จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกทำให้หลาย ๆ ประเทศนั้นเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลาย ๆ คนอาจจะยังสงสัยว่าตอนนี้สภาพเศรษฐกิจของเรานั้นอยู่ถึงจุดตกต่ำที่สุดแล้วหรือยัง? ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ New Normal แล้วหรือไม่? Techsauce จึงได้รวบรวมคำตอบมาให้ทุกท่านผ่านการพูดคุยกับ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ประธานทีมเศรษฐกิจและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Sea (Group) ที่มีบริษัทในเครืออย่าง Garena, Shopee และ AirPay ที่ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการปรับตัวของ Tech Giant หลัง COVID-19
สิงคโปร์ เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักจากการพึ่งพาการส่งออกเยอะค่อนข้างมาก เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ส่งผลค่อนข้างหนัก รวมถึงจากสถานการณ์การระบาดระลอก 2 ทำให้ต้องมีมาตรการ ‘Circuit Breaker’ ทำให้เศรษฐกิจนั้นถูกผลกระทบในระยะเวลายาวขึ้นไปอีก
มาเลเซีย ค่อนข้างคล้ายกับสิงคโปร์ตรงที่พึ่งพาการส่งออกค่อนข้างเยอะ และก็ส่งผลกระทบมากขึ้นไปอีกจากราคาน้ำมันตกต่ำ เนื่องจากประเทศนั้นพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมันค่อนข้างมาก
ฟิลลิปปินส์และอินโดเนเซีย มีมาตรการรับมือการระบาดนั้นไม่ดีอย่างเท่าที่ควร อย่างฟิลิปปินส์ที่ได้ทำมาตรการ Lockdown แต่ด้วยการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ภาค Logistic นั้นชะงักตัว ซึ่งทำให้เกิด Disruption ขนาดใหญ่ และในส่วนอินโดเนเซียที่เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียนนั้นมีการตอบโต้กับสถานการณ์ช้า ซึ่งทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อนั้นค่อนข้างสูง บวกกับการระบาดที่ทำให้ค่าเงินผันผวน ทำให้เศรษฐกิจนั้นถูกผลกระทบค่อนข้างหนัก
ไทย ต้องยอมรับว่าในเรื่องของสาธารณสุขของไทยนั้นค่อนข้างดี ในแง่การควบคุมการระบาดของไวรัส แต่ข้อเสียของไทยนั้นก็คือ ประเทศนั้นพึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก แต่ภาคการท่องเที่ยวนั้นจะกลับมาเปิดเป็นภาคสุดท้าย ซึ่งเศรษฐกิจของไทยอาจจะไม่ได้ฟื้นในเร็ว ๆ นี้ และภาคการเกษตรที่ถูกผลกระทบจากภัยแล้ง ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากขึ้นไปอีก
เวียดนาม เป็นประเทศที่ค่อนข้างมีมาตรการรับมือได้ดีตั้งแต่ต้น จึงเป็นประเทศที่ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในหมู่ประเทศอาเซียน
คุณสันติธารเผยว่า จุดต่ำสุดจริง ๆ ในตัวเลข GDP จะอยู่ที่ไตรมาส 2 เนื่องจากการ Lockdown อย่างสมบูรณ์แบบนั้นอยู่ในไตรมาสนี้ แต่ถ้าในเรื่องของความรู้สึก ในไตรมาส 3 นั้นคนจะรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นแย่พอ ๆ กับไตรมาส 2 เนื่องจากในไตรมาส 2 นั้นบริษัทต่าง ๆ ยังมีความพยายามที่จะประคับประคองบริษัทไปก่อน ไม่ปลดพนักงานออก แต่ในไตรมาส 3 อาจจะเริ่มเห็นหลาย ๆ บริษัทนั้นไม่ไหวแล้ว เรื่องปัญหาหนี้ ๆ ต่าง มีการเลิกจ้างงานมากขึ้น ซึ่งในช่วงกลางปีนี้จะเป็นช่วงที่คิดว่าแย่ที่สุด
แต่ในส่วนของการฟื้นตัวนั้น คุณสันติธารได้เผยถึง 2 บริบทที่อาจจะเกิด คือ “U Shape” การฟื้นตัวจะค่อย ๆ ดีขึ้น ในกรณีที่มีการค่อย ๆ เปิดเมือง ยอมสละให้เศรษฐกิจฟื้นช้าเพื่อความปลอดภัย และแบบ “W Shape” การกลับมาเปิดเมืองแบบรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดละรอก 2 และอาจจะส่งผลให้เกิดการ Lockdown รอบใหม่
สนับสนุนโดย Slotxo
อย่างไรก็ตามแต่ ในสองบริบทนี้เราจะไม่ได้เห็นการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด และเราจะไม่เข้าสู่ New Normal จริง ๆ จนกว่าการพัฒนาวัคซีนนั้นจะสำเร็จ