นอกจากนี้ บางประเทศพยายามควบคุมปริมาณของผู้โดยสารและลดความแออัดบนขบวนรถไฟใต้ดินผ่านระบบการจองล่วงหน้าสำหรับบริการรถไฟใต้ดิน (Subway by Appointment) โดยเมืองเชินเจิ้นและปักกิ่งในประเทศจีนได้ทดลองนำระบบนัดหมายผ่านแอปพลิเคชั่นมาใช้ลดความแออัดในสถานีที่มีผู้ใช้บริการมากในช่วงเร่งด่วน โดยผู้โดยสารสามารถนัดหมายเพื่อเข้าสู่สถานีรถไฟใต้ดินผ่าน QR-Code บนโทรศัพท์มือถือ และจะได้รับการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์มือถือให้เข้ามายังสถานีเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
สนับสนุนคุณภาพโดย Slotxo | สล็อตxo