บอร์ด
กระทู้: โรคมาลาเรีย

 

โรคมาลาเรีย

ข้อมูลโดย นพ.วรวิทย์ ธัญภัทรกุล เป็นหมอแผนกศูยน์ตรวจสุขภาพ

โรงพยาบาลธนบุรี2

โรคมาลาเรีย(Malaria) หรือไข้มาลาเรียน  และคนส่วนมากอาจรู้จักในชื่ออื่น เช่น ไข้ป่า  ไข้จับสั่น  ไข้ร้อนเย็นเป็นต้น โรคมาบาเรียมีการแพร่กระจายโคในพื้นที่ ที่มีขอบเขตการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก พบผู้เสียชีวิตมากในทวีปแอฟริกา โรคมาลาเรียนยังคงเป็นปัญหามากในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการดูแลกับประชานชนถึงแม้ว่า  โรคมาลาเรียนจะลดลงเป็นอย่างมากในประเทศไทยแล้วก็ตาม ปัญหาสำคัญอย่างยิ่งในขนาดนี้คือการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียตามชายแดน ที่พบมากที่สุดคือบริเวณเขตแดนของชายแดงไทย-พม่า และชายแดนไทย-กำพูชา

            สาเหตุต่างที่ทำให้โรคมาลาเรียติดต่อสู่คนนั้น  เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ซึ่งเป็นสัตวฺเซลล์เดียวในจีนัส พลาสโมเดียม มีเชื่อโรคมากกว่า 100 ชนิดที่สามารถ ก่อให้เกิดโรคในคน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก หรือสัตว์เลื้อยคลาน แต่ที่สามารถก่อให้เกิดโรคกับคนได้นั้น มีเพียง 5 ชนิดเท่านั้น คือ พลาสโมเดียม  ฟัลซิพาลัม พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์  พลาสโมเดียม มาลาริอี่ พลาสโมเดียม โอวาเล่ และพลาสโมเดียม โนวไซ เชื่อที่พบส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีเพียงบางชนิดนั้นก็คือ พลาสโมเดียม  ฟัลซิพารัม  และ  พลาสโมเดียม  ไวแว็กซ์และบางชนิดพบน้อยมากในประเทศได้แก่ พลาสโมเดียม มาลาริอี่ พลาสโมเดียม โอวาเล่ และ พลาสโมเดียม โนวไซ ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นเชื้อมาลาเรียของลิงกัง ลิงแสม และค่างดำ ที่พบว่าติดต่อสู่คนได้

            ยุงเป็นพาหะตัวร้ายที่สามารถนำโรคมาลาเรียมาติดต่อสู้คนได้อย่างง่ายดาย ยุงที่เป็นพาหะนั้นจะเป็นยุงก้นปล่องเพศเมีย ยุงก้นปล่องในประเทศไทยนั้นมีมากกว่า 100 ชนิด ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว ลักษะของภูมิประเทศทำให้ยุงก้นปล่องนั้นเป็นแหล่งเพราะพันธ์ต่างกัน

            การที่ยุงเพศเมียดูดเลือดจากคนเพื่อเอาไปสร้างโปรตีนเพื่อนนำไปสร้างไข่  และยุงชนิดนี้จะดูเลือดเลือดเวลากลางคืนโดยการใช้ปากที่มีลักษณะเหมือท่อเจาะผิวหนังของคนเพื่อดูดเลือด เป็นการทำที่ไม่ให้ให้เหยื่อนั้นรู้ตัว เพรายุงจะปล่อยน้ำบายออกมาซึ่งทำหน้าที่เหมือนยาชาทำให้คนรู้สึกไม่เจ็บเวลาที่ถูกกัด  น้ำลายนี่เองที่เป็นเชื้อของโรคมาลาเรีย  ซึ่งมาจากการที่ยุงไปกัดคนที่มีเชื่ออยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว  เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่ายุงตัวไหนที่มีเชื้อ ทางที่ดีคือการปล่อยกันตัวเองจากวายร้ายจากยุงเพื่อลดกาติดต่อเชื้อของโรคมาลาเรีย

