สัมปทาน คือการที่รัฐให้เอกชนการที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะหรือจัดทําประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ “สัมปทานดิวตี้ฟรีไทย” (Duty Free) ก็มีลักษณะการจัดการแบบ สัมปทานเช่นกัน คือให้เอกชนเข้ามาดำเนินงาน โดยมีสัญญาว่าจะต้องจ่ายค่าผลประโยชน์ที่ดำเนินได้ให้กับรัฐ โดยที่ใครจะได้สัมปทานดิวตี้ฟรีไปนั้น ก็จะมีการเปิดประมูล โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่มีศักยภาพเข้ามาแข่งขัน ว่าใครจะสามารถให้ผลประโยชน์กลับมาที่รัฐได้สูงสุด ก็จะเป็นผู้ชนะสัมปทานนั้นไป
ในเมื่อมีการประมูลสัมปทานมีหลายเจ้าแล้วคิงเพาเวอร์คือผู้ได้รับชัยชนะมาก็ยังถูกมองว่า คิงเพาเวอร์ผูกขาด เป็นเพราะว่าคิงเพาเวอร์คือดิวตี้ฟรีสัญชาติไทยที่ประกอบธุรกิจนี้มานาน แล้วสัญญาในแต่ละรอบก็กินระยะเวลายาวนาน เข้าใจว่ามันง่ายมากที่จะทำให้คนอื่นมองผิวเผินเป็นแบบนั้น แต่สุดท้ายถ้าการได้สัมปทานดิวตี้ฟรีมา มีการแข่งขัน มีผู้เข้าร่วมประมูลหลายราย ยังไงก็ไม่ใช่การผูกขาดหรอก เพราะมันมีคู่แข่ง ทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น
ในเมื่อเราคนไทยมีความคุ้นชินกับคิงเพาเวอร์แล้ว เราลองมาย้อนดูกันหน่อยดีกว่าว่าที่ผ่านมาคิงเพาเวอร์ทำผลงานไว้อย่างไรบ้าง
จากภาพที่นำมาประกอบ ก็จะเห็นว่าเมื่อปี 2562 และ 2563 คาดการณ์ว่าคิงเพาเวอร์จ่ายผลตอบแทนอยู่ที่ เกือบหมื่นล้านบาท https://stock2morrow.com/discuss/room/1/topic/14781
และสืบเนื่องจากการแข่งขันประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรีที่ดุเดือด คิงเพาเวอร์จึงยื่นข้อเสนอให้กับ ทอท. ว่าจะจ่ายผลตอบแทนอยู่ที่ 2x,xxx ล้านบาทต่อปี อายุสัญญาเป็นระยะเวลา 10 ปี ทอท. ก็จะได้ผลตอบแทนจากคิงเพาเวอร์อยู่ที่ประมาณ 2xx,xxx ล้านบาท นั่นคือสิ่งที่รัฐจะได้โดยที่ทาง ทอท. ก็ออกมาบอกว่านับเป็นมูลค่าที่สูงมาก ๆ
ทุกอย่างเหมือนกำลังจะสวยงามโดยแท้ถ้าไม่มีวิกฤติไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ย่างกรายเข้ามาในประเทศ
ด่านแรกที่ได้รับผลกระทบคือสนามบิน เป็นจุดที่โดนไวรัสเล่นงานแรกๆ ของประเทศ ทอท. จึงต้องออกมาตรการเยียวยาเพื่อยังต้องคงสภาพให้มันไปได้รอด แต่สุดท้ายก็ต้านทานไม่ได้เมื่อประกาศล็อคดาวน์เมือง คิงเพาเวอร์ที่เป็นหัวหอกสำคัญในการทำผลตอบแทนแสนงามก็เหมือนจะไวต่อเหตุการณ์
ปรับรูปแบบการขายให้เข้ากับยุคสมัยที่เดลิเวอรี่กำลังมา คิงเพาเวอร์จึงปรับกลยุทธ์เปลี่ยนแผนการขาย ให้พนักงานทุกคนกลายเป็นพนักงานขายของออนไลน์ วิธีการขายก็คือจะมีโค้ดส่วนลดที่ได้ราคาพิเศษให้กับลูกค้าเข้าไปซื้อของในเว็บไซต์คิงเพาเวอร์ ของที่ขายก็เป็นพวกของแบรนด์เนม น้ำหอม เครื่องสำอางค์ เครื่องใช้เครื่องประดับต่างๆ
https://thestandard.co/king-power-flip-business-plan-by-change-all-employees-to-be-professional-online-sellers/
ที่รู้กันดีว่าถ้าซื้อจากดิวตี้ฟรีแล้วจะได้ราคาดีกว่าซื้อข้างนอก การใช้วิธีนี้รับมือกับวิกฤติอาจจะไม่ได้ยอดขายเป็นกอบกำ แต่ที่สำคัญคือได้ใจของพนักงานเพราะไม่มีการเลิกจ้าง ได้ใจคู่ค้าเพราะของก็ขายได้ ด้วยวิธีการนี้จึงทำให้ทุกอย่างยังคงไปต่อได้เรื่อยๆ ประคองกันไป ไม่มีการหยุดชะงัก ในเมื่อสิ่งที่ดูเหมือนกำลังจะไปได้ดี แต่กลัวถูกเจ้าโควิดมาขัดขาเอาไว้ ปุถุชนอย่างเราก็ต้องเอาใจช่วยให้รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วยว่าวิกฤตินี้ “ต้องรอด” !! อดทนจนกว่าทุกอย่างจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติให้ไวโดยเร็วพลัน