            ระยะการฟักตัวของโรคมาลาเรีย

  • เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน
  • พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ และ พลาสโมเดียม โอวาเล่ ระยะฟักตัวประมาณ 8-14 วัน
  • พลาสโมเดียม มาลาริอี่ ระยะฟักตัวประมาณ 18-40 วัน
  • พลาสโมเดียม โนวไซ ระยะฟักตัวประมาณ 12 วัน

 

          อาการของโรคมาลาเรียโดนทั่วไปนั้นไม่มีลักษณะพิเศษที่บ่งชี้เฉพาะแต่จะมีอาการคล้ายกับการเป็นหวัด คือมีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดตามเนื้อตัวเหมือเป็นไข้ทั่วไป อาจมีการคลื่นไส้ หรือเบื่ออาหารแต่อาการเหล่านี้เป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้นเท่านั้นอาจเป็นวันหรือหลานวันก็ได้ซึ้งขันอยู่กับหลายปัจจัยหรือการฟักตัวของเชื้อ

อาการจับไข้ของโรคมาลาเรียนั้นที่เด่นชัดประกอบไปด้วย3 ระยะคือ ระยะสั่น ระยะร้อน ระยะเหงื่อออก  แต่ในปัจจุบันอาการเหล่านี้พบได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคมาลาเรียครั้งแรกนั้น อาจมีอาการแตกต่างกันไป จากการได้รับเชื้อ หรือผลจากการได้รับเชื้อจากตับในเวลาที่ต่างกัน ทำให้มีเชื่อหลายระยะ และการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงแตกต่างกัน  ทำให้เห็นกับหวานสั่นของผู้ป่าวได้อย่างชัดเจนตามชนิดของเชื้อหลังจากที่ได้รับเชื้อมาลาเรียนระยะหนึ่ง  เราจะสามารถพบว่าผู้ป่วยมาอาการซีด บางคนตัวเหลือและตาเหลือง ตับและมาโตบางนายอาจกดแล้วเจ็บ ถ้าเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยแตกมากๆอาจพบปัสสาวะเป็นสีดำได้

การป้องกันโรคมาฃาเรียด้วยตัวเองนั้นเพื่อไม่ให้ตัวเองติดเชื้อในขนาดนานเดินทางไปในสถานที่หรือแหล่งระบาดของเชื้อมาลาเรียนั้น และยังสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู้คนอื่นได้มีหลายวิธี

  1. สวมเสื้อผ้าที่อ่อนและสามารถปกปิดร่างกายให้มิดชิด
  2. ทายากันยุงทุก 4 ชั่วโมง
  3. นอนในมุ่ง
  4. ถ้านอนในห้องที่มีมุ้งลวดควรพ่นยากันยุงก่อน

การกินยาก่อนเข้าป่าเพื่อป้องกันโรคมาลาเรียนนั้นไม่สามารถช่วยได้แต่อย่างใด  เพราะในประเทศไทยนั้นเชื้อมาลาเรียนั้นดื้อยาเกินขนาดทำให้ยานั้นไม่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นการออกมาจากพื้นที่ ที่แพร่กระจายไปของเชื้อมาลาเรียนนั้น ควรไปพบแพทย์และเจาะเลือดเพื่อหาเชื้อของมาลาเรีย

            โรคมาลาเรียหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ได้อยู่ในป่าที่เป็นสถานที่เสี่ยงต่อเชื้อมาลาเรีย แต่อย่างลืมยุงเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่ง่ายต่อการติดต่อจากคนสู้คน หรือเชื่อบางตัวอาจเกิดจากสัตว์สู่คนได้ ดังนั้นเมื่อเห็นอาการที่เข้าข่ายของการเป็นโรคมาลาเรียน ควรไปพบแพยท์เพื่อป้องกันและรักษาโรคได้ถูกวิธี

26 ก.ค. 59 เวลา 14:28 396